นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ค ระบุถึงเทคนิคการทุจริตประมูลรถหรู พร้อมแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้
วันนี้มีข่าวว่า ในวันที่ 3 ก.ค. กรมศุลกากรจะประมูลขายรถหรู 400 คัน ซึ่งนำเข้าโดยไม่เสียภาษี ปรากฏว่ามียี่ห้อ supercar หลายสิบคัน แลมโบร์กินี เฟอร์รารี่ เบนท์ลี่ย์ ปอร์เช่ เป็นต้น
ในอดีตเคยมีขบวนการทุจริต นำเข้ารถหรูโดยไม่เสียภาษี ตั้งใจให้ถูกจับ แล้วผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปซื้อจากกรมศุลกากรในการประมูล ทำให้ได้รถไปขายในราคาถูก
สาเหตุที่บุคคลเหล่านี้สามารถประมูลซื้อรถจากกรมได้ในราคาถูกนั้น เนื่องจากเขาจะเอาคอมพิวเตอร์มันสมองของรถออกไปก่อนถูกจับ แล้วค่อยนำมาประกอบใหม่ภายหลังที่ซื้อไปได้
การที่รถไม่มีคอมพิวเตอร์ควบคุม ทำให้บุคคลทั่วไปอื่นๆ ไม่สนใจที่จะแข่งประมูลซื้อ เพราะถึงแม้จะซื้อได้ไป ก็แสวงหาคอมพิวเตอร์มาประกอบไม่ได้
ในอดีต มีอธิบดีกรมศุลกากรท่านหนึ่งเข้าใจกลเม็ดนี้ จึงได้กำหนดให้ทำลายรถที่ไม่ครบเครื่องดังกล่าวเท่านั้น ปรากฏว่ามีผู้ไปร้องเรียน สตง. ว่าการทำลายรถดังกล่าว ทำให้รัฐเสียประโยขน์ ควรจะขายประมูลตามปกติ
ผมไม่ทราบว่าขณะนี้ยังมีขบวนการทุจริตเหมือนเดิมหรือไม่
แต่หาข้อเท็จจริงได้ไม่ยากครับ เพราะถ้าหากปรากฏว่ารถหรูหราเหล่านี้ ขาดอุปกรณ์สำคัญ ก็น่าจะสงสัยได้ ว่าขบวนการดังกล่าวยังมีอยู่เช่นเดิม
การป้องปรามขบวนการทุจริตอย่างนี้ควรทำอย่างไร
ควรกำหนดเงื่อนไขสำหรับรถกรณีที่ขาดอุปกรณ์สำคัญ ดังนี้
1 ผู้ประมูลได้ ต้องส่งออกไปต่างประเทศเท่านั้น โดยกรมศุลกากรควรจะแจ้งโรงงานต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของยี่ห้อให้ทราบว่าจะมีการประมูลรถของเขา ซึ่งสภาพดี แต่ไม่สมประกอบ เพื่อเขาจะแจ้งให้ผู้แทนจำหน่ายในประเทศอื่นๆ เข้ามาร่วมประมูลแข่งขัน
หรือ
2 กรมศุลกากรควรกำหนดให้ผู้ซื้อต้องจ่ายอากรพิเศษ และอัตราอากรสำหรับรถเหล่านี้ควรกำหนดโดยไม่อ้างอิงราคาประมูล แต่ให้คำนวนจากราคาเต็มของรถที่มีอุปกรณ์สมบูรณ์แทน ใช้ factory price list เป็นฐานคำนวน
วันนี้มีข่าวว่า ในวันที่ 3 ก.ค. กรมศุลกากรจะประมูลขายรถหรู 400 คัน ซึ่งนำเข้าโดยไม่เสียภาษี ปรากฏว่ามียี่ห้อ supercar หลายสิบคัน แลมโบร์กินี เฟอร์รารี่ เบนท์ลี่ย์ ปอร์เช่ เป็นต้น
ในอดีตเคยมีขบวนการทุจริต นำเข้ารถหรูโดยไม่เสียภาษี ตั้งใจให้ถูกจับ แล้วผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปซื้อจากกรมศุลกากรในการประมูล ทำให้ได้รถไปขายในราคาถูก
สาเหตุที่บุคคลเหล่านี้สามารถประมูลซื้อรถจากกรมได้ในราคาถูกนั้น เนื่องจากเขาจะเอาคอมพิวเตอร์มันสมองของรถออกไปก่อนถูกจับ แล้วค่อยนำมาประกอบใหม่ภายหลังที่ซื้อไปได้
การที่รถไม่มีคอมพิวเตอร์ควบคุม ทำให้บุคคลทั่วไปอื่นๆ ไม่สนใจที่จะแข่งประมูลซื้อ เพราะถึงแม้จะซื้อได้ไป ก็แสวงหาคอมพิวเตอร์มาประกอบไม่ได้
ในอดีต มีอธิบดีกรมศุลกากรท่านหนึ่งเข้าใจกลเม็ดนี้ จึงได้กำหนดให้ทำลายรถที่ไม่ครบเครื่องดังกล่าวเท่านั้น ปรากฏว่ามีผู้ไปร้องเรียน สตง. ว่าการทำลายรถดังกล่าว ทำให้รัฐเสียประโยขน์ ควรจะขายประมูลตามปกติ
ผมไม่ทราบว่าขณะนี้ยังมีขบวนการทุจริตเหมือนเดิมหรือไม่
แต่หาข้อเท็จจริงได้ไม่ยากครับ เพราะถ้าหากปรากฏว่ารถหรูหราเหล่านี้ ขาดอุปกรณ์สำคัญ ก็น่าจะสงสัยได้ ว่าขบวนการดังกล่าวยังมีอยู่เช่นเดิม
การป้องปรามขบวนการทุจริตอย่างนี้ควรทำอย่างไร
ควรกำหนดเงื่อนไขสำหรับรถกรณีที่ขาดอุปกรณ์สำคัญ ดังนี้
1 ผู้ประมูลได้ ต้องส่งออกไปต่างประเทศเท่านั้น โดยกรมศุลกากรควรจะแจ้งโรงงานต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของยี่ห้อให้ทราบว่าจะมีการประมูลรถของเขา ซึ่งสภาพดี แต่ไม่สมประกอบ เพื่อเขาจะแจ้งให้ผู้แทนจำหน่ายในประเทศอื่นๆ เข้ามาร่วมประมูลแข่งขัน
หรือ
2 กรมศุลกากรควรกำหนดให้ผู้ซื้อต้องจ่ายอากรพิเศษ และอัตราอากรสำหรับรถเหล่านี้ควรกำหนดโดยไม่อ้างอิงราคาประมูล แต่ให้คำนวนจากราคาเต็มของรถที่มีอุปกรณ์สมบูรณ์แทน ใช้ factory price list เป็นฐานคำนวน