นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว 6 ประเทศ คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว และกัมพูชา ซึ่งในแต่ละประเทศมีธุรกิจแตกต่างกัน เช่น ในเวียดนาม เป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด มีประชากร 90 ล้านคน ซึ่งซีพีเอฟ มีลงทุนเต็มรูปแบบเหมือนการทำธุรกิจในประเทสไทย มีทั้งอาหารสัตว์บก อาหารสัตว์น้ำ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ หมู กุ้ง ปลา อาหารสำเร็จรูป ไก่ย่างห้าดาว ร้านเฟรชมาร์ท
ส่วนฟิลิปปินส์มีประชากรกว่า 100 ล้านคน จะเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ซึ่ง ซีพีเอฟ ใช้เงินลงทุนไปแล้วเกือบ 8,000 ล้านบาท ในการสร้างธุรกิจอาหารสัตว์บก อาหารสัตว์น้ำ หมู ไก่เนื้อ กุ้ง ปลา แต่ยังไม่มีอาหารสำเร็จรูปและร้านอาหาร ขณะที่ มาเลเซียกำลังซื้อ 20 กว่าล้านคนตลาดไม่ใหญ่แต่บริษัทสร้างฐานไว้นานแล้วทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ
สำหรับลาวและกัมพูชา บริษัทลงทุนทำธุรกิจสัตว์บก เช่น อาหารสัตว์บก เลี้ยงสุกร ไก่ ส่วนสิงคโปร์บริษัทไม่มีลงทุนแต่เป็นฐานการค้าขาย
ใน 10 ประเทศอาเซียน ซีพีเอฟมีการลงทุนแล้ว 6 ประเทศ โดยอินโดนีเซีย เมียนมาร์ เป็นการลงทุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่วนบรูไน เราไม่มีการลงทุนเพราะเป็นมีขนาดเล็ก นายอดิเรก กล่าว
“เออีซี จะผลักดันให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นไปในทิศทางบวกแน่นอน แต่การจะใช้ประโยชน์จากการการรวมตัวทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร” นายอดิเรก กล่าว
นายอดิเรก กล่าวย้ำว่า การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จำทำให้กำลังซื้อสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยในการหาประโยชน์จากการรวมตัวทางเศรษฐกิจและตลาดขนาดใหญ่ในอาเซียน ซึ่งการลงทุนของบริษัทเป็นการลงทุนเพื่อขายประเทศที่เข้าไปลงทุน
นอกจากนี้ ไทยยังมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ซึ่งจะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและขนส่งสินค้าทางบกของอาเซียนได้เป็นอย่างดี บริษัทยังเห็นความสำคัญของการเชื่อมโยง เออีซี กับจีนทางตอนใต้และทางตะวันตกของไทยก็เชื่อมกับอินเดียได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและจะเป็นโอกาสทางการค้าและการลงทุน ซึ่งอาเซียนจะเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกและการส่งออกต่อไปยังประเทศที่สาม
อย่างไรก็ตาม เรื่องสินค้าเกษตรและอาหารอาเซียนยังมีการปกป้องการผลิตในประเทศ ซึ่งจะทำให้การส่งออกระหว่างอาเซียนไม่สะดวก ซีพีเอฟ จึงจำเป็นต้องไปลงทุนในประเทศกลุ่มประเทศอาเซียนแทนการส่งออกจากประเทศไทย
“การลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพทั้งในและนอกอาเซียน การเข้าสู่ธุรกิจปลายน้ำอาหารมนุษย์ ค้าปลีก ร้านอาหาร และการซื้อธุรกิจ เพื่อต่อยอดธุริกจที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเดินสู่เป้าหมายการเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 10% จากฐานปัจจุบัน ซึ่งใน 5 ปีข้างหน้ายอดขาย ซีพีเอฟ น่าจะเติบโตเกือบ 2 เท่าหรือประมาณ 8 แสนล้านบาท” นายอดิเรก กล่าว
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ยอดขายของ ซีพีเอฟ 13% กำไร 5.5-5.6 พันล้านบาท เติบโตกว่า 100% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่ผ่านมาภาวะเนื้อสัตว์ตกต่ำและกุ้งไม่ดีทั้งปี ทำให้กำไร ซีพีเอฟไม่ดี แต่ปีนี้กลับมาโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ราคาดีกว่าปีที่แล้ว แต่กุ้งที่เสียหายเพิ่งกลับมาแต่ยังเป็นธุรกิจที่ขาดทุนเพราะผลผลิตยังน้อย
ซีพีเอฟ ตั้งเป้าโตอย่างน้อย 10% หรือประมาณ 4.3-4.5 แสนล้านบาทในปีนี้ และคาดว่ากำไรครึ่งปีหลังน่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก ซึ่งปัจจุบันรายได้ของบริษัทมาจากการลงทุนต่างประเทศ 58% ใน 13 ประเทศ โดยมีการผลิตเพื่อขายภายในประเทศ 36% ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกจากไทยเพียง 6% ไปยัง 20 ประเทศ
ในอีก 5 ปีข้างหน้า รายได้ลงทุนจากต่างประเทศจะเพิ่มเป็น 70% ส่วนขายในประเทศและส่งออกจากไทยจะเหลือ 30% เพื่อแรงกดดันจากการกีดกันทางการค้า ทำการส่งออกมีข้อจำกัด แต่การลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพจะเป็นการอำนวยความสะดวกการขายในประเทศเป้าหมาย
นายอดิเรก กล่าวย้ำว่า จุดเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจของบริษัท 3 ประการ คือ เราพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น การนำกลยุทธการควบรวมและซื้อธุรกิจมาใช้ เพื่อสร้างโอกาสจะทำให้ยอดขายของธุรกิจต้องโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ในอีก 5 ปีข้างหน้า และต้องเข้าไปสู่การผลิตอาหารสำเร็จรูปมนุษย์มากขึ้น แทนที่จะเป็นการผลิตอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าของสินค้า
นอกจากนี้ แผนขยายการลงทุนของบริษัทยังคงเน้นทั้งในอาเซียนและนอกอาเซียน เช่น จีน อินเดีย และรัสเซีย ส่วน 3 ประเทศ อินโดนีเซียและพม่า เป็นการลงทุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่วนบรูไน เป็นประเทศเล็ก บริษัทไม่ได้ลงทุน
สำหรับประเทศนอกอาเซียนที่ ซีพีเอฟ ใส่เงินลงทุนไปเยอะคือ จีน อินเดีย รัสเซีย และตุรกี ส่วนที่เบลเบลเยี่ยมเราไปซื้อธุรกิจอาหารท็อปฟู้ดส์ ตอนนี้ดูการลงทุนธุรกิจในสหรัฐ สหภาพยุโรป เป็นโอกาสที่เราจะไปต่อยอดในธุรกิจอาหาร มีบริษัทที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทมากกว่าการลงทุนในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 60% ของการลงทุนทั้งหมดของบริษัท ซึ่งมีการลงทุนเฉลี่ย 7-8 หมื่นล้านบาท ต่อปี
“เราจะซื้อธุรกิจที่เป็นธุรกิจหลักในแวลูเชนของเรา อาหารสัตว์ ฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ไข สุกร กุ้งปลา อาหารสำเร็จ ร้านอาหาร และค้าปลีก” นายอดิเรก กล่าว
ซีพีเอฟ ยังได้เข้าไปลงทุนในประเทศใหม่ๆในอาฟริกา ซึ่งมีประชากร 1 พันล้านคน เนื่องจากบริษัททำธุรกิจอาหารจึงต้องพิจารณาจำนวนอยู่ประชากรเป็นหลัก ซึ่งอาฟริกาเป็นตลาดใหญ่แต่เราเริ่มทำธุรกิจเล็กๆ เพื่อศึกษาตลาดและสร้างความมั่นคงทางธุรกิจในอนาคต เราไม่ได้ต้องการเข้าแล้วไปเป็นเบอร์หนึ่ง ซึ่งตอนนี้เราเริ่มที่แทนซาเนีย ด้วยธุรกิจอาหารสัตว์และเลี้ยงไก่ เพื่อสร้างธุรกิจต้นแบบขึ้นมาก่อนแล้วค่อยขยายในอนาคต
ซีพีเอฟ ยังสนใจการซื้อกิจการในสหรัฐอีก 1 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารและการตลาด ยังมีบริษัทในรัสเซียยุโรปที่น่าสนใจ ซึ่งต้องเลือกบริษัทดีและผู้บริหารดี ตอนนี้มี 3-4 บริษัท ที่เราดูอยู่ ในต้นปีหน้าอาจจะมีการประกาศได้ 1 ดีล อาจจะเป็นยุโรป หรือ รัสเซีย
ส่วนฟิลิปปินส์มีประชากรกว่า 100 ล้านคน จะเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ซึ่ง ซีพีเอฟ ใช้เงินลงทุนไปแล้วเกือบ 8,000 ล้านบาท ในการสร้างธุรกิจอาหารสัตว์บก อาหารสัตว์น้ำ หมู ไก่เนื้อ กุ้ง ปลา แต่ยังไม่มีอาหารสำเร็จรูปและร้านอาหาร ขณะที่ มาเลเซียกำลังซื้อ 20 กว่าล้านคนตลาดไม่ใหญ่แต่บริษัทสร้างฐานไว้นานแล้วทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ
สำหรับลาวและกัมพูชา บริษัทลงทุนทำธุรกิจสัตว์บก เช่น อาหารสัตว์บก เลี้ยงสุกร ไก่ ส่วนสิงคโปร์บริษัทไม่มีลงทุนแต่เป็นฐานการค้าขาย
ใน 10 ประเทศอาเซียน ซีพีเอฟมีการลงทุนแล้ว 6 ประเทศ โดยอินโดนีเซีย เมียนมาร์ เป็นการลงทุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่วนบรูไน เราไม่มีการลงทุนเพราะเป็นมีขนาดเล็ก นายอดิเรก กล่าว
“เออีซี จะผลักดันให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นไปในทิศทางบวกแน่นอน แต่การจะใช้ประโยชน์จากการการรวมตัวทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร” นายอดิเรก กล่าว
นายอดิเรก กล่าวย้ำว่า การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จำทำให้กำลังซื้อสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยในการหาประโยชน์จากการรวมตัวทางเศรษฐกิจและตลาดขนาดใหญ่ในอาเซียน ซึ่งการลงทุนของบริษัทเป็นการลงทุนเพื่อขายประเทศที่เข้าไปลงทุน
นอกจากนี้ ไทยยังมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ซึ่งจะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและขนส่งสินค้าทางบกของอาเซียนได้เป็นอย่างดี บริษัทยังเห็นความสำคัญของการเชื่อมโยง เออีซี กับจีนทางตอนใต้และทางตะวันตกของไทยก็เชื่อมกับอินเดียได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและจะเป็นโอกาสทางการค้าและการลงทุน ซึ่งอาเซียนจะเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกและการส่งออกต่อไปยังประเทศที่สาม
อย่างไรก็ตาม เรื่องสินค้าเกษตรและอาหารอาเซียนยังมีการปกป้องการผลิตในประเทศ ซึ่งจะทำให้การส่งออกระหว่างอาเซียนไม่สะดวก ซีพีเอฟ จึงจำเป็นต้องไปลงทุนในประเทศกลุ่มประเทศอาเซียนแทนการส่งออกจากประเทศไทย
“การลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพทั้งในและนอกอาเซียน การเข้าสู่ธุรกิจปลายน้ำอาหารมนุษย์ ค้าปลีก ร้านอาหาร และการซื้อธุรกิจ เพื่อต่อยอดธุริกจที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเดินสู่เป้าหมายการเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 10% จากฐานปัจจุบัน ซึ่งใน 5 ปีข้างหน้ายอดขาย ซีพีเอฟ น่าจะเติบโตเกือบ 2 เท่าหรือประมาณ 8 แสนล้านบาท” นายอดิเรก กล่าว
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ยอดขายของ ซีพีเอฟ 13% กำไร 5.5-5.6 พันล้านบาท เติบโตกว่า 100% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่ผ่านมาภาวะเนื้อสัตว์ตกต่ำและกุ้งไม่ดีทั้งปี ทำให้กำไร ซีพีเอฟไม่ดี แต่ปีนี้กลับมาโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ราคาดีกว่าปีที่แล้ว แต่กุ้งที่เสียหายเพิ่งกลับมาแต่ยังเป็นธุรกิจที่ขาดทุนเพราะผลผลิตยังน้อย
ซีพีเอฟ ตั้งเป้าโตอย่างน้อย 10% หรือประมาณ 4.3-4.5 แสนล้านบาทในปีนี้ และคาดว่ากำไรครึ่งปีหลังน่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก ซึ่งปัจจุบันรายได้ของบริษัทมาจากการลงทุนต่างประเทศ 58% ใน 13 ประเทศ โดยมีการผลิตเพื่อขายภายในประเทศ 36% ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกจากไทยเพียง 6% ไปยัง 20 ประเทศ
ในอีก 5 ปีข้างหน้า รายได้ลงทุนจากต่างประเทศจะเพิ่มเป็น 70% ส่วนขายในประเทศและส่งออกจากไทยจะเหลือ 30% เพื่อแรงกดดันจากการกีดกันทางการค้า ทำการส่งออกมีข้อจำกัด แต่การลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพจะเป็นการอำนวยความสะดวกการขายในประเทศเป้าหมาย
นายอดิเรก กล่าวย้ำว่า จุดเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจของบริษัท 3 ประการ คือ เราพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น การนำกลยุทธการควบรวมและซื้อธุรกิจมาใช้ เพื่อสร้างโอกาสจะทำให้ยอดขายของธุรกิจต้องโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ในอีก 5 ปีข้างหน้า และต้องเข้าไปสู่การผลิตอาหารสำเร็จรูปมนุษย์มากขึ้น แทนที่จะเป็นการผลิตอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าของสินค้า
นอกจากนี้ แผนขยายการลงทุนของบริษัทยังคงเน้นทั้งในอาเซียนและนอกอาเซียน เช่น จีน อินเดีย และรัสเซีย ส่วน 3 ประเทศ อินโดนีเซียและพม่า เป็นการลงทุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่วนบรูไน เป็นประเทศเล็ก บริษัทไม่ได้ลงทุน
สำหรับประเทศนอกอาเซียนที่ ซีพีเอฟ ใส่เงินลงทุนไปเยอะคือ จีน อินเดีย รัสเซีย และตุรกี ส่วนที่เบลเบลเยี่ยมเราไปซื้อธุรกิจอาหารท็อปฟู้ดส์ ตอนนี้ดูการลงทุนธุรกิจในสหรัฐ สหภาพยุโรป เป็นโอกาสที่เราจะไปต่อยอดในธุรกิจอาหาร มีบริษัทที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทมากกว่าการลงทุนในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 60% ของการลงทุนทั้งหมดของบริษัท ซึ่งมีการลงทุนเฉลี่ย 7-8 หมื่นล้านบาท ต่อปี
“เราจะซื้อธุรกิจที่เป็นธุรกิจหลักในแวลูเชนของเรา อาหารสัตว์ ฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ไข สุกร กุ้งปลา อาหารสำเร็จ ร้านอาหาร และค้าปลีก” นายอดิเรก กล่าว
ซีพีเอฟ ยังได้เข้าไปลงทุนในประเทศใหม่ๆในอาฟริกา ซึ่งมีประชากร 1 พันล้านคน เนื่องจากบริษัททำธุรกิจอาหารจึงต้องพิจารณาจำนวนอยู่ประชากรเป็นหลัก ซึ่งอาฟริกาเป็นตลาดใหญ่แต่เราเริ่มทำธุรกิจเล็กๆ เพื่อศึกษาตลาดและสร้างความมั่นคงทางธุรกิจในอนาคต เราไม่ได้ต้องการเข้าแล้วไปเป็นเบอร์หนึ่ง ซึ่งตอนนี้เราเริ่มที่แทนซาเนีย ด้วยธุรกิจอาหารสัตว์และเลี้ยงไก่ เพื่อสร้างธุรกิจต้นแบบขึ้นมาก่อนแล้วค่อยขยายในอนาคต
ซีพีเอฟ ยังสนใจการซื้อกิจการในสหรัฐอีก 1 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารและการตลาด ยังมีบริษัทในรัสเซียยุโรปที่น่าสนใจ ซึ่งต้องเลือกบริษัทดีและผู้บริหารดี ตอนนี้มี 3-4 บริษัท ที่เราดูอยู่ ในต้นปีหน้าอาจจะมีการประกาศได้ 1 ดีล อาจจะเป็นยุโรป หรือ รัสเซีย