นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มอบให้ นายเกรียงไกร สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ป.ป.ท.จัดทำยุทธศาสตร์ป้องกันการทุจริตภายใต้สถานการณ์ภัยพิบัติและอุทกภัย ตามที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติให้จัดทำโครงการเพื่อรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์หาทางป้องกันอย่างเป็นระบบ
ด้าน นายเกรียงไกร กล่าวว่า จากการตรวจสอบย้อนหลัง 4 - 5 ปี พบความสูญเสียจากการใช้งบประมาณฟื้นฟูและเยียวยาเฉลี่ยปีละ 1 แสนล้านบาท และมีการร้องทุกข์กล่าวโทษหน่วยงานมากกกว่าร้อยละ 80 จึงมีการวางแผนการทำงาน โดยวางแนวทางไว้ 3 ระยะคือ การตรวจสอบพื้นที่ก่อนน้ำท่วมช่วงที่มีน้ำท่วม และเมื่อสถานการณ์กลับเป็นปกติ โดย ป.ป.ท.จะขอข้อมูลย้อนหลังจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการใช้งบประมาณ
นายเกรียงไกร กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยให้สภานักศึกษามหาวิทยาลัยจังหวัดต่างๆ และอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่ทุกหมู่บ้าน นำข้อมูลต่างๆ มาเปรียบเทียบ โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการลงพื้นที่ตรวจสอบในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแห่งแรก
ด้าน นายเกรียงไกร กล่าวว่า จากการตรวจสอบย้อนหลัง 4 - 5 ปี พบความสูญเสียจากการใช้งบประมาณฟื้นฟูและเยียวยาเฉลี่ยปีละ 1 แสนล้านบาท และมีการร้องทุกข์กล่าวโทษหน่วยงานมากกกว่าร้อยละ 80 จึงมีการวางแผนการทำงาน โดยวางแนวทางไว้ 3 ระยะคือ การตรวจสอบพื้นที่ก่อนน้ำท่วมช่วงที่มีน้ำท่วม และเมื่อสถานการณ์กลับเป็นปกติ โดย ป.ป.ท.จะขอข้อมูลย้อนหลังจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการใช้งบประมาณ
นายเกรียงไกร กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยให้สภานักศึกษามหาวิทยาลัยจังหวัดต่างๆ และอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่ทุกหมู่บ้าน นำข้อมูลต่างๆ มาเปรียบเทียบ โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการลงพื้นที่ตรวจสอบในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแห่งแรก