ยูเครนเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ออกหมายจับ วิกตอร์ ยานูโควิช ผู้ถูกโค่นลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี ในข้อหา “สังหารหมู่ประชาชน” โดยสถานที่ล่าสุดที่มีผู้พบเห็นตัวผู้นำที่ฝักใฝ่มอสโกผู้นี้ คือคาบสมุทรไครเมีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สนับสนุนรัสเซียและมีการชุมนุมต่อต้านการยึดอำนาจในเมืองหลวง อีกทั้งเป็นจุดที่น่าเป็นห่วงว่าจะมีการแบ่งแยกดินแดน นอกจากนั้นผู้นำหมีขาวยังตั้งคำถามว่าคณะผู้นำใหม่ของยูเครนนั้นได้อำนาจมาด้วยความไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ตามทางด้านสหภาพยุโรป(อียู) และสหรัฐฯ ให้การหนุนหลังกลุ่มกุมอำนาจใหม่อย่างแข็งขัน โดยสัญญาพิจารณาให้ความช่วยเหลือ แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจะถึงระดับ 35,000 ล้านดอลลาร์ตามที่รักษาการรัฐมนตรีคลังของกรุงเคียฟร้องขอหรือไม่
เสียงเรียกร้องดังกึกก้องขึ้นทุกขณะให้ดำเนินคดีกับยานูโควิช ผู้ถูกกล่าวหาว่ารวบอำนาจทำตัวเป็นเผด็จการ, กระจายความมั่งคั่งให้พวกพ้อ,ง และปราบปรามจนทำให้ผู้ประท้วงจำนวนมากเสียชีวิตในช่วง 3 เดือนล่าสุด โดยเฉพาะในสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการซุ่มยิงผู้ประท้วงจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 คนในกรุงเคียฟ ถือเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ที่ยูเครนแยกตัวเป็นเอกราชภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
เมื่อ วันจันทร์ อาร์เซน อาวาคอฟ รักษาการฐมนตรีมหาดไทย โพสต์บนเฟซบุ๊กว่า ได้เริ่มการสอบสวนกรณี “การสังหารหมู่ประชาชน” และออกหมายจับยานูโควิช รวมทั้งเจ้าหน้าที่อีกหลายคนแล้ว
อาวาคอฟเสริมว่า ในวันเสาร์ (22) ยานูโควิชพยายามหนีออกนอกประเทศทางเครื่องบินจากเมืองโดเนตสก์ ทางตะวันออก ซึ่งเป็นฐานอำนาจทางการเมืองและพื้นที่ที่สนับสนุนรัสเซีย แต่ติดขัดที่เอกสารไม่ครบจึงไม่ได้รับ อนุญาตให้ใช้สนามบิน จากนั้น ยานูโควิชพร้อมทีมรักษาความปลอดภัยติดอาวุธได้เดินทางต่อด้วยขบวนรถยนต์ 3 คันและไปถึงแหลมไครเมียในวันอาทิตย์ (23) ก่อนขึ้นรถหายไปและยุติการติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบ
ยูเครนนั้นเผชิญทั้งวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ กระทั่งมีความเสี่ยงที่จะมีการแบ่งแยกดินแดนระหว่างพื้นที่ที่สนับสนุนตะวันตกกับพื้นที่ที่สนับสนุนรัสเซีย ขณะเดียวกันก็กำลังมีความเสี่ยงผิดชำระหนี้ด้วย
เสียงเรียกร้องดังกึกก้องขึ้นทุกขณะให้ดำเนินคดีกับยานูโควิช ผู้ถูกกล่าวหาว่ารวบอำนาจทำตัวเป็นเผด็จการ, กระจายความมั่งคั่งให้พวกพ้อ,ง และปราบปรามจนทำให้ผู้ประท้วงจำนวนมากเสียชีวิตในช่วง 3 เดือนล่าสุด โดยเฉพาะในสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการซุ่มยิงผู้ประท้วงจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 คนในกรุงเคียฟ ถือเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ที่ยูเครนแยกตัวเป็นเอกราชภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
เมื่อ วันจันทร์ อาร์เซน อาวาคอฟ รักษาการฐมนตรีมหาดไทย โพสต์บนเฟซบุ๊กว่า ได้เริ่มการสอบสวนกรณี “การสังหารหมู่ประชาชน” และออกหมายจับยานูโควิช รวมทั้งเจ้าหน้าที่อีกหลายคนแล้ว
อาวาคอฟเสริมว่า ในวันเสาร์ (22) ยานูโควิชพยายามหนีออกนอกประเทศทางเครื่องบินจากเมืองโดเนตสก์ ทางตะวันออก ซึ่งเป็นฐานอำนาจทางการเมืองและพื้นที่ที่สนับสนุนรัสเซีย แต่ติดขัดที่เอกสารไม่ครบจึงไม่ได้รับ อนุญาตให้ใช้สนามบิน จากนั้น ยานูโควิชพร้อมทีมรักษาความปลอดภัยติดอาวุธได้เดินทางต่อด้วยขบวนรถยนต์ 3 คันและไปถึงแหลมไครเมียในวันอาทิตย์ (23) ก่อนขึ้นรถหายไปและยุติการติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบ
ยูเครนนั้นเผชิญทั้งวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ กระทั่งมีความเสี่ยงที่จะมีการแบ่งแยกดินแดนระหว่างพื้นที่ที่สนับสนุนตะวันตกกับพื้นที่ที่สนับสนุนรัสเซีย ขณะเดียวกันก็กำลังมีความเสี่ยงผิดชำระหนี้ด้วย