นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้นัดหารือกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ ถึงแนวทางในการใช้กลไกปกติของแบงก์รัฐมาในการดูแลเศรษฐกิจและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาทิ การปล่อยกู้ การค้ำประกันเงินกู้ โดยในช่วงรัฐบาลรักษาการนี้คงไม่สามารถออกโครงการพิเศษที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณอุดหนุนหรือชดเชยดอกเบี้ยได้ เนื่องจากผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยทำได้เพียงการใช้กลไกปกติของแต่ละธนาคารของรัฐเข้ามารองรับเท่านั้น โดยยืนยันว่าธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสามารถดำเนินการได้เพราะมีเงินฝากรวมกันถึง 3.6 ล้านล้านบาท
นายรังสรรค์ กล่าวอีกว่า ในช่วงรัฐบาลรักษาการคงไม่สามารถใช้มาตรการภาษีในการดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ เนื่องจากจะผูกพันต่อรัฐบาลชุดใหม่ โดยได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าจะมีมาตรการอะไรที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงดูแลเศรษฐกิจในช่วงนี้ได้บ้าง คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาไม่นานน่าจะได้สรุป และจะเร่งประกาศใช้ทันที
ก่อนหน้านี้ ได้สั่งการไปยังผู้บริหารแบงก์รัฐแล้วว่าให้เร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อดูแลเศรษฐกิจและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในขณะนี้ทำให้แบงก์พาณิชย์เข้มงวดปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากกลัวปัญหาหนี้เสีย ซึ่งยิ่งทำให้เอสเอ็มอีลำบาก ดังนั้น ในฐานะที่คลังดูแลแบงก์รัฐ 8 แห่ง ต้องใช้เครื่องมือที่ดูแลไปก่อนจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่
ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ 23 แห่ง ร่วมลงนามความร่วมมือสนับสนุนโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการตามแผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. จะเป็นเครื่องมือปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีในช่วงเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอ และ พลาสติก
นายวิฑูรย์ มะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การลงนามความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์นี้ เพื่อบูรณาการการทำงานของหน่วยงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถให้กิจการอยู่รอด
นายรังสรรค์ กล่าวอีกว่า ในช่วงรัฐบาลรักษาการคงไม่สามารถใช้มาตรการภาษีในการดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ เนื่องจากจะผูกพันต่อรัฐบาลชุดใหม่ โดยได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าจะมีมาตรการอะไรที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงดูแลเศรษฐกิจในช่วงนี้ได้บ้าง คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาไม่นานน่าจะได้สรุป และจะเร่งประกาศใช้ทันที
ก่อนหน้านี้ ได้สั่งการไปยังผู้บริหารแบงก์รัฐแล้วว่าให้เร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อดูแลเศรษฐกิจและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในขณะนี้ทำให้แบงก์พาณิชย์เข้มงวดปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากกลัวปัญหาหนี้เสีย ซึ่งยิ่งทำให้เอสเอ็มอีลำบาก ดังนั้น ในฐานะที่คลังดูแลแบงก์รัฐ 8 แห่ง ต้องใช้เครื่องมือที่ดูแลไปก่อนจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่
ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ 23 แห่ง ร่วมลงนามความร่วมมือสนับสนุนโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการตามแผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. จะเป็นเครื่องมือปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีในช่วงเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอ และ พลาสติก
นายวิฑูรย์ มะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การลงนามความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์นี้ เพื่อบูรณาการการทำงานของหน่วยงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถให้กิจการอยู่รอด