พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช. ) แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคม ว่า ได้มอบหมายให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาโครงการสำคัญ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 ส่วนใดที่มีความพร้อมให้เริ่มดำเนินการไปก่อน
ในส่วนโครงการรถไฟทางคู่นั้น ให้พิจารณาถึงอนาคต ที่จะต้องรองรับการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการเชื่อมต่อกับประเทศจีน ที่ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่มีรางขนาด 1.435 เมตร เพื่อจะรองรับการวิ่งของขบวนรถที่ความเร็วสูงถึง 160-180 กม./ชม. การพัฒนาจุดเชื่อมต่อทางลอดต่าง ๆ เพื่อให้ขบวนรถไฟวิ่งได้อย่างต่อเนื่อง
ระบบรางของไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้น มีความกว้าง 1 เมตร เพื่อรองรับการวิ่งของขบวนรถที่ความเร็วประมาณไม่เกิน 90 กม./ชม. ซึ่งในอนาคตนั้น จะมีปัญหาในเรื่องการจัดหาอะไหล่ และการซ่อมบำรุงที่ทั่วโลกมีแนวโน้มไปใช้งานระบบรางแบบใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เสียโอกาสในเรื่องการพัฒนาการค้า การขนส่งคมนาคม เราสามารถพัฒนาปรับปรุงให้ระบบเดิมใช้ในเรื่องการเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้า การลดต้นทุนการขนส่ง
โดยระยะแรกให้มีการวางรางขนาด 1 เมตร เพิ่มเติมในเฉพาะเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นและเป็นเส้นหลักในการขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้มีแผนในการก่อสร้างไว้แล้วใน 5 เส้นทางตามความเร่งด่วน ดังนี้ เส้นแรก คือ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า–แก่งคอย เส้นที่สอง ลพบุรี -ปากน้ำโพ เส้นที่สาม มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ เส้นที่สี่ นครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน เส้นที่ห้าประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
ในส่วนโครงการรถไฟทางคู่นั้น ให้พิจารณาถึงอนาคต ที่จะต้องรองรับการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการเชื่อมต่อกับประเทศจีน ที่ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่มีรางขนาด 1.435 เมตร เพื่อจะรองรับการวิ่งของขบวนรถที่ความเร็วสูงถึง 160-180 กม./ชม. การพัฒนาจุดเชื่อมต่อทางลอดต่าง ๆ เพื่อให้ขบวนรถไฟวิ่งได้อย่างต่อเนื่อง
ระบบรางของไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้น มีความกว้าง 1 เมตร เพื่อรองรับการวิ่งของขบวนรถที่ความเร็วประมาณไม่เกิน 90 กม./ชม. ซึ่งในอนาคตนั้น จะมีปัญหาในเรื่องการจัดหาอะไหล่ และการซ่อมบำรุงที่ทั่วโลกมีแนวโน้มไปใช้งานระบบรางแบบใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เสียโอกาสในเรื่องการพัฒนาการค้า การขนส่งคมนาคม เราสามารถพัฒนาปรับปรุงให้ระบบเดิมใช้ในเรื่องการเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้า การลดต้นทุนการขนส่ง
โดยระยะแรกให้มีการวางรางขนาด 1 เมตร เพิ่มเติมในเฉพาะเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นและเป็นเส้นหลักในการขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้มีแผนในการก่อสร้างไว้แล้วใน 5 เส้นทางตามความเร่งด่วน ดังนี้ เส้นแรก คือ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า–แก่งคอย เส้นที่สอง ลพบุรี -ปากน้ำโพ เส้นที่สาม มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ เส้นที่สี่ นครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน เส้นที่ห้าประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร