องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International). องค์กรระหว่างประเทศระดับเอกชนที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เสนอ 5 มายาคติเกี่ยวกับการทรมาน เนื่องใน "วันต่อต้านการทรมานสากล"
เนื่องในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล แต่ในประเทศไทยมักคุ้นเคยกันนาม "วันต่อต้านการทรมานสากล" เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายให้ได้รับความเป็นธรรม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงขอเสนอ 5 มายาคติที่ต้องทำความเข้าใจและช่วยกันทำลาย เพื่อยับยั้งการทรมานที่ยังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะการทรมานมักถูกนำมาใช้กับผู้ต้องสงสัยในคดีก่อการร้ายและระหว่างสงคราม การทรมานเป็นวิธีการเดียวเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างรวดเร็ว การทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ล้าหลังและป่าเถื่อน ซึ่งรัฐมีช่องทางมากมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญา ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและที่อยู่ระหว่างการวางแผน โดยไม่ต้องละเมิดมนุษยธรรมของตน และที่ผ่านมามีการพิสูจน์แล้วว่าเทคนิคการตั้งคำถามอย่างมีมนุษยธรรม เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากพอในการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อบุคคล สังคม และในแง่กฎหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ นำกลไกคุ้มครองมาใช้เพื่อป้องกันและลงโทษกรณีที่เกิดการทรมาน เช่น การกำหนดให้การทรมานเป็นความผิดตามกฎหมายในประเทศ การเปิดโอกาสให้หน่วยงานอิสระสามารถตรวจสอบสถานควบคุมตัวได้ การบันทึกวีดิโอในระหว่างการสอบปากคำ การจัดให้มีการตรวจร่างกายอย่างเหมาะสม การให้ผู้ถูกควบคุมตัวเข้าถึงทนายความได้โดยทันที การให้มีการสอบสวนข้อกล่าวหาว่า มีการทรมานอย่างเป็นอิสระและอย่างมีประสิทธิผล การฟ้องคดีต่อผู้ต้องสงสัย และการให้ความเยียวยาอย่างเหมาะสมต่อผู้เสียหาย ซึ่งล้วนส่งผลให้มีการทรมานลดน้อยลงในประเทศต่าง ๆ ที่พยายามปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ อย่างจริงจัง
เนื่องในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล แต่ในประเทศไทยมักคุ้นเคยกันนาม "วันต่อต้านการทรมานสากล" เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายให้ได้รับความเป็นธรรม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงขอเสนอ 5 มายาคติที่ต้องทำความเข้าใจและช่วยกันทำลาย เพื่อยับยั้งการทรมานที่ยังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะการทรมานมักถูกนำมาใช้กับผู้ต้องสงสัยในคดีก่อการร้ายและระหว่างสงคราม การทรมานเป็นวิธีการเดียวเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างรวดเร็ว การทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ล้าหลังและป่าเถื่อน ซึ่งรัฐมีช่องทางมากมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญา ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและที่อยู่ระหว่างการวางแผน โดยไม่ต้องละเมิดมนุษยธรรมของตน และที่ผ่านมามีการพิสูจน์แล้วว่าเทคนิคการตั้งคำถามอย่างมีมนุษยธรรม เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากพอในการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อบุคคล สังคม และในแง่กฎหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ นำกลไกคุ้มครองมาใช้เพื่อป้องกันและลงโทษกรณีที่เกิดการทรมาน เช่น การกำหนดให้การทรมานเป็นความผิดตามกฎหมายในประเทศ การเปิดโอกาสให้หน่วยงานอิสระสามารถตรวจสอบสถานควบคุมตัวได้ การบันทึกวีดิโอในระหว่างการสอบปากคำ การจัดให้มีการตรวจร่างกายอย่างเหมาะสม การให้ผู้ถูกควบคุมตัวเข้าถึงทนายความได้โดยทันที การให้มีการสอบสวนข้อกล่าวหาว่า มีการทรมานอย่างเป็นอิสระและอย่างมีประสิทธิผล การฟ้องคดีต่อผู้ต้องสงสัย และการให้ความเยียวยาอย่างเหมาะสมต่อผู้เสียหาย ซึ่งล้วนส่งผลให้มีการทรมานลดน้อยลงในประเทศต่าง ๆ ที่พยายามปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ อย่างจริงจัง