พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ขยะน่าเป็นห่วง มีขยะในระบบเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในรอบ 20 ปี กว่า 28 ล้านตัน โดยมีบ่อขยะกว่า 2,400 แห่ง แต่ 80 เปอร์เซ็นต์ มีการจัดการที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้หลงเหลือขยะตกค้างในระบบจำนวนกว่า 26 ล้านตัน ซึ่งนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศนี้ จะมีผลต่อการจัดการขยะทั้งหมดอย่างยิ่ง โดยจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาขยะเก่าให้หมดภายใน 1 ปี ส่วนขยะใหม่จะมีระบบจัดการที่เหมาะสมและไม่เกิดปัญหาแบบเดิม ต้องวางมาตรการรองรับการบริหารจัดการขยะทั่วประเทศ แบ่งย่อยรายจังหวัดให้เหมาะสมกับลักษณะขยะและพื้นที่กำจัดด้วย และต้องสร้างวินัยของคนในชาติใหม่ทั้งด้านความรู้และบังคับใช้กฎกมาย
โดยแต่ละจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้นำดึงหน่วยงานท้องถิ่นมาวางแนวทางร่วมกัน ให้มีการกำกับดูแลในภาพรวม และให้แต่ละจังหวัดจัดทำแผนบริหารจัดการขยะภายใน 3 เดือน ส่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในเดือนธันวาคมนี้ ก่อนพิจารณาจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในปีหน้า โดยจังหวัดนำร่อง 5 จังหวัด นนทบุรี ภูเก็ต สงขลา เชียงราย และกรุงเทพมหานคร
ในแผนสนับสนุนให้มีศูนย์จัดการขยะแปรรูปเป็นพลังงานและรีไซเคิลอย่างน้อย 15 แห่ง โดยดึงภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญร่วมลงทุน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคตอีกด้วย
ทั้งนี้ โรดแมปฉบับนี้จะเริ่มได้แบ่งจังหวัดที่ต้องมีการจัดการระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง 26 จังหวัด ซึ่งจะต้องจัดการขยะตกค้างในพื้นที่รวม 22 ล้านตันให้เสร็จภายใน 1 ปี นอกจากนี้ จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.ด้านขยะโดยเฉพาะ เพื่อให้กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจในการจัดการ บริหาร แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เป็นการผูกมัดระหว่างเอกชนและท้องถิ่นซึ่งเดิมไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้
โดยแต่ละจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้นำดึงหน่วยงานท้องถิ่นมาวางแนวทางร่วมกัน ให้มีการกำกับดูแลในภาพรวม และให้แต่ละจังหวัดจัดทำแผนบริหารจัดการขยะภายใน 3 เดือน ส่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในเดือนธันวาคมนี้ ก่อนพิจารณาจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในปีหน้า โดยจังหวัดนำร่อง 5 จังหวัด นนทบุรี ภูเก็ต สงขลา เชียงราย และกรุงเทพมหานคร
ในแผนสนับสนุนให้มีศูนย์จัดการขยะแปรรูปเป็นพลังงานและรีไซเคิลอย่างน้อย 15 แห่ง โดยดึงภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญร่วมลงทุน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคตอีกด้วย
ทั้งนี้ โรดแมปฉบับนี้จะเริ่มได้แบ่งจังหวัดที่ต้องมีการจัดการระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง 26 จังหวัด ซึ่งจะต้องจัดการขยะตกค้างในพื้นที่รวม 22 ล้านตันให้เสร็จภายใน 1 ปี นอกจากนี้ จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.ด้านขยะโดยเฉพาะ เพื่อให้กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจในการจัดการ บริหาร แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เป็นการผูกมัดระหว่างเอกชนและท้องถิ่นซึ่งเดิมไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้