นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เชื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง วงเงิน 3 ล้านล้านบาท ของ คสช. มีความเป็นไปได้ที่พร้อมดำเนินการในปีนี้ และพร้อมอนุมัติอาจจะน้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท
นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ประจำทีดีอาร์ไอ ระบุว่า โครงการลงทุน 3 ล้านล้านบาท ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขยายขอบข่ายการลงทุนออกไปมาก โดยเน้นภาพรวมระบบคมนาคมขนส่งของประเทศทั้งหมด และยังคงเน้นระบบรางอยู่โดยร้อยละ 70-80 ส่วนแหล่งเงินในการลงทุนอยู่ระหว่างการพิจารณา และโครงการส่วนใหญ่ไม่ใช่โครงการใหม่ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 โครงการที่เคยเสนอดำเนินการแล้วถูกชะลอไว้ ซึ่งครั้งนี้คาดว่าจะได้รับการพิจารณาให้ดำเนินการต่อตามแผนงานที่วางไว้ เพื่อความต่อเนื่องในการก่อสร้าง และดำเนินงาน เช่น โครงการลงทุนรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีทั้งโครงการที่กำลังก่อสร้าง และโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการ แต่รอการอนุมัติจากรัฐบาล สำหรับรถไฟทางคู่ ซึ่งแต่ละเส้นทางมีความก้าวหน้าแตกต่างกัน ครั้งนี้อาจอนุมัติได้บางส่วนเฉพาะโครงการที่พร้อมดำเนินงานแล้ว ในเส้นทางที่ยังไม่พร้อมก็อาจไม่ได้รับอนุมัติ
กลุ่มที่ 2 โครงการที่เสนอดำเนินการแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ หากแก้ไขแล้วก็อาจได้รับอนุมัติในรอบนี้ ถ้ายังไม่แก้ไขคงไม่ได้รับอนุมัติเหมือนเดิม เช่น การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี ซึ่งมีปัญหาซับซ้อนมายาวนาน เพราะไม่ได้เป็นปัญหาเพียงตัวเงินอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างองค์กร (ขสมก.) ด้วย กลุ่มที่ 3 โครงการที่ยังเป็นเพียงแนวคิด ยังต้องใช้เวลาในการศึกษารายละเอียดให้รอบด้าน เช่น โครงการไฟความเร็วสูง และเนื่องด้วยเป็นโครงการที่ใช้เงินค่อนข้างมาก คงยังไม่มีการอนุมัติในรอบนี้
ดังนั้น ความเป็นไปได้สำหรับโครงการที่พร้อมดำเนินการในปีนี้ และพร้อมอนุมัติอาจจะน้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท และในรายละเอียดของแต่ละโครงการยังมีความไม่ชัดเจนอยู่หลายโครงการ ส่วนการจัดสรรแหล่งเงินเชื่อว่าในที่สุด คสช. จะสามารถอนุมัติงบหรือหาเงินมาได้ และเมื่อใช้ในโครงการเสร็จแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาคือจะใช้เงินคืนอย่างไร
นายสุเมธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ควรแก้ปัญหาองค์กร หรือปรับโครงสร้างหน่วยงานที่ดูแลโครงการก่อนที่จะลงทุนทำโครงการ จึงจะทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าการลงทุน สำหรับการลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และเชิงพาณิชย์ไม่ควรนำงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจมาใส่ไว้ในงบลงทุนของรัฐ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพ เป็นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถระดมทุนเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจของหน่วยงานเองได้
นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ประจำทีดีอาร์ไอ ระบุว่า โครงการลงทุน 3 ล้านล้านบาท ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขยายขอบข่ายการลงทุนออกไปมาก โดยเน้นภาพรวมระบบคมนาคมขนส่งของประเทศทั้งหมด และยังคงเน้นระบบรางอยู่โดยร้อยละ 70-80 ส่วนแหล่งเงินในการลงทุนอยู่ระหว่างการพิจารณา และโครงการส่วนใหญ่ไม่ใช่โครงการใหม่ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 โครงการที่เคยเสนอดำเนินการแล้วถูกชะลอไว้ ซึ่งครั้งนี้คาดว่าจะได้รับการพิจารณาให้ดำเนินการต่อตามแผนงานที่วางไว้ เพื่อความต่อเนื่องในการก่อสร้าง และดำเนินงาน เช่น โครงการลงทุนรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีทั้งโครงการที่กำลังก่อสร้าง และโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการ แต่รอการอนุมัติจากรัฐบาล สำหรับรถไฟทางคู่ ซึ่งแต่ละเส้นทางมีความก้าวหน้าแตกต่างกัน ครั้งนี้อาจอนุมัติได้บางส่วนเฉพาะโครงการที่พร้อมดำเนินงานแล้ว ในเส้นทางที่ยังไม่พร้อมก็อาจไม่ได้รับอนุมัติ
กลุ่มที่ 2 โครงการที่เสนอดำเนินการแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ หากแก้ไขแล้วก็อาจได้รับอนุมัติในรอบนี้ ถ้ายังไม่แก้ไขคงไม่ได้รับอนุมัติเหมือนเดิม เช่น การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี ซึ่งมีปัญหาซับซ้อนมายาวนาน เพราะไม่ได้เป็นปัญหาเพียงตัวเงินอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างองค์กร (ขสมก.) ด้วย กลุ่มที่ 3 โครงการที่ยังเป็นเพียงแนวคิด ยังต้องใช้เวลาในการศึกษารายละเอียดให้รอบด้าน เช่น โครงการไฟความเร็วสูง และเนื่องด้วยเป็นโครงการที่ใช้เงินค่อนข้างมาก คงยังไม่มีการอนุมัติในรอบนี้
ดังนั้น ความเป็นไปได้สำหรับโครงการที่พร้อมดำเนินการในปีนี้ และพร้อมอนุมัติอาจจะน้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท และในรายละเอียดของแต่ละโครงการยังมีความไม่ชัดเจนอยู่หลายโครงการ ส่วนการจัดสรรแหล่งเงินเชื่อว่าในที่สุด คสช. จะสามารถอนุมัติงบหรือหาเงินมาได้ และเมื่อใช้ในโครงการเสร็จแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาคือจะใช้เงินคืนอย่างไร
นายสุเมธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ควรแก้ปัญหาองค์กร หรือปรับโครงสร้างหน่วยงานที่ดูแลโครงการก่อนที่จะลงทุนทำโครงการ จึงจะทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าการลงทุน สำหรับการลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และเชิงพาณิชย์ไม่ควรนำงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจมาใส่ไว้ในงบลงทุนของรัฐ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพ เป็นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถระดมทุนเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจของหน่วยงานเองได้