นายแพทย์ พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวชี้แจงกรณีที่ 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ยื่นหนังสือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขอให้ปลดบอร์ดและผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม โดยกล่าวอ้างว่า คณะกรรมการบริหาร อภ.ชุดปัจจุบันทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ จนกำลังการผลิตยาลด มีความล่าช้าในการสร้างโรงงานผลิตยา mass production ที่รังสิต และโรงงานผลิตวัคซีนทึ่สระบุรี ว่า ทั้ง 2 ประเด็นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสะสมมานาน ก่อนที่บอร์ดชุดปัจจุบันจะเข้ามา ซึ่งเกือบ 1 ปีของการทำงานของผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม และบอร์ดชุดปัจจุบัน ก็พยายามแก้ไขกันมาตลอด
โดยในส่วนโรงงานทั้ง 2 แห่ง ติดปัญหาเรื่องงบประมาณที่มีการปรับใหม่ให้เหมาะสม ชะงักไปจากเหตุทางการเมือง จนไม่สามารถอนุมัติงบประมาณได้ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเสนอต่อ คสช. เพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินต่อไป
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เรื่องกำลังผลิตยาที่ลดลง เกิดจากโรงงานผลิตเดิมที่ใช้อยู่เป็นโรงงานเก่า อายุกว่า 30 ปี ซึ่งอุปกรณ์การผลิตหลายจุดเก่าจนไม่อาจซ่อมแซมจึงจำเป็นต้องปิดสายการผลิต เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพยาของ อภ. ว่าจะไม่มีการปนเปื้อน แต่ก็แก้ไขด้วยการหาตัวแทนผลิตยารายอื่นนำยามาทดแทนในราคาไม่แพง และจำนวนเพียงพอต่อความต้องการ หากโรงงานแห่งใหม่ที่สร้างทดแทนโรงงานเดิมเสร็จสมบูรณ์ จะสามารถคืนกำลังการผลิตได้ทั้งหมด
ส่วนกรณีปรับลดงบวิจัยจาก 45 ล้านบาท เหลือ 20 ล้านบาทนั้น ยืนยันว่า ไม่ใช่จะลดการพัฒนา ซึ่งการลดงบประมาณนี้ไม่กระทบการวิจัยพัฒนายา แต่เพราะ อภ.มีงบสะสมเพื่อใช้ในการวิจัยสะสมอยู่ 197 ล้านบาท มีใช้เพียงพอ
สำหรับกรณีการใช้เงินจากกองทุนดอกพิกุลอย่างไม่เหมาะสมนั้น นายแพทย์พิพัฒน์ กล่าวว่า ในฐานะที่ถูกกล่าวหาโดยตรง ตนเองยินดีให้ตรวจสอบ เพราะการใช้เงินจากกองทุนนี้เป็นไปเพื่อกิจกรรมขององค์กร ไม่ได้เบิกจ่ายเรื่องส่วนตัวและมีเอกสารยืนยันครบ อีกทั้งเงินจากกองทุนนี้ ไม่ใช่เงินงบประมาณ หรือเงินสวัสดิการ แต่เป็นเงินที่หามาได้จากการจัดการแข่งขันกอล์ฟ เพื่อเป็นทุนในการสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นต่อองค์กร แต่ไม่สามารถเบิกจากงบประมาณราชการได้ ทั้งนี้ จะไม่ฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาท เพราะต้องรีบแก้ปัญหาในองค์การที่ยังรออยู่ ซึ่งที่กำลังหนักใจ คือ วัตถุดิบโอเซลทามีเวียร์ ที่ใช้รักษาไข้หวัด ที่สั่งซื้อมานานหลายปี มูลค่ากว่า 800 ล้านบาท แต่ยังเหลืออีกเกือบ 500 ล้านบาท ซึ่งกำลังจะหมดอายุในปีหน้า หากใช้ไม่หมดจะต้องทำลายทิ้งและสูญเงินทั้งหมด
โดยในส่วนโรงงานทั้ง 2 แห่ง ติดปัญหาเรื่องงบประมาณที่มีการปรับใหม่ให้เหมาะสม ชะงักไปจากเหตุทางการเมือง จนไม่สามารถอนุมัติงบประมาณได้ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเสนอต่อ คสช. เพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินต่อไป
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เรื่องกำลังผลิตยาที่ลดลง เกิดจากโรงงานผลิตเดิมที่ใช้อยู่เป็นโรงงานเก่า อายุกว่า 30 ปี ซึ่งอุปกรณ์การผลิตหลายจุดเก่าจนไม่อาจซ่อมแซมจึงจำเป็นต้องปิดสายการผลิต เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพยาของ อภ. ว่าจะไม่มีการปนเปื้อน แต่ก็แก้ไขด้วยการหาตัวแทนผลิตยารายอื่นนำยามาทดแทนในราคาไม่แพง และจำนวนเพียงพอต่อความต้องการ หากโรงงานแห่งใหม่ที่สร้างทดแทนโรงงานเดิมเสร็จสมบูรณ์ จะสามารถคืนกำลังการผลิตได้ทั้งหมด
ส่วนกรณีปรับลดงบวิจัยจาก 45 ล้านบาท เหลือ 20 ล้านบาทนั้น ยืนยันว่า ไม่ใช่จะลดการพัฒนา ซึ่งการลดงบประมาณนี้ไม่กระทบการวิจัยพัฒนายา แต่เพราะ อภ.มีงบสะสมเพื่อใช้ในการวิจัยสะสมอยู่ 197 ล้านบาท มีใช้เพียงพอ
สำหรับกรณีการใช้เงินจากกองทุนดอกพิกุลอย่างไม่เหมาะสมนั้น นายแพทย์พิพัฒน์ กล่าวว่า ในฐานะที่ถูกกล่าวหาโดยตรง ตนเองยินดีให้ตรวจสอบ เพราะการใช้เงินจากกองทุนนี้เป็นไปเพื่อกิจกรรมขององค์กร ไม่ได้เบิกจ่ายเรื่องส่วนตัวและมีเอกสารยืนยันครบ อีกทั้งเงินจากกองทุนนี้ ไม่ใช่เงินงบประมาณ หรือเงินสวัสดิการ แต่เป็นเงินที่หามาได้จากการจัดการแข่งขันกอล์ฟ เพื่อเป็นทุนในการสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นต่อองค์กร แต่ไม่สามารถเบิกจากงบประมาณราชการได้ ทั้งนี้ จะไม่ฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาท เพราะต้องรีบแก้ปัญหาในองค์การที่ยังรออยู่ ซึ่งที่กำลังหนักใจ คือ วัตถุดิบโอเซลทามีเวียร์ ที่ใช้รักษาไข้หวัด ที่สั่งซื้อมานานหลายปี มูลค่ากว่า 800 ล้านบาท แต่ยังเหลืออีกเกือบ 500 ล้านบาท ซึ่งกำลังจะหมดอายุในปีหน้า หากใช้ไม่หมดจะต้องทำลายทิ้งและสูญเงินทั้งหมด