จากกรณีที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศแถบแอฟริกา 3 ประเทศ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก สรุป ณ วันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,093 ราย เสียชีวิต 660 ราย และยังพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ที่ประเทศไนจีเรีย มีผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขอให้ประชาชนอย่าตระหนกกับข่าวดังกล่าว เพราะประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยจากเชื้อนี้ และมีความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้ไว้ 3 มาตรการหลัก คือ มาตรการเฝ้าระวัง ให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์จากองค์การอนามัย และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโลก เนื่องจากโรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่มียารักษาเฉพาะโรค จึงต้องมีการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัย ให้รายงานทันที
มาตรการดูแลรักษา ให้โรงพยาบาลทุกแห่งดูแลเข้มผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัย โดยใช้มาตรการเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส และมาตรการการตรวจวิเคราะห์ ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งไทยมีความร่วมมือใกล้ชิดกับศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่แล้ว
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขอให้ประชาชนอย่าตระหนกกับข่าวดังกล่าว เพราะประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยจากเชื้อนี้ และมีความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้ไว้ 3 มาตรการหลัก คือ มาตรการเฝ้าระวัง ให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์จากองค์การอนามัย และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโลก เนื่องจากโรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่มียารักษาเฉพาะโรค จึงต้องมีการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัย ให้รายงานทันที
มาตรการดูแลรักษา ให้โรงพยาบาลทุกแห่งดูแลเข้มผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัย โดยใช้มาตรการเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส และมาตรการการตรวจวิเคราะห์ ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งไทยมีความร่วมมือใกล้ชิดกับศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่แล้ว