สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน เนื่องในวันอัลไซเมอร์โลก เรื่อง การออกกำลังสมอง ป้องกันสมองเสื่อม ที่สวนรถไฟ
ทั้งนี้ โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งมีอาการที่สังเกตได้ คือความจำไม่ดี โดยเฉพาะความจำระยะสั้น ทำกิจกรรมที่คุ้นเคยไม่ได้ มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น ลืมคำศัพท์ง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม โรคอัลไซเมอร์สามารถป้องกันได้ ด้วยการออกกำลังกาย ออกกำลังสมอง เช่น การทำกิจวัตรประจำวันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด หรือเพียงแค่พูดคุยให้มากขึ้น ก็สามารถบำรุงสมองได้
แพทย์หญิงรุ่งทิพย์ ชัยธีรกิจ แพทย์ด้านระบบประสาทและสมอง สถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า โรคอัลไซเมอร์ต่างจากการหลงลืมตามวัย เช่น การลืมแว่นตาวางไว้ที่ไหน จำทางไม่ได้ นั่นถือเป็นเรื่องปกติ เป็นการหลงลืมตามวัย แต่หากลืมกุญแจในตู้เย็น จำลูกหลานไม่ได้ ลืมสถานที่ที่ไปเป็นประจำ อาจจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งคนในครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเหลือผู้ป่วย ด้วยการเอาใจใส่ดูแล
ทั้งนี้ ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ มีภาวะเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น การป้องกันจึงควรรับประทานอาหารไขมันต่ำ งดสูบบุหรี่
ทั้งนี้ โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งมีอาการที่สังเกตได้ คือความจำไม่ดี โดยเฉพาะความจำระยะสั้น ทำกิจกรรมที่คุ้นเคยไม่ได้ มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น ลืมคำศัพท์ง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม โรคอัลไซเมอร์สามารถป้องกันได้ ด้วยการออกกำลังกาย ออกกำลังสมอง เช่น การทำกิจวัตรประจำวันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด หรือเพียงแค่พูดคุยให้มากขึ้น ก็สามารถบำรุงสมองได้
แพทย์หญิงรุ่งทิพย์ ชัยธีรกิจ แพทย์ด้านระบบประสาทและสมอง สถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า โรคอัลไซเมอร์ต่างจากการหลงลืมตามวัย เช่น การลืมแว่นตาวางไว้ที่ไหน จำทางไม่ได้ นั่นถือเป็นเรื่องปกติ เป็นการหลงลืมตามวัย แต่หากลืมกุญแจในตู้เย็น จำลูกหลานไม่ได้ ลืมสถานที่ที่ไปเป็นประจำ อาจจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งคนในครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเหลือผู้ป่วย ด้วยการเอาใจใส่ดูแล
ทั้งนี้ ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ มีภาวะเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น การป้องกันจึงควรรับประทานอาหารไขมันต่ำ งดสูบบุหรี่