ตำรวจไนจีเรีย เมื่อวันจันทร์(2) สั่งห้ามชุมนุมในกรุงอาบูจา โดยเด็ดขาด ด้วยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัย ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการประท้วงระลอกแล้วระลอกเล่าประณามความพยายามช่วยเหลือนักเรียนหญิงกว่า 200 คนที่ถูกพวกนักรบโบโก ฮารัม ลักพาตัวไปนานเดือนครึ่งของรัฐบาลที่เป็นไปอย่างล่าช้า
อัลติน ดาเนียล โฆษกตำรวจส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือถึงสำนักข่าวเอเอฟพี ยืนยันถึงคำสั่งแบนดังกล่าว ด้วยอ้างว่าการตัดสินใจนี้มีขึ้นสืบเนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
โฆษกรายนี้ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าอะไรคือต้นตอแห่งความกังวลที่แท้จริง แต่แกนนำผู้ชุมนุมตั้งคำถามถึงความชอบธรรมตามกฎหมายของคำสั่งห้ามดังกล่าวและเชื่อว่ามันมีแรงจูงใจทางการเมือง "คณะกรรมาธิการตำรวจไม่มีเหตุผลและไม่มีอำนาจห้ามการชุมนุมอย่างสันติของกลุ่มบุคคลในเมืองนี้ ไม่มีสิทธิ์ใดๆ" โอบี เอเซคเวซิลี ระบุในทวิตเตอร์
การชุมนุมเอะอะโวยววายบนท้องถนนกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นเป็นปกติในกรุงอาบูจา เพื่อรณรงค์ให้เรื่องราวที่เด็กหญิงกว่า 200 คนถูกกลุ่มโบโก ฮารัม ลักพาตัวยังอยู่ในความสนใจของประชาชนต่อไป เช่นเดียวกับส่งแรงกดดันไปยังรัฐบาลไนจีเรีย
เหตุลักพาตัวเด็กนักเรียนหญิงจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองชีบ็อค รัฐเบอร์โน ของไนจีเรีย จุดกระแสรณรงค์ออกบนโลกสังคมออนไลน์ "บริงแบ็ค เอาเออร์ เกิร์ลส" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลก ไล่ตั้งแต่ประชาชนคนธรรมดา ไปจนถึงนางมิเชล โอบามา สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐฯและสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส
อัลติน ดาเนียล โฆษกตำรวจส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือถึงสำนักข่าวเอเอฟพี ยืนยันถึงคำสั่งแบนดังกล่าว ด้วยอ้างว่าการตัดสินใจนี้มีขึ้นสืบเนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
โฆษกรายนี้ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าอะไรคือต้นตอแห่งความกังวลที่แท้จริง แต่แกนนำผู้ชุมนุมตั้งคำถามถึงความชอบธรรมตามกฎหมายของคำสั่งห้ามดังกล่าวและเชื่อว่ามันมีแรงจูงใจทางการเมือง "คณะกรรมาธิการตำรวจไม่มีเหตุผลและไม่มีอำนาจห้ามการชุมนุมอย่างสันติของกลุ่มบุคคลในเมืองนี้ ไม่มีสิทธิ์ใดๆ" โอบี เอเซคเวซิลี ระบุในทวิตเตอร์
การชุมนุมเอะอะโวยววายบนท้องถนนกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นเป็นปกติในกรุงอาบูจา เพื่อรณรงค์ให้เรื่องราวที่เด็กหญิงกว่า 200 คนถูกกลุ่มโบโก ฮารัม ลักพาตัวยังอยู่ในความสนใจของประชาชนต่อไป เช่นเดียวกับส่งแรงกดดันไปยังรัฐบาลไนจีเรีย
เหตุลักพาตัวเด็กนักเรียนหญิงจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองชีบ็อค รัฐเบอร์โน ของไนจีเรีย จุดกระแสรณรงค์ออกบนโลกสังคมออนไลน์ "บริงแบ็ค เอาเออร์ เกิร์ลส" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลก ไล่ตั้งแต่ประชาชนคนธรรมดา ไปจนถึงนางมิเชล โอบามา สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐฯและสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส