นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมและมอบนโยบายด้านการศึกษาผ่านรายการ “ผู้ว่าฯกทม. ออนไลน์” ประจำปีการศึกษา 2557 เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครูและนักเรียนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 438 โรงเรียน พร้อมเครือข่ายผู้ปกครอง ร่วมรับฟัง
กรุงเทพมหานครได้จัดรายการผู้ว่าฯ ออนไลน์ เพื่อมอบนโยบายการศึกษาและพบปะผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนมาแล้ว จำนวน 12 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13 ซึ่งโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถรับชมการออนไลน์ได้พร้อมกัน ผ่านทาง www.cattelecom.com/bkk-schoollive ในหัวข้อ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ คิด อ่าน เขียน สู่ความเป็นเลิศ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาคน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ กรุงเทพมหานครมุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีความสุข ซึ่งนโยบายการศึกษาสำคัญที่กรุงเทพมหานครจะเดินหน้าดำเนินการต่อไปมี 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ เป็นการพัฒนาโรงเรียนที่ทำให้ผู้เรียนมีความสุขโดยเน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามกรอบ Child Center Education (CCE) มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและแผนการเรียนรู้ คุณลักษณะของครู และศักยภาพของนักเรียน โดยปีงบประมาณ 2552 กทม. ร่วมกับมูลนิธิชิน โสภณพนิช คัดเลือกโรงเรียนสังกัดกทม. เข้าร่วมโครงการ 3 โรงเรียน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ในปี 2555 จึงได้ขยายโรงเรียนนำร่อง อีก 5 แห่ง และในปีงบประมาณ 2557 มีเป้าหมายพัฒนาอีก 46 โรงเรียน ใน 46 เขต
ด้านที่ 2 การยกระดับผลสัมฤทธิ์และคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน ให้เด็กเก่ง มีความรู้ คิดเป็น อ่านคล่อง และมีความพร้อมทุกด้านในการแข่งขัน โดยมีกิจกรรมพิเศษ เช่น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในปีการศึกษา 2556 นักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสอบ O-NET ได้เต็ม 100 คะแนน มากถึง 81 คน และในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สามารถสอบได้เต็ม 100 คะแนนมากถึง 72 คน
ด้านที่ 3 โครงการโรงเรียนเรียนร่วม 6 ศูนย์ เน้นเรื่องของการศึกษามาตรฐานสากลที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องของสิทธิและโอกาสของทุกคนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ให้กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ศึกษาแบบเรียนร่วมกับเด็กทั่วไป เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษามาตรฐานสากลภายใต้ระบบการเรียนรู้สู่อาเซียนมาตรฐานสากล โดยจัดตั้งศูนย์ การจัดการศึกษาเรียนร่วม 6 ศูนย์ ครอบคลุมทุกกลุ่มโซน และ
ด้านที่ 4 การขยายห้องเรียนสองภาษา พัฒนาทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาต่างประเทศได้อย่างมั่นใจ ในปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดการเรียนการสอนสองภาษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา หลักสูตรไทย-อังกฤษ และหลักสูตรไทย-จีน รวม 28 โรงเรียน และในปี 2558 จะขยายโรงเรียนสองภาษาหลักสูตร ไทย-อังกฤษ เพิ่มอีก 22 โรงเรียน หลักสูตร ไทย-จีน จะขยายเพิ่มอีก 4 โรงเรียน
กรุงเทพมหานครได้จัดรายการผู้ว่าฯ ออนไลน์ เพื่อมอบนโยบายการศึกษาและพบปะผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนมาแล้ว จำนวน 12 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13 ซึ่งโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถรับชมการออนไลน์ได้พร้อมกัน ผ่านทาง www.cattelecom.com/bkk-schoollive ในหัวข้อ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ คิด อ่าน เขียน สู่ความเป็นเลิศ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาคน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ กรุงเทพมหานครมุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีความสุข ซึ่งนโยบายการศึกษาสำคัญที่กรุงเทพมหานครจะเดินหน้าดำเนินการต่อไปมี 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ เป็นการพัฒนาโรงเรียนที่ทำให้ผู้เรียนมีความสุขโดยเน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามกรอบ Child Center Education (CCE) มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและแผนการเรียนรู้ คุณลักษณะของครู และศักยภาพของนักเรียน โดยปีงบประมาณ 2552 กทม. ร่วมกับมูลนิธิชิน โสภณพนิช คัดเลือกโรงเรียนสังกัดกทม. เข้าร่วมโครงการ 3 โรงเรียน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ในปี 2555 จึงได้ขยายโรงเรียนนำร่อง อีก 5 แห่ง และในปีงบประมาณ 2557 มีเป้าหมายพัฒนาอีก 46 โรงเรียน ใน 46 เขต
ด้านที่ 2 การยกระดับผลสัมฤทธิ์และคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน ให้เด็กเก่ง มีความรู้ คิดเป็น อ่านคล่อง และมีความพร้อมทุกด้านในการแข่งขัน โดยมีกิจกรรมพิเศษ เช่น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในปีการศึกษา 2556 นักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสอบ O-NET ได้เต็ม 100 คะแนน มากถึง 81 คน และในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สามารถสอบได้เต็ม 100 คะแนนมากถึง 72 คน
ด้านที่ 3 โครงการโรงเรียนเรียนร่วม 6 ศูนย์ เน้นเรื่องของการศึกษามาตรฐานสากลที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องของสิทธิและโอกาสของทุกคนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ให้กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ศึกษาแบบเรียนร่วมกับเด็กทั่วไป เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษามาตรฐานสากลภายใต้ระบบการเรียนรู้สู่อาเซียนมาตรฐานสากล โดยจัดตั้งศูนย์ การจัดการศึกษาเรียนร่วม 6 ศูนย์ ครอบคลุมทุกกลุ่มโซน และ
ด้านที่ 4 การขยายห้องเรียนสองภาษา พัฒนาทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาต่างประเทศได้อย่างมั่นใจ ในปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดการเรียนการสอนสองภาษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา หลักสูตรไทย-อังกฤษ และหลักสูตรไทย-จีน รวม 28 โรงเรียน และในปี 2558 จะขยายโรงเรียนสองภาษาหลักสูตร ไทย-อังกฤษ เพิ่มอีก 22 โรงเรียน หลักสูตร ไทย-จีน จะขยายเพิ่มอีก 4 โรงเรียน