นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการและโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 14 ตุลาคมนี้ เวลา 16.00 น.-18.30 น.ผู้ตรวจการแผ่นดินได้กำหนดจัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่องการปฏิรูปการศึกษาชาติทั้งระบบ ซึ่งจะเป็นเวทีกลางของผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษากว่า 50 คน เช่น ผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดนโยบายขอกระทรวง ศึกษาธิการ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการศึกษา และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารโรงเรียน เครือข่ายปฏิรูปการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวของด้านอื่นๆ รวมทั้งอธิบดี กรมการปกครอง และผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อกระจายอำนาจการบริหารด้านการศึกษาสู่ท้องถิ่น ร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อสร้างต้นแบบ (model) ในการปฏิรูปการศึกษาและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
นายรักษเกชา กล่าวว่า การจัดสัมมนาดังกล่าวเป็นอีกบทบาทหนึ่งของผู้ตรวจการแผ่นดินที่เห็นว่า ประเด็นเรื่องการศึกษาเป็นประเด็นประโยชน์สาธารณะ และกระทบต่อพัฒนาการของประเทศ ซึ่งตามกฎหมายผู้ตรวจการแผ่นดินให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินในการที่จะหยิบยกมาพิจารณาได้
ทั้งนี้ นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่เป็นผู้ริเริ่มเรื่องนี้ หวังและเล็งเห็นประโยชน์ของการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ในทุกระดับและทุกประเภท รวมถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพของผู้สอนและผู้เรียนเพื่อไม่ให้การศึกษาของไทยถดถอยลงเรื่อยๆ จึงใช้โอกาสนี้ดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาล ด้วยการเชิญคลังสมองด้านการศึกษาร่วมกันหาแนวทางและข้อเสนอแนะประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องของการปรับปรุงกฎหมาย โครงสร้างหน่วยงานทางการศึกษา หลักสูตรการสอน การบริหารบุคคล การถายโอนอำนาจให้สถานศึกษา เป็นต้น เพื่อนำผลที่ได้สนับสนุนและส่งต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการต่อไป
นายรักษเกชา กล่าวว่า การจัดสัมมนาดังกล่าวเป็นอีกบทบาทหนึ่งของผู้ตรวจการแผ่นดินที่เห็นว่า ประเด็นเรื่องการศึกษาเป็นประเด็นประโยชน์สาธารณะ และกระทบต่อพัฒนาการของประเทศ ซึ่งตามกฎหมายผู้ตรวจการแผ่นดินให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินในการที่จะหยิบยกมาพิจารณาได้
ทั้งนี้ นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่เป็นผู้ริเริ่มเรื่องนี้ หวังและเล็งเห็นประโยชน์ของการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ในทุกระดับและทุกประเภท รวมถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพของผู้สอนและผู้เรียนเพื่อไม่ให้การศึกษาของไทยถดถอยลงเรื่อยๆ จึงใช้โอกาสนี้ดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาล ด้วยการเชิญคลังสมองด้านการศึกษาร่วมกันหาแนวทางและข้อเสนอแนะประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องของการปรับปรุงกฎหมาย โครงสร้างหน่วยงานทางการศึกษา หลักสูตรการสอน การบริหารบุคคล การถายโอนอำนาจให้สถานศึกษา เป็นต้น เพื่อนำผลที่ได้สนับสนุนและส่งต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการต่อไป