หน่วยงานควบคุมกฏระเบียบด้านความปลอดภัยรถยนต์ของสหรัฐฯ กำหนดโทษปรับเจนเนอรัล มอเตอร์ส ด้วยตัวเลขสูงสุุดเป็นประวัติการณ์ 35 ล้านดอลลาร์(1,130 ล้านบาท) เมื่อวันศุกร์(16) จากความเฉื่อยชาในการรายงานข้อบกพร่องเกี่ยวกับสวิตช์ติดเครื่อง ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้งและมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 ราย
สำนักงานบริหารความปลอดภัยการสัญจรบนทางหลวงแห่งชาติของสหรัฐฯ (NHTSA)สั่งปรับจีเอ็ม ด้วยวงเงินมากสุดเท่าที่เคยมีมาต่อกรณีเรียกคืนรถยนต์ล่าช้า หลังจากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอเมริกาแห่งนี้ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยกว่า 1 ทศวรรษ ถึงยอมรับถึงปัญหาดังกล่าวและเพิ่งเรียกคืนรถยนต์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
"ประเด็นความปลอดภัยคือเป้าหมายสูงสุดของเรา และถ้อยแถลงในวันนี้ เป็นการแจ้งเตือนผู้ผลิตทั้งหมดไปในตัวว่า พวกเขาจะต้องรับผิดชอบหากไม่ยอมรายงานปัญหาอย่างทันทีและเพิกเฉยต่อการจัดการข้อบกพร่องต่างๆที่สัมพันธ์กับความปลอดภัย" แอนโทนี ฟ็อกก์ เลขาธิการสำนักงานบริหารความปลอดภัยการสัญจรบนทางหลวงแห่งชาติกล่าว
NHTSA บอกว่าคำสั่งปรับเงินนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พบใน เชฟโรเลต โคบอลต์ ซึ่งสวิทช์สตาร์ทอาจเคลื่อนจากตำแหน่ง ทำเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้าหยุดทำงานอย่างกะทันหัน อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าการปรับเงินนี้ครอบคลุมถึงรุ่นอื่นๆของจีเอ็มด้วยหรือไม่ ที่ต่างก็ถูกเรียกคืนจากปัญหาเดียวกันในปีนี้
สำนักงานบริหารความปลอดภัยการสัญจรบนทางหลวงแห่งชาติของสหรัฐฯ (NHTSA)สั่งปรับจีเอ็ม ด้วยวงเงินมากสุดเท่าที่เคยมีมาต่อกรณีเรียกคืนรถยนต์ล่าช้า หลังจากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอเมริกาแห่งนี้ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยกว่า 1 ทศวรรษ ถึงยอมรับถึงปัญหาดังกล่าวและเพิ่งเรียกคืนรถยนต์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
"ประเด็นความปลอดภัยคือเป้าหมายสูงสุดของเรา และถ้อยแถลงในวันนี้ เป็นการแจ้งเตือนผู้ผลิตทั้งหมดไปในตัวว่า พวกเขาจะต้องรับผิดชอบหากไม่ยอมรายงานปัญหาอย่างทันทีและเพิกเฉยต่อการจัดการข้อบกพร่องต่างๆที่สัมพันธ์กับความปลอดภัย" แอนโทนี ฟ็อกก์ เลขาธิการสำนักงานบริหารความปลอดภัยการสัญจรบนทางหลวงแห่งชาติกล่าว
NHTSA บอกว่าคำสั่งปรับเงินนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พบใน เชฟโรเลต โคบอลต์ ซึ่งสวิทช์สตาร์ทอาจเคลื่อนจากตำแหน่ง ทำเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้าหยุดทำงานอย่างกะทันหัน อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าการปรับเงินนี้ครอบคลุมถึงรุ่นอื่นๆของจีเอ็มด้วยหรือไม่ ที่ต่างก็ถูกเรียกคืนจากปัญหาเดียวกันในปีนี้