ทำเนียบขาวเมื่อวันพฤหัสบดี(7) คุยโวมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกต่อรัสเซียในกรณีแทรกแซงในยูเครน ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยแก่เศรษฐกิจมอสโกและเย้ยมาตรการแก้เผ็ดของเครมลินรังแต่จะส่งผลย้อนกลับ อย่างไรก็ตามเหล่าผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมเตือนว่าคำสั่งห้ามนำเข้าสินค้าอาหารเกือบทั้งหมดจากอเมริกาและสหภาพยุโรป อาจก่อวิกฤตสินค้าล้นตลาดในอียู
รัสเซีย ประกาศในวันพฤหัสบดี (7ส.ค.) ห้ามนำเข้าสินค้าอาหารเกือบทั้งหมดจากสหรัฐฯและสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อตอบโต้มาตรการแซงก์ชันต่อกรณียูเครน มาตรการอันหนักหน่วงกว่าที่คาดซึ่งโดดเดี่ยวผู้บริโภคแดนหมีขาวจากการค้าโลก ในระดับที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนนับตั้งแต่ยุคสมัยโซเวียต
อเมริกาและสหภาพยุโรป (อียู) นั้นไม่พอใจรัสเซียที่ผนวกคาบสมุทรไครเมียของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเมื่อเดือนมีนาคม และกล่าวหาว่ามอสโกยังปลุกปั่นให้เกิดความตึงเครียดในยูเครนตะวันออกด้วยการจัดหาอาวุธและความเชี่ยวชาญให้แก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซีย จึงจำเป็นต้อง “สั่งสอน” ด้วยการออกมาตรการลงโทษหลายระลอก โดยเฉพาะหนหลังสุดในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่ง “เล่นแรง” ถึงขั้นพุ่งเป้าไปยังอุตสาหกรรมน้ำมันและอาวุธของรัสเซีย จำกัดรัฐวิสาหิกจแดนหมีขาวในการเข้าถึงตลาดทุนตะวันตก รวมทั้งอาจระงับการซื้อขายหุ้นในตลาดยุโรปและนิวยอร์ก
ในวันพฤหัสบดี (7) ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ออกคำสั่งให้รัฐบาลของเขาตอบโต้มาตรการลงโทษดังกล่าว ด้วยการห้ามการนำเข้าเนื้อวัว เนื้อหมู ปลา สัตว์ปีก นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้ทั้งหมดจากอเมริกาและอียู รวมถึงออสเตรเลีย แคนาดา และนอร์เวย์ โดยมีผลทันทีและกินระยะเวลา 1 ปี เว้นแต่ประเทศเหล่านี้จะใช้ “แนวทางที่สร้างสรรค์” เกี่ยวกับการแซงก์ชันรัสเซีย
อย่างไรก็ตามนายเจสัน เฟอร์แมน ประธานสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจทำเนียบขาวบอกกับผู้สื่อข่าวว่า "การแก้เผ็ดต่อบริษัทตะวันตกหรือประเทศต่างๆจะยิ่งทำให้รัสเซียโดดเดี่ยวจากระดับนานาชาติมากขึ้นและก่อความเสียหายแก่เศรษฐกิจพวกเขาเองเพิ่มเติม" เขาบอก "ธนาคารกลางรัสเซียชี้ว่าการห้ามนำเข้าอาหารจะผลักให้อัตราเงินเฟ้อของรัสเซียที่สูงอยู่แล้วพุ่งขึ้นไปอีก กัดกร่อนอำนาจการซื้อของพลเมืองรัสเซีย" พร้อมชี้ว่าพฤติกรรมของมอสโกในยูเครนและมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก "ได้ทำให้เศรษฐกิจที่เปราะบางของรัสเซียอ่อนแอลงกว่าเดิม"
รัสเซีย ประกาศในวันพฤหัสบดี (7ส.ค.) ห้ามนำเข้าสินค้าอาหารเกือบทั้งหมดจากสหรัฐฯและสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อตอบโต้มาตรการแซงก์ชันต่อกรณียูเครน มาตรการอันหนักหน่วงกว่าที่คาดซึ่งโดดเดี่ยวผู้บริโภคแดนหมีขาวจากการค้าโลก ในระดับที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนนับตั้งแต่ยุคสมัยโซเวียต
อเมริกาและสหภาพยุโรป (อียู) นั้นไม่พอใจรัสเซียที่ผนวกคาบสมุทรไครเมียของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเมื่อเดือนมีนาคม และกล่าวหาว่ามอสโกยังปลุกปั่นให้เกิดความตึงเครียดในยูเครนตะวันออกด้วยการจัดหาอาวุธและความเชี่ยวชาญให้แก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซีย จึงจำเป็นต้อง “สั่งสอน” ด้วยการออกมาตรการลงโทษหลายระลอก โดยเฉพาะหนหลังสุดในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่ง “เล่นแรง” ถึงขั้นพุ่งเป้าไปยังอุตสาหกรรมน้ำมันและอาวุธของรัสเซีย จำกัดรัฐวิสาหิกจแดนหมีขาวในการเข้าถึงตลาดทุนตะวันตก รวมทั้งอาจระงับการซื้อขายหุ้นในตลาดยุโรปและนิวยอร์ก
ในวันพฤหัสบดี (7) ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ออกคำสั่งให้รัฐบาลของเขาตอบโต้มาตรการลงโทษดังกล่าว ด้วยการห้ามการนำเข้าเนื้อวัว เนื้อหมู ปลา สัตว์ปีก นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้ทั้งหมดจากอเมริกาและอียู รวมถึงออสเตรเลีย แคนาดา และนอร์เวย์ โดยมีผลทันทีและกินระยะเวลา 1 ปี เว้นแต่ประเทศเหล่านี้จะใช้ “แนวทางที่สร้างสรรค์” เกี่ยวกับการแซงก์ชันรัสเซีย
อย่างไรก็ตามนายเจสัน เฟอร์แมน ประธานสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจทำเนียบขาวบอกกับผู้สื่อข่าวว่า "การแก้เผ็ดต่อบริษัทตะวันตกหรือประเทศต่างๆจะยิ่งทำให้รัสเซียโดดเดี่ยวจากระดับนานาชาติมากขึ้นและก่อความเสียหายแก่เศรษฐกิจพวกเขาเองเพิ่มเติม" เขาบอก "ธนาคารกลางรัสเซียชี้ว่าการห้ามนำเข้าอาหารจะผลักให้อัตราเงินเฟ้อของรัสเซียที่สูงอยู่แล้วพุ่งขึ้นไปอีก กัดกร่อนอำนาจการซื้อของพลเมืองรัสเซีย" พร้อมชี้ว่าพฤติกรรมของมอสโกในยูเครนและมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก "ได้ทำให้เศรษฐกิจที่เปราะบางของรัสเซียอ่อนแอลงกว่าเดิม"