นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ธปท.ได้ประเมินค่าเงินบาทตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่งค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ ในช่วงปลายเดือนพฤษาคม ที่ผ่านมา มีการซื้อธนบัตรดอลลาร์สหรัฐ ของบริษัทผู้ส่งออกที่มักเกิดขึ้นในช่วงท้ายเดือนของทุกเดือนถือเป็นปัจจัยชั่วคราว การปรับตัวของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น เสริมความมั่นใจให้กับนักลงทุนซึ่งถือเป็นปัจจัยหลัก และปัจจัยจากนอกประเทศ ที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี (ECB) ผ่อนคลายนโยบายการเงิน และธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ที่ยังดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปส่งผลให้เกิดเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาคมากขึ้น ขณะที่การไหลของเงินตั้งแต่ช่วงต้นปียังเป็นการไหลออกของเงินทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ซึ่งในเดือนมิถุนายนตลาดพันธบัตรมีความสมดุล แต่ตลาดหุ้นมีการไหลเข้าของเงินเล็กน้อย
นางรุ่ง กล่าวด้วยว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้ จะมีการเติบโตที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก เนื่องจากการฟื้นตัวของสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ภาครัฐและเอกชนมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ภาคครัวเรือนอาจขยายตัวเพียงเล็กน้อย โดยเชื่อว่าในไตรมาส 2 ของปีนี้จะมีการขยายตัวมากกว่าไตรมาสแรกแต่อาจขยายตัวน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งการปรับประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจของธปท.เป็นขยายตัวร้อยละ 1.5 เป็นการเติบโตที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก
นางรุ่ง กล่าวด้วยว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้ จะมีการเติบโตที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก เนื่องจากการฟื้นตัวของสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ภาครัฐและเอกชนมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ภาคครัวเรือนอาจขยายตัวเพียงเล็กน้อย โดยเชื่อว่าในไตรมาส 2 ของปีนี้จะมีการขยายตัวมากกว่าไตรมาสแรกแต่อาจขยายตัวน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งการปรับประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจของธปท.เป็นขยายตัวร้อยละ 1.5 เป็นการเติบโตที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก