นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 16 กันยายนนี้ได้สั่งแก้ไขร่างทีโออาร์จัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน วงเงิน 4,800 ล้านบาท โดยประเด็นที่ต้องแก้ไข คือ เอกชนที่เสนอราคาจะต้องสามารถผลิตขบวนรถจากเดิมที่กำหนดว่าต้องผลิตได้ 100 โบกี้เป็น 500 โบกี้ พร้อมแก้ไขปลดรถขบวนใหม่-เก่าไม่ต้องเชื่อมต่อกัน เพื่อเปิดโอกาสให้มีผู้เข้าแข่งขันมากขึ้น ล่าสุดพบว่ามีผู้สนใจ 3 รายคือ จากจีน- เกาหลี และซีเมนต์ จากเยอรมนี
สำหรับผลกระทบจากการซ่อมบำรุงนั้น ทางรถไฟฯได้ปรับเหลือรถให้บริการจาก 9 ขบวนเป็น 5 ขบวน พร้อมปรับความถี่ในการให้บริการใหม่ โดยช่วงชั่วโมงเร่งด่วนจะให้บริการรถไฟฟ้าซิตี้ไลน์จากเวลา 12-13 นาที/ขบวน สำหรับช่วงเวลาปกติจะให้บริการเป็น 18-20 นาที/ขบวน
“เรื่องการหยุดให้บริการเป็นมาตรการสุดท้ายดีกว่า เพราะเรายึดถือมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด และปัจจุบันได้ทยอยสั่งซื้ออะไหล่ไปแล้ว” นายออมสิน กล่าว
นอกจากนี้บอร์ดร.ฟ.ท.ยังได้อนุมัติเงินกู้ปี 2558 วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาทในการพัฒนาโครงการต่างๆของร.ฟ.ท. พร้อมกับอนุมัติปรับลดวงเงินปีงบประมาณ 2557 จาก 5 หมื่นล้านบาทเหลือ 1.9 หมื่นล้านบาท เนื่องจากโครงการที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน จึงต้องปรับงบรายจ่ายไปไว้ในปี 2558 แทน
ด้านนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงค์ กล่าวว่า ในส่วนของการจัดซื้อขบวนรถทั้ง 7 ขบวน จะเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งคาดว่าภายใน 4-5 เดือน หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จะเซ็นสัญญาและภายใน 2 ปี จะได้รับขบวนรถ
“ถ้าเป็นระบบของซีเมนต์ราคาประมาณ 5,000 ล้านบาท ต่อการจัดซื้อ 28 ตู้(โบกี้) (1 ขบวนมี 4 โบกี้) ส่วนกรณีที่ซื้อจากประเทศอื่นๆ ราคาจะประมาณ 2,000 ล้านบาท(โดยยังไม่รวมระบบของซีเมนต์) ซึ่งปัจจุบันสามารถแข่งขันกันได้อยู่แล้วเนื่องจากซีเมนต์ผลิตจากจีนและอีกหลายประเทศของโลก”
สำหรับผลกระทบจากการซ่อมบำรุงนั้น ทางรถไฟฯได้ปรับเหลือรถให้บริการจาก 9 ขบวนเป็น 5 ขบวน พร้อมปรับความถี่ในการให้บริการใหม่ โดยช่วงชั่วโมงเร่งด่วนจะให้บริการรถไฟฟ้าซิตี้ไลน์จากเวลา 12-13 นาที/ขบวน สำหรับช่วงเวลาปกติจะให้บริการเป็น 18-20 นาที/ขบวน
“เรื่องการหยุดให้บริการเป็นมาตรการสุดท้ายดีกว่า เพราะเรายึดถือมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด และปัจจุบันได้ทยอยสั่งซื้ออะไหล่ไปแล้ว” นายออมสิน กล่าว
นอกจากนี้บอร์ดร.ฟ.ท.ยังได้อนุมัติเงินกู้ปี 2558 วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาทในการพัฒนาโครงการต่างๆของร.ฟ.ท. พร้อมกับอนุมัติปรับลดวงเงินปีงบประมาณ 2557 จาก 5 หมื่นล้านบาทเหลือ 1.9 หมื่นล้านบาท เนื่องจากโครงการที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน จึงต้องปรับงบรายจ่ายไปไว้ในปี 2558 แทน
ด้านนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงค์ กล่าวว่า ในส่วนของการจัดซื้อขบวนรถทั้ง 7 ขบวน จะเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งคาดว่าภายใน 4-5 เดือน หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จะเซ็นสัญญาและภายใน 2 ปี จะได้รับขบวนรถ
“ถ้าเป็นระบบของซีเมนต์ราคาประมาณ 5,000 ล้านบาท ต่อการจัดซื้อ 28 ตู้(โบกี้) (1 ขบวนมี 4 โบกี้) ส่วนกรณีที่ซื้อจากประเทศอื่นๆ ราคาจะประมาณ 2,000 ล้านบาท(โดยยังไม่รวมระบบของซีเมนต์) ซึ่งปัจจุบันสามารถแข่งขันกันได้อยู่แล้วเนื่องจากซีเมนต์ผลิตจากจีนและอีกหลายประเทศของโลก”