นางสาวแคทลีน มาลีนนท์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่(TSE) กล่าวว่า บริษัทฯพร้อมเดินหน้าแผนเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ภายในปลายเดือนตุลาคมนี้ หลังจากวันนี้ศาลอาญามีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่อดีตผู้ถือหุ้นยื่นฟ้องดำเนินคดีตามข้อกล่าวหาร่วมกันลักทรัพย์และรับซื้อของโจร ด้วยการลักเอาหุ้นไปขายทอดตลาดและได้รับซื้อไว้เอง
บริษัทฯคาดว่าจะสามารถกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO ของ TSE จำนวน 450 ล้านหุ้นได้ในสัปดาห์หน้า เพื่อระดมทุนไปใช้การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 100 เมกะวัตต์ นอกจากนั้น บริษัทยังเตรียมสรุปแผนร่วมลงทุนในโซล่าร์ฟาร์มที่ประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ในช่วงปลายปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในท้องถิ่น
ด้านสุรเชษฐ์ ทองอู่ฉาง ในฐานะทนายความของ TSE เปิดเผยว่า จากการที่ นายไพบูลย์ มัทธุรนนท์ อดีตผู้ถือหุ้น TSE ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้นั้น ซึ่งศาลอาญาได้พิจารณายกคำร้องและได้จำหน่ายคดีแพ่งที่มีการเรียกร้องค่าเสียหายในคดีอาญาทั้งหมด 4 คดี ในหลักพันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ฝั่งโจทก์สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในระยะเวลา 30 วัน แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเสนอขายหุ้น IPO เนื่องจากไม่มีนัยสำคัญ
ขณะที่นายไพบูลย์ มัทธุรนนท์ อดีตผู้ถือหุ้นบมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่(TSE) แถลงการณ์กรณีศาลอาญากรุงเทพใต้ได้อ่านคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3897/2556 ซึ่งตนเป็นโจทก์ฟ้องบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด นายประชา มาลีนนท์ นางสาวแคทลีน มาลีนนท์ บริษัท พี.เอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เป็นจำเลยร่วมกันในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ และรับของโจร โดยร่วมกันริบหุ้นจำนวน 8,340,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ของข้าพเจ้าในบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งข้าพเจ้าได้ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหมดแล้ว ออกขายทอดตลาด และบริษัท พี.เอ็ม เอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งมีนายประชา มาลีนนท์ และนางสาวแคทลีน มาลีนนท์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ได้รับซื้อหุ้นทั้งหมดดังกล่าวไว้นั้น
ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องคดีดังกล่าว ซึ่งคำพิพากษาโดยละเอียดนั้น ยังไม่สามารถจะคัดถ่ายได้ในขณะนี้ แต่ทนายความของข้าพเจ้าได้ส่งเสมียนไปจดข้อความเฉพาะที่เป็นเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามที่ได้แนบมาพร้อมคำแถลงนี้
ภายหลังจากการอ่านคำพิพากษาของคดีดังกล่าวแล้ว ได้มีผู้สื่อข่าวจำนวนมากโทรศัพท์มาสอบถามความเห็นของข้าพเจ้าเกี่ยวกับคำพิพากษาและผลของคำพิพากษา ตลอดจนแผนการณ์ขั้นต่อไปของข้าพเจ้าเกี่ยวกับการที่บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ยื่นขอจดทะเบียนหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ว่าคำพิพากษาดังกล่าวของศาลอาญากรุงเทพใต้ จะมีผลกระทบต่อคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1076/2554 ที่ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ให้เพิ่มทุนจาก 320 ล้านบาท เป็น 1,365 ล้านบาท หรือไม่ จะมีผลกระทบต่อการยื่นขอจดทะเบียนหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด อย่างไรหรือไม่
ข้าพเจ้าจึงขอจัดทำและส่งแถลงการณ์ฉบับนี้ มายังสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน นักลงทุนและต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
1. ด้วยความเคารพอย่างสูงต่อคำพิพากษาของศาลอาญากรุงเทพใต้ ในคดีหมายเลขดำที่ อ.3897/2556 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวด้วยเหตุผลว่า “ในองค์ประกอบแห่งฐานความผิด (ลักทรัพย์) ดังกล่าว ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต และในการเอาทรัพย์ไปนั้น ต้องเป็นการเอาไปโดยการแย่งการครอบครองจากบุคคลอื่นและต้องกระทำต่อทรัพย์หรือวัตถุที่มีรูปร่างและอาจถือเอาได้ หรือหากกระทำต่อทรัพย์สินก็ต้องมีราคา อาจถือเอาได้หรือเคลื่อนที่หรือแย่งเอาไปจากการครอบครองได้เช่นกัน ดังนั้น สิทธิในหุ้นของโจทก์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่าทรัพย์ หรือทรัพย์สิน ตามความผิดที่โจทก์ฟ้อง”
ข้าพเจ้าจะขอใช้สิทธิตามกฎหมายอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวต่อศาลสูงต่อไป จนกว่าคดีดังกล่าวจะถึงที่สุด โดยมีเหตุผลที่จะยกขึ้นประกอบคำอุทธรณ์บางประการ เช่น ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานมาก่อนแล้วในคำพิพากษาฎีกาที่877/2501 (ที่ประชุมใหญ่) ว่า การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี (ลักทรัพย์) และในคำพิพากษาฎีกาที่ 1880/2542 (ประชุมใหญ่) พิพากษาว่า “สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้าไปใช้ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์”
ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1438/2519 ศาลฎีกาพิพากษาว่า “หุ้นที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่มีราคาและถือเอาได้โดยสภาพ” และ 3853/2524 ศาลฎีกาได้พิพากษาว่า “หุ้นเป็นสิ่งซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99 เมื่อโจทก์ได้หุ้นมาก็ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิน”
2. สำหรับคำถามที่ว่า เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องข้าพเจ้า ดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะมีผลกระทบต่อคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1076/2554 ซึ่งข้าพเจ้าได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 ที่ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 320 ล้าน เป็น 1,365 ล้านบาท หรือไม่ นั้น
ข้าพเจ้าขอเรียนให้ทราบว่าในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1076/254 (คดีหมายเลขแดงที่ 1949/2556) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556 ว่าดังนี้
“พิเคราะห์แล้ว กรณีที่หุ้นทั้งหมดของโจทก์ถูกจำเลยนำขายทอดตลาดนั้น มีผลให้โจทก์ไม่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลยภายหลังฟ้องคดีนี้แล้ว ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญว่าโจทก์ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยอยู่หรือไม่ จึงเห็นควรรอฟังผลคำพิพากษาในคดีอาญาของศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่ทนายโจทก์แถลงดังกล่าว
ในชั้นนี้เห็นสมควรให้จำหน่ายคดีโจทก์ชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอาญาของศาลอาญากรุงเทพใต้ดังกล่าว เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วให้โจทก์หรือจำเลยแถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป”
ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดจากคำสั่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในคดีดังกล่าวว่า การที่จะยกคดีแพ่งเรื่องการขอเพิกถอนมติที่ประชุมเพิ่มทุนดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาต่อไปนั้น จะต้องรอฟังผลคดีอาญาของศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ถึงที่สุดเสียก่อน แต่ในขณะนี้และวันนี้ คำพิพากษาของศาลอาญากรุงเทพใต้ที่อ่านเมื่อเช้านี้ เป็นเพียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ข้าพเจ้ายังมีสิทธิและจะอุทธรณ์คำพิพากษานั้นไปยังศาลอุทธรณ์ต่อไปภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะยกเอาคดีขอเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ขึ้นพิจารณาเพียงเพราะคำพิพากษาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันนี้ไม่ได้
3. ประการสุดท้าย ข้าพเจ้าขอกราบเรียนต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผ่านแถลงการณ์นี้และผ่านสื่อมวลชนว่า ท่านต้องระงับการจดทะเบียนหุ้นของบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ไว้จนกว่าคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1076/2554 ซึ่งเป็นคดีที่จะชี้ว่า ที่มาของการเพิ่มทุนจาก 320 ล้านบาท เป็น 1,365 ล้านบาท เป็นหุ้นสามัญที่เพิ่มขึ้นถึง 104.5 ล้านหุ้น (ที่มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) หรือ 1,045 ล้านหุ้น (ที่มูลค่าหุ้นละหนึ่งบาทในขณะนี้) ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หาก กลต.ไม่เห็นแก่ชื่อเสียงของตลาดหลักทรัพย์ ไม่เห็นแก่ความมั่นคง และความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดทุน และขืนรีบรับจดทะเบียนหุ้นของบริษัทนี้ไป เพียงเพราะคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในวันนี้ กลต.จะต้องรับผิดต่อความเสียหายที่จะเกิดตามมาอย่างมากมายมหาศาล
ขณะที่ในวันนี้(15ต.ค.)นางสาวแคทลีน มาลีนนท์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) กล่าวว่า บริษัทพร้อมเดินหน้าแผนเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ภายในปลายเดือน ต.ค.นี้ หลังจากวันนี้ศาลอาญามีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่อดีตผู้ถือหุ้นยื่นฟ้องดำเนินคดีตามข้อกล่าวหาร่วมกันลักทรัพย์และรับซื้อของโจร ด้วยการลักเอาหุ้นไปขายทอดตลาดและได้รับซื้อไว้เอง
อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่า จะสามารถกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO ของ TSE จำนวน 450 ล้านหุ้นได้ในสัปดาห์หน้า เพื่อระดมทุนไปใช้การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 100 เมกะวัตต์ นอกจากนั้น บริษัทยังเตรียมสรุปแผนร่วมลงทุนในโซล่าร์ฟาร์มที่ประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ในช่วงปลายปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในท้องถิ่น
ด้านสุรเชษฐ์ ทองอู่ฉาง ในฐานะทนายความของ TSE เปิดเผยว่า จากการที่ นายไพบูลย์ มัทธุรนนท์ อดีตผู้ถือหุ้น TSE ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้นั้น ซึ่งศาลอาญาได้พิจารณายกคำร้องและได้จำหน่ายคดีแพ่งที่มีการเรียกร้องค่าเสียหายในคดีอาญาทั้งหมด 4 คดี ในหลักพันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ฝั่งโจทก์สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในระยะเวลา 30 วัน แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเสนอขายหุ้น IPO เนื่องจากไม่มีนัยสำคัญ
บริษัทฯคาดว่าจะสามารถกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO ของ TSE จำนวน 450 ล้านหุ้นได้ในสัปดาห์หน้า เพื่อระดมทุนไปใช้การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 100 เมกะวัตต์ นอกจากนั้น บริษัทยังเตรียมสรุปแผนร่วมลงทุนในโซล่าร์ฟาร์มที่ประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ในช่วงปลายปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในท้องถิ่น
ด้านสุรเชษฐ์ ทองอู่ฉาง ในฐานะทนายความของ TSE เปิดเผยว่า จากการที่ นายไพบูลย์ มัทธุรนนท์ อดีตผู้ถือหุ้น TSE ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้นั้น ซึ่งศาลอาญาได้พิจารณายกคำร้องและได้จำหน่ายคดีแพ่งที่มีการเรียกร้องค่าเสียหายในคดีอาญาทั้งหมด 4 คดี ในหลักพันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ฝั่งโจทก์สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในระยะเวลา 30 วัน แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเสนอขายหุ้น IPO เนื่องจากไม่มีนัยสำคัญ
ขณะที่นายไพบูลย์ มัทธุรนนท์ อดีตผู้ถือหุ้นบมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่(TSE) แถลงการณ์กรณีศาลอาญากรุงเทพใต้ได้อ่านคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3897/2556 ซึ่งตนเป็นโจทก์ฟ้องบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด นายประชา มาลีนนท์ นางสาวแคทลีน มาลีนนท์ บริษัท พี.เอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เป็นจำเลยร่วมกันในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ และรับของโจร โดยร่วมกันริบหุ้นจำนวน 8,340,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ของข้าพเจ้าในบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งข้าพเจ้าได้ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหมดแล้ว ออกขายทอดตลาด และบริษัท พี.เอ็ม เอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งมีนายประชา มาลีนนท์ และนางสาวแคทลีน มาลีนนท์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ได้รับซื้อหุ้นทั้งหมดดังกล่าวไว้นั้น
ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องคดีดังกล่าว ซึ่งคำพิพากษาโดยละเอียดนั้น ยังไม่สามารถจะคัดถ่ายได้ในขณะนี้ แต่ทนายความของข้าพเจ้าได้ส่งเสมียนไปจดข้อความเฉพาะที่เป็นเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามที่ได้แนบมาพร้อมคำแถลงนี้
ภายหลังจากการอ่านคำพิพากษาของคดีดังกล่าวแล้ว ได้มีผู้สื่อข่าวจำนวนมากโทรศัพท์มาสอบถามความเห็นของข้าพเจ้าเกี่ยวกับคำพิพากษาและผลของคำพิพากษา ตลอดจนแผนการณ์ขั้นต่อไปของข้าพเจ้าเกี่ยวกับการที่บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ยื่นขอจดทะเบียนหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ว่าคำพิพากษาดังกล่าวของศาลอาญากรุงเทพใต้ จะมีผลกระทบต่อคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1076/2554 ที่ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ให้เพิ่มทุนจาก 320 ล้านบาท เป็น 1,365 ล้านบาท หรือไม่ จะมีผลกระทบต่อการยื่นขอจดทะเบียนหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด อย่างไรหรือไม่
ข้าพเจ้าจึงขอจัดทำและส่งแถลงการณ์ฉบับนี้ มายังสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน นักลงทุนและต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
1. ด้วยความเคารพอย่างสูงต่อคำพิพากษาของศาลอาญากรุงเทพใต้ ในคดีหมายเลขดำที่ อ.3897/2556 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวด้วยเหตุผลว่า “ในองค์ประกอบแห่งฐานความผิด (ลักทรัพย์) ดังกล่าว ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต และในการเอาทรัพย์ไปนั้น ต้องเป็นการเอาไปโดยการแย่งการครอบครองจากบุคคลอื่นและต้องกระทำต่อทรัพย์หรือวัตถุที่มีรูปร่างและอาจถือเอาได้ หรือหากกระทำต่อทรัพย์สินก็ต้องมีราคา อาจถือเอาได้หรือเคลื่อนที่หรือแย่งเอาไปจากการครอบครองได้เช่นกัน ดังนั้น สิทธิในหุ้นของโจทก์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่าทรัพย์ หรือทรัพย์สิน ตามความผิดที่โจทก์ฟ้อง”
ข้าพเจ้าจะขอใช้สิทธิตามกฎหมายอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวต่อศาลสูงต่อไป จนกว่าคดีดังกล่าวจะถึงที่สุด โดยมีเหตุผลที่จะยกขึ้นประกอบคำอุทธรณ์บางประการ เช่น ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานมาก่อนแล้วในคำพิพากษาฎีกาที่877/2501 (ที่ประชุมใหญ่) ว่า การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี (ลักทรัพย์) และในคำพิพากษาฎีกาที่ 1880/2542 (ประชุมใหญ่) พิพากษาว่า “สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้าไปใช้ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์”
ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1438/2519 ศาลฎีกาพิพากษาว่า “หุ้นที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่มีราคาและถือเอาได้โดยสภาพ” และ 3853/2524 ศาลฎีกาได้พิพากษาว่า “หุ้นเป็นสิ่งซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99 เมื่อโจทก์ได้หุ้นมาก็ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิน”
2. สำหรับคำถามที่ว่า เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องข้าพเจ้า ดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะมีผลกระทบต่อคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1076/2554 ซึ่งข้าพเจ้าได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 ที่ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 320 ล้าน เป็น 1,365 ล้านบาท หรือไม่ นั้น
ข้าพเจ้าขอเรียนให้ทราบว่าในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1076/254 (คดีหมายเลขแดงที่ 1949/2556) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556 ว่าดังนี้
“พิเคราะห์แล้ว กรณีที่หุ้นทั้งหมดของโจทก์ถูกจำเลยนำขายทอดตลาดนั้น มีผลให้โจทก์ไม่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลยภายหลังฟ้องคดีนี้แล้ว ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญว่าโจทก์ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยอยู่หรือไม่ จึงเห็นควรรอฟังผลคำพิพากษาในคดีอาญาของศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่ทนายโจทก์แถลงดังกล่าว
ในชั้นนี้เห็นสมควรให้จำหน่ายคดีโจทก์ชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอาญาของศาลอาญากรุงเทพใต้ดังกล่าว เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วให้โจทก์หรือจำเลยแถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป”
ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดจากคำสั่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในคดีดังกล่าวว่า การที่จะยกคดีแพ่งเรื่องการขอเพิกถอนมติที่ประชุมเพิ่มทุนดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาต่อไปนั้น จะต้องรอฟังผลคดีอาญาของศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ถึงที่สุดเสียก่อน แต่ในขณะนี้และวันนี้ คำพิพากษาของศาลอาญากรุงเทพใต้ที่อ่านเมื่อเช้านี้ เป็นเพียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ข้าพเจ้ายังมีสิทธิและจะอุทธรณ์คำพิพากษานั้นไปยังศาลอุทธรณ์ต่อไปภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะยกเอาคดีขอเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ขึ้นพิจารณาเพียงเพราะคำพิพากษาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันนี้ไม่ได้
3. ประการสุดท้าย ข้าพเจ้าขอกราบเรียนต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผ่านแถลงการณ์นี้และผ่านสื่อมวลชนว่า ท่านต้องระงับการจดทะเบียนหุ้นของบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ไว้จนกว่าคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1076/2554 ซึ่งเป็นคดีที่จะชี้ว่า ที่มาของการเพิ่มทุนจาก 320 ล้านบาท เป็น 1,365 ล้านบาท เป็นหุ้นสามัญที่เพิ่มขึ้นถึง 104.5 ล้านหุ้น (ที่มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) หรือ 1,045 ล้านหุ้น (ที่มูลค่าหุ้นละหนึ่งบาทในขณะนี้) ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หาก กลต.ไม่เห็นแก่ชื่อเสียงของตลาดหลักทรัพย์ ไม่เห็นแก่ความมั่นคง และความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดทุน และขืนรีบรับจดทะเบียนหุ้นของบริษัทนี้ไป เพียงเพราะคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในวันนี้ กลต.จะต้องรับผิดต่อความเสียหายที่จะเกิดตามมาอย่างมากมายมหาศาล
ขณะที่ในวันนี้(15ต.ค.)นางสาวแคทลีน มาลีนนท์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) กล่าวว่า บริษัทพร้อมเดินหน้าแผนเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ภายในปลายเดือน ต.ค.นี้ หลังจากวันนี้ศาลอาญามีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่อดีตผู้ถือหุ้นยื่นฟ้องดำเนินคดีตามข้อกล่าวหาร่วมกันลักทรัพย์และรับซื้อของโจร ด้วยการลักเอาหุ้นไปขายทอดตลาดและได้รับซื้อไว้เอง
อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่า จะสามารถกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO ของ TSE จำนวน 450 ล้านหุ้นได้ในสัปดาห์หน้า เพื่อระดมทุนไปใช้การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 100 เมกะวัตต์ นอกจากนั้น บริษัทยังเตรียมสรุปแผนร่วมลงทุนในโซล่าร์ฟาร์มที่ประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ในช่วงปลายปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในท้องถิ่น
ด้านสุรเชษฐ์ ทองอู่ฉาง ในฐานะทนายความของ TSE เปิดเผยว่า จากการที่ นายไพบูลย์ มัทธุรนนท์ อดีตผู้ถือหุ้น TSE ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้นั้น ซึ่งศาลอาญาได้พิจารณายกคำร้องและได้จำหน่ายคดีแพ่งที่มีการเรียกร้องค่าเสียหายในคดีอาญาทั้งหมด 4 คดี ในหลักพันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ฝั่งโจทก์สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในระยะเวลา 30 วัน แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเสนอขายหุ้น IPO เนื่องจากไม่มีนัยสำคัญ