นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่มีรายงานข่าวการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา ใน 3 ประเทศของทวีปแอฟริกา คือกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน โดยองค์การอนามัยโลกสรุปยอดผู้ป่วย ณ วันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 1,093 ราย เสียชีวิต 660 ราย และยังคงพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รายล่าสุดที่พบในประเทศไนจีเรีย เสียชีวิตลงแล้วเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ซึ่งปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสอีโบลา และแม้ว่าไทยจะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ต่ำก็ตาม ก็ไม่ได้ประมาท กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้ 3 มาตรการหลัก ได้แก่ ให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์โรคจากองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เนื่องจากโรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียารักษาโรคเฉพาะ จึงต้องใช้ระบบการเฝ้าระวังและการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัยให้รายงานทันที
นอกจากนี้ ให้โรงพยาบาลทุกแห่งเข้มงวดมาตรการดูแลรักษาหากมีผู้ป่วยมีอาการในข่ายสงสัย โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการดูแล ผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส เป็นต้น รวมทั้งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งไทยมีความร่วมมือใกล้ชิดกับศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (ซีดีซี) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสอีโบลา และแม้ว่าไทยจะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ต่ำก็ตาม ก็ไม่ได้ประมาท กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้ 3 มาตรการหลัก ได้แก่ ให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์โรคจากองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เนื่องจากโรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียารักษาโรคเฉพาะ จึงต้องใช้ระบบการเฝ้าระวังและการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัยให้รายงานทันที
นอกจากนี้ ให้โรงพยาบาลทุกแห่งเข้มงวดมาตรการดูแลรักษาหากมีผู้ป่วยมีอาการในข่ายสงสัย โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการดูแล ผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส เป็นต้น รวมทั้งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งไทยมีความร่วมมือใกล้ชิดกับศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (ซีดีซี) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้