แพทย์ด้านโภชนวิทยา ชี้อ้วนวัยกลางคนเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ ขณะที่เด็กอ้วน 60-70% จะอ้วนต่อเนื่องไปจนโต ย้ำต้องดูแลสุขภาพ อาหารการกินตั้งแต่ยังเล็ก ส่วนผู้สูงอายุที่ผอมเกินไป มีสิทธิสมองเสื่อมเร็วกว่าเพื่อน เหตุได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อสมองไม่เพียงพอ แนะกินอาหารครบ 5 หมู่ เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย พบเจอผู้คนช่วยเพิ่มการทำงานสมองป้องกันความเสื่อม ระบุผู้สูงอายุกินอาหารเสริมได้หากขาดสารอาหารจริง
วันนี้ (20 ก.ย.) ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร หัวหน้าโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวในเวทีเสวนาเรื่อง "กินอย่างไร สดใสตลอดกาล" ในงานวันรู้ทันป้องกันสมองเสื่อม จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า น้ำหนักมีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม ซึ่งจากการศึกษาวิจัยผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีหรือวัยกลางคน โดยติดตามระยะยาวไปจนถึงวัยสูงอายุพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนในวัยกลางคน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม อาจเป็นเพราะภาวะอ้วนนำมาซึ่งโรคต่างๆ ทั้งเบาหวาน ความดัน เส้นเลือดแข็งตัว ทำให้มีความเสี่ยงเส้นเลือดในสมองแย่ลง เมื่อแก่ตัวก็มีความเสี่ยงเป็นสมองเสื่อมมากขึ้น นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ผอมจนเกินไปก็มีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมด้วย เนื่องจากอาจมีปัญหาในการรับประทาน ทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อสมองไม่เพียงพอ
" แม้ผลวิจัยจะระบุว่าภาวะอ้วนในวัยกลางคนมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ แต่การดูแลสุขภาพร่างกาย โดยเพาะอาหารการกินจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เพราะข้อมูลจากกรมอนามัยก็ชัดเจนว่า เด็กที่มีภาวะอ้วนร้อยละ 60-70 โตไปก็จะมีภาวะอ้วนด้วย ดังนั้น การดูแลเรื่องอาหารการกินจะต้องดูแลตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่แค่เพียงช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต " ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ กล่าวและว่า สำหรับข้อแนะนำในการรับประทานอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมนั้น อย่างที่ทราบคือจะต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยแนะนำให้รับประทานปลา ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือบวกอีก 1 ข้อนิ้ว จำนวน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยให้ได้รับน้ำมันปลา ซึ่งน้ำมันปลาจะช่วยให้เลือดใส ไม่เกาะตัวง่าย ลดการอุดตันในเส้นเลือด ที่สำคัญต้องกินผักและผลไม้รวมกันให้ได้อย่างน้อย 5 กำมือต่อวัน
ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังต้องงดสูบบุหรี่ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่หกล้มง่าย และการมีกิจกรรมเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย ออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน จะช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง ก็จะช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ ส่วนการรับประทานอาหารเสริมในผู้สูงอายุนั้น หลักเกณฑ์คือต้องพิจารณาว่าขาดสารอาหารจริงหรือไม่ หากขาดสารอาหารจริงก็สามารถรับประทานได้ อย่างวิตามินบี และซี ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ สามารถรับประทานเสริมได้ เพราะเมื่อเกินความต้องการของร่างกายก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่วิตามินซีจะต้องระวังไม่ควร 2 พันมิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากรับประทานเกินและถูกขับออกทางปัสสาวะมากๆ จะก่อให้เกิดโรคนิ่วได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 ก.ย.) ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร หัวหน้าโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวในเวทีเสวนาเรื่อง "กินอย่างไร สดใสตลอดกาล" ในงานวันรู้ทันป้องกันสมองเสื่อม จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า น้ำหนักมีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม ซึ่งจากการศึกษาวิจัยผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีหรือวัยกลางคน โดยติดตามระยะยาวไปจนถึงวัยสูงอายุพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนในวัยกลางคน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม อาจเป็นเพราะภาวะอ้วนนำมาซึ่งโรคต่างๆ ทั้งเบาหวาน ความดัน เส้นเลือดแข็งตัว ทำให้มีความเสี่ยงเส้นเลือดในสมองแย่ลง เมื่อแก่ตัวก็มีความเสี่ยงเป็นสมองเสื่อมมากขึ้น นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ผอมจนเกินไปก็มีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมด้วย เนื่องจากอาจมีปัญหาในการรับประทาน ทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อสมองไม่เพียงพอ
" แม้ผลวิจัยจะระบุว่าภาวะอ้วนในวัยกลางคนมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ แต่การดูแลสุขภาพร่างกาย โดยเพาะอาหารการกินจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เพราะข้อมูลจากกรมอนามัยก็ชัดเจนว่า เด็กที่มีภาวะอ้วนร้อยละ 60-70 โตไปก็จะมีภาวะอ้วนด้วย ดังนั้น การดูแลเรื่องอาหารการกินจะต้องดูแลตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่แค่เพียงช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต " ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ กล่าวและว่า สำหรับข้อแนะนำในการรับประทานอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมนั้น อย่างที่ทราบคือจะต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยแนะนำให้รับประทานปลา ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือบวกอีก 1 ข้อนิ้ว จำนวน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยให้ได้รับน้ำมันปลา ซึ่งน้ำมันปลาจะช่วยให้เลือดใส ไม่เกาะตัวง่าย ลดการอุดตันในเส้นเลือด ที่สำคัญต้องกินผักและผลไม้รวมกันให้ได้อย่างน้อย 5 กำมือต่อวัน
ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังต้องงดสูบบุหรี่ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่หกล้มง่าย และการมีกิจกรรมเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย ออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน จะช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง ก็จะช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ ส่วนการรับประทานอาหารเสริมในผู้สูงอายุนั้น หลักเกณฑ์คือต้องพิจารณาว่าขาดสารอาหารจริงหรือไม่ หากขาดสารอาหารจริงก็สามารถรับประทานได้ อย่างวิตามินบี และซี ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ สามารถรับประทานเสริมได้ เพราะเมื่อเกินความต้องการของร่างกายก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่วิตามินซีจะต้องระวังไม่ควร 2 พันมิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากรับประทานเกินและถูกขับออกทางปัสสาวะมากๆ จะก่อให้เกิดโรคนิ่วได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่