กองทัพอิรักต่อสู้ดุเดือดกับกองกำลังอาวุธของฝ่ายสุหนี่ที่นำโดยกลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่ง ISIL เพื่อรักษาการควบคุมโรงกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ ขณะที่นายกรัฐมนตรีนูรี อัล-มาลิกี รอคำตอบจากวอชิงตันว่า จะให้ความช่วยเหลือในการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มกบฏที่กำลังบุกหนักขยับเข้าใกล้เมืองหลวงแบกแดดหรือไม่ ในเวลาเดียวกันเจ้าหน้าที่อเมริกันระดับสูงเตือนผู้นำอิรักยุตินโยบายแบ่งพรรคแบ่งพวกที่ทำให้เกิดความร้าวฉานภายในประเทศ โดยนักการเมืองบางส่วนถึงขั้นเรียกร้องให้ “โอบามา” กดดัน “มาลิกี” ลาออก
นิคมกลั่นน้ำมันไบจี ที่อยู่ห่างจากกรุงแบกแดด 200 กิโลเมตร กลายเป็นสนามรบแห่งใหม่ระหว่างกองทัพของรัฐบาลอิรักที่นำโดยชาวชีอะห์ กับกลุ่มกบฏชาวสุหนี่ที่นำโดยกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและเลแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant หรือ ISIL โดยที่กลุ่มนี้ยังรู้จักกันในนาม Islamic State in Iraq and al-Sham ใช้อักษรย่อว่า ISIS)
ภาพข่าวจากสถานีอัล-อราบียา เมื่อวันพฤหัสบดี (19 มิ.ย.) เผยให้เห็นควันดำลอยคลุ้งจากโรงกลั่น และธงสีดำของ ISIL โบกสะบัดบนอาคารหลังหนึ่ง พนักงานที่ซ่อนอยู่ภายในนิคมบอกว่า ดูเหมือนนักรบสุหนี่ยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในนิคมเอาไว้ ขณะที่กองกำลังความมั่นคงยึดที่มั่นอยู่ในห้องควบคุมของโรงกลั่น ทว่า เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอิรักยืนกรานว่า โรงกลั่นน้ำมันดังกล่าวยังอยู่ในความควบคุมของกองทัพ และกองทัพได้ส่งเฮลิคอปเตอร์โจมตีผู้บุกรุกตลอดคืนวันพุธ (18)
ปัจจุบัน ISIL ซึ่งผู้นำกลุ่มแยกตัวมาจากขบวนการอัล-กออิดะห์ หลังจากกล่าวหาเครือข่ายนักรบญิฮัดระดับโลกแห่งนี้ระมัดระวังเกินไปนั้น สามารถเข้ายึดเมืองและดินแดนเป็นบริเวณกว้างขวางทั้งในอิรักและในซีเรีย ตามแผนการก่อตั้งรัฐอิสลามขึ้นมาโดยคร่อมดินแดนของสองประเทศ และทำให้ฝ่ายตะวันตกหวาดกลัวว่า จะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของลัทธิก่อการร้าย
รัฐบาลอิรักพยายามอย่างยิ่งที่จะยึดคืนพื้นที่แต่มีความคืบหน้าน้อยมาก ในวันพุธ (18) ฮอชยาร์ เซบารี รัฐมนตรีต่างประเทศอิรัก จึงได้ร้องขออย่างเป็นทางการ ให้สหรัฐฯ ช่วยโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ซึ่งเจ้าหน้าที่อเมริกันเผยว่า คำขอนี้ครอบคลุมการโจมตีและการสอดแนมด้วยอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) อย่างไรก็ดี ความที่อเมริกาถอนกำลังออกมาตั้งแต่ปี 2011 จึงอาจไม่มีข้อมูลข่าวกรองมากพอที่จะกำหนดเป้าหมายในการโจมตีได้
ทางวอชิงตันนั้นยังไม่ได้ให้คำตอบในเรื่องนี้ มิหนำซ้ำนักการเมืองบางคนยังเรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ยืนกรานให้มาลิกีลาออก แลกกับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เนื่องจากมองว่า ผู้นำอิรักที่เป็นชาวชีอะห์ผู้นี้ เป็นตัวการทำให้ประเทศแตกแยกจากการเลือกปฏิบัติและกดขี่ชุมชนชาวสุหนี่
ระหว่างหารือทางโทรศัพท์ รองประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ กำชับว่า มาลิกีต้องเป็นผู้นำของชาวอิรักทั้งหมด ไม่ใช่ดูแลเฉพาะชาวชีอะห์ และต้องส่งเสริมเสถียรภาพและความปรองดองในหมู่ประชาชน
นิคมกลั่นน้ำมันไบจี ที่อยู่ห่างจากกรุงแบกแดด 200 กิโลเมตร กลายเป็นสนามรบแห่งใหม่ระหว่างกองทัพของรัฐบาลอิรักที่นำโดยชาวชีอะห์ กับกลุ่มกบฏชาวสุหนี่ที่นำโดยกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและเลแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant หรือ ISIL โดยที่กลุ่มนี้ยังรู้จักกันในนาม Islamic State in Iraq and al-Sham ใช้อักษรย่อว่า ISIS)
ภาพข่าวจากสถานีอัล-อราบียา เมื่อวันพฤหัสบดี (19 มิ.ย.) เผยให้เห็นควันดำลอยคลุ้งจากโรงกลั่น และธงสีดำของ ISIL โบกสะบัดบนอาคารหลังหนึ่ง พนักงานที่ซ่อนอยู่ภายในนิคมบอกว่า ดูเหมือนนักรบสุหนี่ยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในนิคมเอาไว้ ขณะที่กองกำลังความมั่นคงยึดที่มั่นอยู่ในห้องควบคุมของโรงกลั่น ทว่า เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอิรักยืนกรานว่า โรงกลั่นน้ำมันดังกล่าวยังอยู่ในความควบคุมของกองทัพ และกองทัพได้ส่งเฮลิคอปเตอร์โจมตีผู้บุกรุกตลอดคืนวันพุธ (18)
ปัจจุบัน ISIL ซึ่งผู้นำกลุ่มแยกตัวมาจากขบวนการอัล-กออิดะห์ หลังจากกล่าวหาเครือข่ายนักรบญิฮัดระดับโลกแห่งนี้ระมัดระวังเกินไปนั้น สามารถเข้ายึดเมืองและดินแดนเป็นบริเวณกว้างขวางทั้งในอิรักและในซีเรีย ตามแผนการก่อตั้งรัฐอิสลามขึ้นมาโดยคร่อมดินแดนของสองประเทศ และทำให้ฝ่ายตะวันตกหวาดกลัวว่า จะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของลัทธิก่อการร้าย
รัฐบาลอิรักพยายามอย่างยิ่งที่จะยึดคืนพื้นที่แต่มีความคืบหน้าน้อยมาก ในวันพุธ (18) ฮอชยาร์ เซบารี รัฐมนตรีต่างประเทศอิรัก จึงได้ร้องขออย่างเป็นทางการ ให้สหรัฐฯ ช่วยโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ซึ่งเจ้าหน้าที่อเมริกันเผยว่า คำขอนี้ครอบคลุมการโจมตีและการสอดแนมด้วยอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) อย่างไรก็ดี ความที่อเมริกาถอนกำลังออกมาตั้งแต่ปี 2011 จึงอาจไม่มีข้อมูลข่าวกรองมากพอที่จะกำหนดเป้าหมายในการโจมตีได้
ทางวอชิงตันนั้นยังไม่ได้ให้คำตอบในเรื่องนี้ มิหนำซ้ำนักการเมืองบางคนยังเรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ยืนกรานให้มาลิกีลาออก แลกกับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เนื่องจากมองว่า ผู้นำอิรักที่เป็นชาวชีอะห์ผู้นี้ เป็นตัวการทำให้ประเทศแตกแยกจากการเลือกปฏิบัติและกดขี่ชุมชนชาวสุหนี่
ระหว่างหารือทางโทรศัพท์ รองประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ กำชับว่า มาลิกีต้องเป็นผู้นำของชาวอิรักทั้งหมด ไม่ใช่ดูแลเฉพาะชาวชีอะห์ และต้องส่งเสริมเสถียรภาพและความปรองดองในหมู่ประชาชน