นับแต่มีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on the Human Environment) ที่กรุงสตอกโฮล์ม ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน 2515 รัฐไทยก็ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามมา
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็คือ การตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2518 และต่อมาในปี พ.ศ.2535 ก็ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เข้มงวดมากขึ้น
ผลที่ตามมาก็คือ การที่รัฐไทยมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญก็คือ การบัญญัติในกฎหมายว่าการดำเนินโครงการขนาดใหญ่จะต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA
ต่อมารัฐไทยก็กำหนดให้โครงการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนก็ได้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้วยหรือที่เรียกว่า EHIA ก่อนการอนุมัติโครงการโดยการนำกฎหมายสิ่งแวดล้อมจากประเทศที่มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ก้าวหน้ามาปรับใช้ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา
การจัดทำรายงานดังกล่าวนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการ ขณะที่กระบวนการพิจารณารายงานจะต้องมีการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการมีคณะกรรมการผู้ชำนาญการคือ คชก. และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มาจากหลายฝ่าย
แม้ว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติ เราจะเห็นได้ว่ากระบวนการดังกล่าวกลับถูกบิดเบือนทั้งจากหน่วยงานของรัฐ นักการเมือง ทุนชาติ ทุนข้ามชาติ และทุนต่างชาติ นั่นก็คือ
ประการแรก เห็นได้ชัดเจนว่ารายงานทั้ง EIA และ EHIA จัดทำขึ้นเพื่อให้โครงการผ่านการพิจารณาอนุมัติตามกกระบวนการที่กฎหมายกำหนดมากกว่ามุ่งที่จะแสดงให้เห็นผลกระทบที่แท้จริง สถานะของรายงานเหล่านั้น จึงไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่เป็นเพียงตรายางให้กับโครงการ ดังจะเห็นได้ว่าแทบจะนับได้ว่ามีรายงานเพียงไม่กี่ฉบับที่ไม่ผ่านการพิจารณาทั้งจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ประการที่สอง เห็นได้ชัดว่าทั้งรายงาน EIA และ EHIA ได้ถูกทำให้เป็นธุรกิจที่ปรึกษาซึ่งสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับบรรดาบริษัทที่ปรึกษาและสถาบันการศึกษา และแม้ว่ามีการตรวจพบว่ารายงานที่บรรดาบริษัทที่ปรึกษาและสถาบันการศึกษามีการจัดทำรายงานเท็จ มีการประเมินผลกระทบต่ำกว่าความเป็นจริง แผนการแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่เป็นจริง แต่เหล่าธุรกิจที่ปรึกษาก็ไม่เคยถูกลงโทษ ซึ่งเราจะเห็นได้จากหลายกิจการที่มีการจัดทำ EIA หรือ EHIA แต่กลับสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เช่น กรณีเหมืองทองคำ จ.เลย และ จ.พิจิตร เป็นต้น
ที่สำคัญก็คือ รายงานเท็จเหล่านั้นส่วนหนึ่งยังจัดทำโดยนักวิชาการในสถาบันการศึกษา ซึ่งผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย/นักวิชาการ แต่ก็ไม่เคยมีการลงโทษจากสถาบันต้นสังกัด
ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผมจึงเรียกบรรดานักวิชาการที่ทำ EIA และ EHIA ว่าเป็นนักวิชาการเครื่องซักผ้าที่ฟอกโครงการให้สะอาดเท่านั้น
ประการที่สาม นับวันการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมกลับขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น จนอาจจะเรียกได้ว่าไม่มีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนอีกต่อไป ปัญหานี้ส่วนหนึ่งมาจากการแทรกแซงของนักการเมือง และอีกส่วนหนึ่งมาจากการอ่อนแอของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเองด้วยที่ไม่ได้เข้มงวดกับประเด็นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานในแต่ละด้านที่ขาดความโปร่งใสและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ยิ่งไปกว่านั้น บางกรณียังได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ผู้บริหารในสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมว่าแทนที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบรายงานแต่กลับปกป้องรายงานดังกรณีของท่าเทียบเรือเชฟรอน เป็นต้น
ประการที่สี่ ขณะที่กระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น นักการเมืองที่มาเป็นรัฐบาลเองก็มักจะเป็นผู้ละเมิดกฎหมายข้อนี้เสียเอง โดยคณะรัฐมนตรีมีการอนุมัติโครงการและงบประมาณก่อนที่จะมีการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังกรณีของเขื่อนแม่วงก์ เป็นต้น แม้ว่าตามกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีก็คือประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ความล้มเหลวของการจัดทำรายงาน EIA และ EHIA ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่สำคัญก็คือ ชาวบ้านและนักสิ่งแวดล้อมต้องลุกขึ้นมาประท้วงการจัดทำรายงาน EIA หรือ EHIA ซึ่งภาพเช่นนี้มันกลับตาลปัตรกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและเราไม่มีทางที่จะเห็นภาพเช่นนี้ในประเทศที่เราไปเอากฎหมายเขามาใช้ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือแคนาดา ทั้งนี้ก็เพราะการจัดทำรายงาน EIA และ EHIA ของไทยถูกทำให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐและทุนในการแย่งชิงทรัพยากรไปจากประชาชนนั่นเอง
ผมเองไม่ได้เป็นนัก technocentric ที่เชื่อว่ากฎหมายแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ แต่ผมต้องการชี้ให้เห็นว่าระบบดังกล่าวนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังนำไปสู่การเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐหรือทุนที่เป็นเจ้าของโครงการกับชาวบ้านและประชาชนมากยิ่งขึ้น
ผมเขียนบันทึกนี้ขึ้นมาเพื่อชวนให้พวกเราได้ขบคิดและช่วยกันหาคำตอบอย่างเป็นระบบว่าแล้วเราจะไปจากวงจรอุบาทก์นี้ได้อย่างไร?
5 มิถุนายน 2557 วันสิ่งแวดล้อมโลก
มหาสารคาม
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็คือ การตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2518 และต่อมาในปี พ.ศ.2535 ก็ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เข้มงวดมากขึ้น
ผลที่ตามมาก็คือ การที่รัฐไทยมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญก็คือ การบัญญัติในกฎหมายว่าการดำเนินโครงการขนาดใหญ่จะต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA
ต่อมารัฐไทยก็กำหนดให้โครงการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนก็ได้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้วยหรือที่เรียกว่า EHIA ก่อนการอนุมัติโครงการโดยการนำกฎหมายสิ่งแวดล้อมจากประเทศที่มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ก้าวหน้ามาปรับใช้ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา
การจัดทำรายงานดังกล่าวนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการ ขณะที่กระบวนการพิจารณารายงานจะต้องมีการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการมีคณะกรรมการผู้ชำนาญการคือ คชก. และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มาจากหลายฝ่าย
แม้ว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติ เราจะเห็นได้ว่ากระบวนการดังกล่าวกลับถูกบิดเบือนทั้งจากหน่วยงานของรัฐ นักการเมือง ทุนชาติ ทุนข้ามชาติ และทุนต่างชาติ นั่นก็คือ
ประการแรก เห็นได้ชัดเจนว่ารายงานทั้ง EIA และ EHIA จัดทำขึ้นเพื่อให้โครงการผ่านการพิจารณาอนุมัติตามกกระบวนการที่กฎหมายกำหนดมากกว่ามุ่งที่จะแสดงให้เห็นผลกระทบที่แท้จริง สถานะของรายงานเหล่านั้น จึงไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่เป็นเพียงตรายางให้กับโครงการ ดังจะเห็นได้ว่าแทบจะนับได้ว่ามีรายงานเพียงไม่กี่ฉบับที่ไม่ผ่านการพิจารณาทั้งจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ประการที่สอง เห็นได้ชัดว่าทั้งรายงาน EIA และ EHIA ได้ถูกทำให้เป็นธุรกิจที่ปรึกษาซึ่งสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับบรรดาบริษัทที่ปรึกษาและสถาบันการศึกษา และแม้ว่ามีการตรวจพบว่ารายงานที่บรรดาบริษัทที่ปรึกษาและสถาบันการศึกษามีการจัดทำรายงานเท็จ มีการประเมินผลกระทบต่ำกว่าความเป็นจริง แผนการแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่เป็นจริง แต่เหล่าธุรกิจที่ปรึกษาก็ไม่เคยถูกลงโทษ ซึ่งเราจะเห็นได้จากหลายกิจการที่มีการจัดทำ EIA หรือ EHIA แต่กลับสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เช่น กรณีเหมืองทองคำ จ.เลย และ จ.พิจิตร เป็นต้น
ที่สำคัญก็คือ รายงานเท็จเหล่านั้นส่วนหนึ่งยังจัดทำโดยนักวิชาการในสถาบันการศึกษา ซึ่งผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย/นักวิชาการ แต่ก็ไม่เคยมีการลงโทษจากสถาบันต้นสังกัด
ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผมจึงเรียกบรรดานักวิชาการที่ทำ EIA และ EHIA ว่าเป็นนักวิชาการเครื่องซักผ้าที่ฟอกโครงการให้สะอาดเท่านั้น
ประการที่สาม นับวันการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมกลับขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น จนอาจจะเรียกได้ว่าไม่มีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนอีกต่อไป ปัญหานี้ส่วนหนึ่งมาจากการแทรกแซงของนักการเมือง และอีกส่วนหนึ่งมาจากการอ่อนแอของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเองด้วยที่ไม่ได้เข้มงวดกับประเด็นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานในแต่ละด้านที่ขาดความโปร่งใสและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ยิ่งไปกว่านั้น บางกรณียังได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ผู้บริหารในสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมว่าแทนที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบรายงานแต่กลับปกป้องรายงานดังกรณีของท่าเทียบเรือเชฟรอน เป็นต้น
ประการที่สี่ ขณะที่กระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น นักการเมืองที่มาเป็นรัฐบาลเองก็มักจะเป็นผู้ละเมิดกฎหมายข้อนี้เสียเอง โดยคณะรัฐมนตรีมีการอนุมัติโครงการและงบประมาณก่อนที่จะมีการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังกรณีของเขื่อนแม่วงก์ เป็นต้น แม้ว่าตามกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีก็คือประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ความล้มเหลวของการจัดทำรายงาน EIA และ EHIA ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่สำคัญก็คือ ชาวบ้านและนักสิ่งแวดล้อมต้องลุกขึ้นมาประท้วงการจัดทำรายงาน EIA หรือ EHIA ซึ่งภาพเช่นนี้มันกลับตาลปัตรกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและเราไม่มีทางที่จะเห็นภาพเช่นนี้ในประเทศที่เราไปเอากฎหมายเขามาใช้ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือแคนาดา ทั้งนี้ก็เพราะการจัดทำรายงาน EIA และ EHIA ของไทยถูกทำให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐและทุนในการแย่งชิงทรัพยากรไปจากประชาชนนั่นเอง
ผมเองไม่ได้เป็นนัก technocentric ที่เชื่อว่ากฎหมายแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ แต่ผมต้องการชี้ให้เห็นว่าระบบดังกล่าวนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังนำไปสู่การเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐหรือทุนที่เป็นเจ้าของโครงการกับชาวบ้านและประชาชนมากยิ่งขึ้น
ผมเขียนบันทึกนี้ขึ้นมาเพื่อชวนให้พวกเราได้ขบคิดและช่วยกันหาคำตอบอย่างเป็นระบบว่าแล้วเราจะไปจากวงจรอุบาทก์นี้ได้อย่างไร?
5 มิถุนายน 2557 วันสิ่งแวดล้อมโลก
มหาสารคาม