นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและลอจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศไทย วงเงิน 3 ล้านล้านบาท ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พยายามขับเคลื่อนอยู่มีความเป็นไปได้ว่า ในปี 57 จะมีโครงการที่พร้อมดำเนินการ และพร้อมอนุมัติน้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท เพราะรายละเอียดของแต่ละโครงการยังไม่ชัดเจน ส่วนการจัดสรรแหล่งเงินเชื่อว่าในที่สุด คสช.จะสามารถหาเงินมาได้ แต่เมื่อใช้เงินในโครงการเสร็จแล้วสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ จะใช้เงินคืนอย่างไร
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลที่แล้วกับโครงการ 3 ล้านล้านบาทของ คสช. เห็นว่า ในโครงการ 2 ล้านล้านบาท มียุทธศาสตร์ชัดเจน โดยเน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางเป็นหลักและใช้เงินกู้ ส่วนโครงการ 3 ล้านล้านบาท เป็นการขยายขอบข่ายการลงทุนออกไปจากเดิมมาก และเน้นภาพรวมระบบคมนาคมขนส่งของประเทศทั้งหมด แต่ยังคงเน้นระบบรางอยู่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ จากโครงการ 2 ล้านล้านบาท ส่วนแหล่งเงินลงทุนอยู่ระหว่างการพิจารณา
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลที่แล้วกับโครงการ 3 ล้านล้านบาทของ คสช. เห็นว่า ในโครงการ 2 ล้านล้านบาท มียุทธศาสตร์ชัดเจน โดยเน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางเป็นหลักและใช้เงินกู้ ส่วนโครงการ 3 ล้านล้านบาท เป็นการขยายขอบข่ายการลงทุนออกไปจากเดิมมาก และเน้นภาพรวมระบบคมนาคมขนส่งของประเทศทั้งหมด แต่ยังคงเน้นระบบรางอยู่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ จากโครงการ 2 ล้านล้านบาท ส่วนแหล่งเงินลงทุนอยู่ระหว่างการพิจารณา