น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 6 เดือน ส่งผลให้นักท่องเที่ยว นักลงทุน และภาคเอกชนทุกภาคส่วนขาดความเชื่อมั่นนำไปสู่ความถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลว่าจะส่งผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว วันนี้ (21 เม.ย.) จึงได้เรียกประชุมหน่วยงานและคณะทำงานกำกับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อรับฟังการรายงานสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและการเงิน และติดตามการบริหารจัดการงบประมาณของปีงบประมาณ 2557 และ 2558
ทั้งนี้ หลังจากรับฟังการรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยิ่งมีความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยมากขึ้น เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ส่วนใหญ่ยังปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความเชื่อมั่นที่ลดลงเป็นผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัว โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ได้ปรับลดการประมาณการจีดีพีในปีนี้จากร้อยละ 4–5 เป็นร้อยละ 3–4 ในขณะเดียวกันทางสถาบันการเงินภาคเอกชนได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโตได้เพียงร้อยละ 1–2 เท่านั้น
สำหรับการส่งออกยังมีการฟื้นตัวช้า โดยแรงขับเคลื่อนอาจมีไม่เพียงพอที่จะชดเชยการหดตัวของอุปสงค์ในประเทศ และส่วนภาคการท่องเที่ยวซึ่งเคยขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องขณะนี้มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านสนามบินในกรุงเทพมหานครที่มีการชุมนุม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านท่าอากาศยานในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2557 และ 2556 เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลดลงร้อยละ 20 และท่าอากาศยานดอนเมืองลดลงร้อยละ 14
นอกจากนี้ เหตุการณ์ทางการเมืองที่ทำให้มีความล่าช้าในการจัดการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลจะส่งผลต่อการจัดทำงบประมาณปี 2558 สำนักงบประมาณรายงานว่า กระบวนการจัดทำงบประมาณได้ล่าช้าไปแล้วประมาณ 6 เดือน แม้ว่าสำนักงบประมาณแจ้งว่าในปี 2558 จะสามารถจัดสรรงบประมาณไปพลางๆ ก่อน เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถทำงานได้ แต่ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการลงทุนใหม่หรือมีผลผูกพันกับรัฐบาลใหม่ได้ อาจทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 ต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้ ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2557 ได้สั่งการให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการเบิกจ่ายเท่าที่สามารถดำเนินการได้ในฐานะรัฐบาลรักษาการ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ พร้อมทั้งกระทรวงการคลังได้รายงานผลการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม สาเหตุหลักมาจากการบริโภคที่ลดลง
ทั้งนี้ ได้เสนอแนะว่า หน่วยงานด้านเศรษฐกิจจะต้องติดตามสถานการณ์เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหา เช่น ในส่วนของกระทรวงการคลังได้สั่งการให้วิเคราะห์ข้อมูลการจัดเก็บรายได้ เพื่อหาสาเหตุของการจัดเก็บรายได้ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และในส่วนของการลงทุนได้สั่งการให้บีโอไอเร่งส่งเสริมการลงทุนในสาขาที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และต่อจากนี้จะเร่งติดตามและบูรณาการการทำงานของแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญต่อไป
นอกจากนี้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันสร้างความมั่นคงทางการเมืองให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน หลังจากนั้นเชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแน่นอน
ทั้งนี้ หลังจากรับฟังการรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยิ่งมีความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยมากขึ้น เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ส่วนใหญ่ยังปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความเชื่อมั่นที่ลดลงเป็นผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัว โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ได้ปรับลดการประมาณการจีดีพีในปีนี้จากร้อยละ 4–5 เป็นร้อยละ 3–4 ในขณะเดียวกันทางสถาบันการเงินภาคเอกชนได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโตได้เพียงร้อยละ 1–2 เท่านั้น
สำหรับการส่งออกยังมีการฟื้นตัวช้า โดยแรงขับเคลื่อนอาจมีไม่เพียงพอที่จะชดเชยการหดตัวของอุปสงค์ในประเทศ และส่วนภาคการท่องเที่ยวซึ่งเคยขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องขณะนี้มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านสนามบินในกรุงเทพมหานครที่มีการชุมนุม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านท่าอากาศยานในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2557 และ 2556 เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลดลงร้อยละ 20 และท่าอากาศยานดอนเมืองลดลงร้อยละ 14
นอกจากนี้ เหตุการณ์ทางการเมืองที่ทำให้มีความล่าช้าในการจัดการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลจะส่งผลต่อการจัดทำงบประมาณปี 2558 สำนักงบประมาณรายงานว่า กระบวนการจัดทำงบประมาณได้ล่าช้าไปแล้วประมาณ 6 เดือน แม้ว่าสำนักงบประมาณแจ้งว่าในปี 2558 จะสามารถจัดสรรงบประมาณไปพลางๆ ก่อน เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถทำงานได้ แต่ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการลงทุนใหม่หรือมีผลผูกพันกับรัฐบาลใหม่ได้ อาจทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 ต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้ ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2557 ได้สั่งการให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการเบิกจ่ายเท่าที่สามารถดำเนินการได้ในฐานะรัฐบาลรักษาการ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ พร้อมทั้งกระทรวงการคลังได้รายงานผลการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม สาเหตุหลักมาจากการบริโภคที่ลดลง
ทั้งนี้ ได้เสนอแนะว่า หน่วยงานด้านเศรษฐกิจจะต้องติดตามสถานการณ์เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหา เช่น ในส่วนของกระทรวงการคลังได้สั่งการให้วิเคราะห์ข้อมูลการจัดเก็บรายได้ เพื่อหาสาเหตุของการจัดเก็บรายได้ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และในส่วนของการลงทุนได้สั่งการให้บีโอไอเร่งส่งเสริมการลงทุนในสาขาที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และต่อจากนี้จะเร่งติดตามและบูรณาการการทำงานของแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญต่อไป
นอกจากนี้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันสร้างความมั่นคงทางการเมืองให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน หลังจากนั้นเชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแน่นอน