นายอัษฎากร ลิ้มปิติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า โดยในวันที่ 12 กันยายนนี้ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน จะเดินทางไปเยือนเมียนมาร์ในวาระครบรอบ 25 ปีที่ ปตท.สผ.เข้าไปดำเนินธุรกิตในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ด้วย ซึ่ง ปตท.สผ.สนใจขยายการลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในเมียนมาร์เพิ่มเติม
โดยปัจจุบัน ปตท.ลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในเมียนมาร์จำนวน 12 แหล่ง โดยแหล่งที่สำรวจและผลิตแล้ว อาทิ แหล่งยาดานา เยตากุน และซอติก้า หรือเอ็ม9โดยแหล่งซอติก้าได้ส่งก๊าซฯเข้ามาไทยแล้ว 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และหาก ปตท.เรียกก๊าซเพิ่มก็สามารถเพิ่มได้ถึง 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ส่วนแปลงที่อยู่ระหว่างการสำรวจและประเมินปริมาณสำรอง อาทิ แหล่งบนบก 3 แหล่ง ได้แก่ แปลงอีพี2 ,เอ็มโอจีอี3และพีเอสซีจี โดยแปลงพีเอสซีจี เบื้องต้นพบว่ามีการขุดพบก๊าซซึ่งปนกับน้ำโคลน แต่ยังไม่สามารถประเมินสำรองได้ คาดว่าจะชัดเจนภายใน 2-3เดือนนี้ ส่วนแปลงเอ็ม3 ในทะเล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตื้น จากการขุดเจาะสำรวจพบก๊าซเปียกที่จะสามารถนำมาผลิตปิโตรเคมี ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินปริมาณสำรองเช่นกัน ซึ่งจะชัดเจนภายในปลายปีนี้ หากพบว่าปริมาณสำรองชัดเจน ได้หารือรัฐเมียนมาร์ในการผลิตก๊าซป้อนโรงงานปิโตรเคมีในพื้นที่ด้านใต้ของเมืองย่างกุ้งต่อไป
นอกจากนี้ ปตท.สผ.ยังอยู่ระหว่างศึกษาการลงทุนแปลงเอ็มดี7และ8 ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก หรือประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหลุม เทียบกับหลุ่มในอ่าวไทยที่ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหลุม ดังนั้นการตัดสินใจจะต้องรอบคอบ โดยก่อนหน้านี้ลงทุนสำรวจหลุ่มเอ็มดี11 ไปแล้ว แต่ไม่พบ โดยใช้เงินลงทุน 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหลุม
สำหรับความคืบหน้าการลงทุนในแหล่ง Cove Energy ที่โมซัมบิก ขณะนี้สามารถเจรจาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เป็นสัญญาระยะยาวได้ประมาณ 5.4 ล้านตันต่อปี โดยกำลังเจรจากับนักลงทุนจากอินเดีย เพื่อทำสัญญาซื้อขายเพิ่มเติม เพื่อให้ครบปริมาณที่ได้วางไว้ว่า จะทำสัญญาระยะยาวแอลเอ็นจีให้ถึงประมาณ 10 ล้านตันต่อปี เพื่อที่จะส่งออกแอลเอ็นจีจากแหล่งนี้ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายปี 2562 อย่างไรก็ตามเมื่อได้สัญญาซื้อขายแอลเอ็นจีระยะยาวแล้ว ก็จะมีการตัดสินใจวางแผนการลงทุนก่อสร้างโรงงานแอลเอ็นจี โดยในส่วนของ ปตท.สผ. ที่ถือหุ้นอยู่ 8.5% คาดว่าจะต้องมีการลงทุนในแหล่งนี้ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยปัจจุบัน ปตท.ลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในเมียนมาร์จำนวน 12 แหล่ง โดยแหล่งที่สำรวจและผลิตแล้ว อาทิ แหล่งยาดานา เยตากุน และซอติก้า หรือเอ็ม9โดยแหล่งซอติก้าได้ส่งก๊าซฯเข้ามาไทยแล้ว 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และหาก ปตท.เรียกก๊าซเพิ่มก็สามารถเพิ่มได้ถึง 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ส่วนแปลงที่อยู่ระหว่างการสำรวจและประเมินปริมาณสำรอง อาทิ แหล่งบนบก 3 แหล่ง ได้แก่ แปลงอีพี2 ,เอ็มโอจีอี3และพีเอสซีจี โดยแปลงพีเอสซีจี เบื้องต้นพบว่ามีการขุดพบก๊าซซึ่งปนกับน้ำโคลน แต่ยังไม่สามารถประเมินสำรองได้ คาดว่าจะชัดเจนภายใน 2-3เดือนนี้ ส่วนแปลงเอ็ม3 ในทะเล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตื้น จากการขุดเจาะสำรวจพบก๊าซเปียกที่จะสามารถนำมาผลิตปิโตรเคมี ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินปริมาณสำรองเช่นกัน ซึ่งจะชัดเจนภายในปลายปีนี้ หากพบว่าปริมาณสำรองชัดเจน ได้หารือรัฐเมียนมาร์ในการผลิตก๊าซป้อนโรงงานปิโตรเคมีในพื้นที่ด้านใต้ของเมืองย่างกุ้งต่อไป
นอกจากนี้ ปตท.สผ.ยังอยู่ระหว่างศึกษาการลงทุนแปลงเอ็มดี7และ8 ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก หรือประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหลุม เทียบกับหลุ่มในอ่าวไทยที่ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหลุม ดังนั้นการตัดสินใจจะต้องรอบคอบ โดยก่อนหน้านี้ลงทุนสำรวจหลุ่มเอ็มดี11 ไปแล้ว แต่ไม่พบ โดยใช้เงินลงทุน 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหลุม
สำหรับความคืบหน้าการลงทุนในแหล่ง Cove Energy ที่โมซัมบิก ขณะนี้สามารถเจรจาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เป็นสัญญาระยะยาวได้ประมาณ 5.4 ล้านตันต่อปี โดยกำลังเจรจากับนักลงทุนจากอินเดีย เพื่อทำสัญญาซื้อขายเพิ่มเติม เพื่อให้ครบปริมาณที่ได้วางไว้ว่า จะทำสัญญาระยะยาวแอลเอ็นจีให้ถึงประมาณ 10 ล้านตันต่อปี เพื่อที่จะส่งออกแอลเอ็นจีจากแหล่งนี้ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายปี 2562 อย่างไรก็ตามเมื่อได้สัญญาซื้อขายแอลเอ็นจีระยะยาวแล้ว ก็จะมีการตัดสินใจวางแผนการลงทุนก่อสร้างโรงงานแอลเอ็นจี โดยในส่วนของ ปตท.สผ. ที่ถือหุ้นอยู่ 8.5% คาดว่าจะต้องมีการลงทุนในแหล่งนี้ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ