นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแผนการปรับโครงสร้างราคาพลังงานในอนาคตให้สอดคล้องกับภาครัฐบาลที่กำลังปรับโครงสร้างพลังงาน โดยจะพิจารณาถึงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน และแนวโน้มราคาที่ควรจะเป็น เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยราคาน้ำมันดีเซลที่พอรับได้ และไม่เกิดผลกระทบ เช่น ราคาดีเซลไม่ควรเกิน 32 บาทต่อลิตร ซึ่งจะมีการสรุปเสนอต่อนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเร็วๆ นี้
ด้านนายณรงค์ชัย กล่าวในงานเสวนาการปรับโครงสร้างพลังงานการจัดการร่วมรัฐ-เอกชน จุดเปลี่ยนสำคัญสู่ความยั่งยืน โดยย้ำให้ภาคประชาชน และอุตสาหกรรมเตรียมตัวรับการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่จะเกิดขึ้นช่วงหลังปีใหม่ หากไม่ดำเนินการอะไรจะเป็นปัญหาในอนาคต เนื่องจากมีการพึ่งพาการนำเข้าปริมาณที่สูงขึ้น จึงต้องลดความต้องการใช้ลง และหาเชื้อเพลิงเสริมความมั่นคงให้เพิ่มขึ้น โดยในส่วนของไฟฟ้าแนวโน้มต้องนำเข้าแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้น หากพึ่งพาเฉพาะแอลเอ็นจี ค่าไฟฟ้าอาจปรับสูงกว่าร้อยละ 30 หรือปรับมากกว่า 5-6 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันค่าไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 4 บาทต่อหน่วย
ดังนั้นการจัดการจะต้องมีการกระจายเชื้อเพลิง ส่งเสริมโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น ส่งเสริมพลังงานทดแทน นโยบายรณรงค์ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ขณะที่แอลเอ็นจีจะมีการหาพื้นที่คลังแห่งที่ 3 รองรับการนำเข้า รวมถึงหาก๊าซฯ ในประเทศส่งเสริม จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่
ขณะที่โครงสร้างราคาแอลพีจี จะเพิ่มขึ้นสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพราะปัจจุบันนำเข้ามหาศาลจะไม่มีการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปัจจุบันอุดหนุนกว่า 1,000 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนภาษีสรรพสามิตน้ำมันจะปรับให้ใกล้เคียงกันจากปัจจุบันเบนซินจัดเก็บ 5.60 บาทต่อหน่วย ดีเซล 0.75 บาทต่อหน่วย
ส่วนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะปรับลดลง จากปัจจุบันเก็บเบนซิน 95 ที่ 9.65 บาทต่อหน่วย ดีเซล 3.70 บาทต่อหน่วย ก็จะมีการปรับลดลง ให้กองทุนฯ ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเท่านั้น ส่วนแก๊สโซฮอล์ 91 จะยกการจำหน่ายหรือไม่ กำลังพิจารณาความเหมาะสม เพราะต้องยอมรับว่า มอเตอร์ไซค์ใช้น้ำมันตัวนี้จำนวนมาก
ด้านนายณรงค์ชัย กล่าวในงานเสวนาการปรับโครงสร้างพลังงานการจัดการร่วมรัฐ-เอกชน จุดเปลี่ยนสำคัญสู่ความยั่งยืน โดยย้ำให้ภาคประชาชน และอุตสาหกรรมเตรียมตัวรับการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่จะเกิดขึ้นช่วงหลังปีใหม่ หากไม่ดำเนินการอะไรจะเป็นปัญหาในอนาคต เนื่องจากมีการพึ่งพาการนำเข้าปริมาณที่สูงขึ้น จึงต้องลดความต้องการใช้ลง และหาเชื้อเพลิงเสริมความมั่นคงให้เพิ่มขึ้น โดยในส่วนของไฟฟ้าแนวโน้มต้องนำเข้าแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้น หากพึ่งพาเฉพาะแอลเอ็นจี ค่าไฟฟ้าอาจปรับสูงกว่าร้อยละ 30 หรือปรับมากกว่า 5-6 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันค่าไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 4 บาทต่อหน่วย
ดังนั้นการจัดการจะต้องมีการกระจายเชื้อเพลิง ส่งเสริมโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น ส่งเสริมพลังงานทดแทน นโยบายรณรงค์ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ขณะที่แอลเอ็นจีจะมีการหาพื้นที่คลังแห่งที่ 3 รองรับการนำเข้า รวมถึงหาก๊าซฯ ในประเทศส่งเสริม จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่
ขณะที่โครงสร้างราคาแอลพีจี จะเพิ่มขึ้นสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพราะปัจจุบันนำเข้ามหาศาลจะไม่มีการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปัจจุบันอุดหนุนกว่า 1,000 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนภาษีสรรพสามิตน้ำมันจะปรับให้ใกล้เคียงกันจากปัจจุบันเบนซินจัดเก็บ 5.60 บาทต่อหน่วย ดีเซล 0.75 บาทต่อหน่วย
ส่วนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะปรับลดลง จากปัจจุบันเก็บเบนซิน 95 ที่ 9.65 บาทต่อหน่วย ดีเซล 3.70 บาทต่อหน่วย ก็จะมีการปรับลดลง ให้กองทุนฯ ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเท่านั้น ส่วนแก๊สโซฮอล์ 91 จะยกการจำหน่ายหรือไม่ กำลังพิจารณาความเหมาะสม เพราะต้องยอมรับว่า มอเตอร์ไซค์ใช้น้ำมันตัวนี้จำนวนมาก