นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ต้องรอจนกว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะชี้ชัดว่าเป็นตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.สามารถกำหนดในกฎหมายได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องยื่นได้ตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนั้น สปช.จะอยู่ในลักษณะที่ไม่ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินแน่ๆ แต่จะให้ยื่นหรือไม่นั้นอยู่ที่ ป.ป.ช.จะกำหนด
ทั้งนี้ ป.ป.ช.ได้ระบุแล้วว่า ต้องขอรอดูจากข้อบังคับการประชุม สปช.ก่อนว่าเข้าลักษณะใด โดยตามระเบียบนั้นมี 2 ขั้นตอน คือยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินฯ แต่ไม่ต้องเปิดเผยสาธารณะกับยื่นแล้วมีการเปิดเผย ทั้งนี้ถ้าต้องยื่นก็ยื่นใส่ซอง และปิดไว้เท่านั้น ไม่ต้องเปิดดู เพราะจะไปเทียบกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ไม่ได้ เนื่องจาก สนช.เทียบพอดีกับสภาผู้แทนราษฎร
นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีที่ สปช.ต้องเสนอกรอบการยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน 60 วันว่า ต้องนับจากวันที่มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่นับจากวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้อย่างที่เข้าใจกันส่วนในรายละเอียดนั้น คณะกรรมาธิการดังกล่าวจะต้องเป็นผู้คิดเอง ตนเชื่อว่าระยะเวลา 60 วัน เพียงพอในการทำงานหากใช้เวลาให้คุ้ม
อย่างไรก็ตาม เมื่อ สปช.เลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานฯ ได้แล้ว สามารถประชุมเพื่อเตรียมตัวเป็นการภายในได้ ส่วนการเสนอชื่อผู้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในโควตาของคณะรัฐมนตรีนั้น ยังไม่ได้หารือกัน คงต้องรอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นัดหารืออีกครั้ง แต่คงไม่ใช่จะนำมาหารือในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 ตุลาคมนี้แน่นอน เพราะคงเร็วเกินไป
อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.สามารถกำหนดในกฎหมายได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องยื่นได้ตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนั้น สปช.จะอยู่ในลักษณะที่ไม่ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินแน่ๆ แต่จะให้ยื่นหรือไม่นั้นอยู่ที่ ป.ป.ช.จะกำหนด
ทั้งนี้ ป.ป.ช.ได้ระบุแล้วว่า ต้องขอรอดูจากข้อบังคับการประชุม สปช.ก่อนว่าเข้าลักษณะใด โดยตามระเบียบนั้นมี 2 ขั้นตอน คือยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินฯ แต่ไม่ต้องเปิดเผยสาธารณะกับยื่นแล้วมีการเปิดเผย ทั้งนี้ถ้าต้องยื่นก็ยื่นใส่ซอง และปิดไว้เท่านั้น ไม่ต้องเปิดดู เพราะจะไปเทียบกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ไม่ได้ เนื่องจาก สนช.เทียบพอดีกับสภาผู้แทนราษฎร
นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีที่ สปช.ต้องเสนอกรอบการยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน 60 วันว่า ต้องนับจากวันที่มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่นับจากวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้อย่างที่เข้าใจกันส่วนในรายละเอียดนั้น คณะกรรมาธิการดังกล่าวจะต้องเป็นผู้คิดเอง ตนเชื่อว่าระยะเวลา 60 วัน เพียงพอในการทำงานหากใช้เวลาให้คุ้ม
อย่างไรก็ตาม เมื่อ สปช.เลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานฯ ได้แล้ว สามารถประชุมเพื่อเตรียมตัวเป็นการภายในได้ ส่วนการเสนอชื่อผู้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในโควตาของคณะรัฐมนตรีนั้น ยังไม่ได้หารือกัน คงต้องรอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นัดหารืออีกครั้ง แต่คงไม่ใช่จะนำมาหารือในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 ตุลาคมนี้แน่นอน เพราะคงเร็วเกินไป