คณะกรรมการที่รัฐบาลญี่ปุ่นแต่งตั้ง เล็งเรียกร้องโตเกียวอนุญาตให้กองทัพขยายปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือพันธมิตรที่ถูกโจมตี ซึ่งถือเป็นการพลิกยุทธศาสตร์กลาโหมภายใต้รัฐธรรมนูญสันติภาพครั้งสำคัญ ทั้งนี้ โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับภัยคุกคามปัจจุบันจากอิทธิพลทางทหารของจีน ขณะที่อิทธิพลของอเมริกาในเอเชียกลับแผ่วลง
วันอังคารที่ผ่านมา (4 ก.พ.) คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 14 คน นำโดยชุนจิ ยานาอิ อดีตเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ได้หารือเกี่ยวกับวิธีการที่ญี่ปุ่นจะสามารถปรับปรุงศักยภาพของกองทัพ และเผยว่า จะเสนอร่างข้อเสนอแนะก่อนฉบับสุดท้ายในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ ส่วนรายงานฉบับสุดท้ายคาดว่า จะแล้วเสร็จภายหลังเดือนเมษายน
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ซึ่งเป็นนักการเมืองอนุรักษนิยมที่เน้นความเป็นชาตินิยมอย่างเข้มข้นนั้น ต้องการให้ญี่ปุ่นมีบทบาทมากขึ้นในปฏิบัติการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ รวมทั้งยกระดับจุดยืนทางการทหาร โดยให้เหตุผลสำคัญว่า เป็นเพราะแนวโน้มการคุกคามทางทหารจากจีนและเกาหลีเหนือ
แถมในขณะที่จีนแผ่ขยายอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ อิทธิพลของอเมริกาในเอเชียกลับแผ่วลง ญี่ปุ่นจึงต้องพยายามขยายพันธมิตรทางการทหารออกนอกขอบเขตความสัมพันธ์ “พื้นฐาน” กับสหรัฐฯ และได้ลงนามข้อตกลงกลาโหมกับหลายประเทศแล้ว ซึ่งรวมถึงอังกฤษและออสเตรเลีย
คณะกรรมการชุดนี้เสริมว่า การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของกองทัพจะสามารถทำได้ หากรัฐบาลแก้ไขการตีความรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
วันอังคารที่ผ่านมา (4 ก.พ.) คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 14 คน นำโดยชุนจิ ยานาอิ อดีตเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ได้หารือเกี่ยวกับวิธีการที่ญี่ปุ่นจะสามารถปรับปรุงศักยภาพของกองทัพ และเผยว่า จะเสนอร่างข้อเสนอแนะก่อนฉบับสุดท้ายในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ ส่วนรายงานฉบับสุดท้ายคาดว่า จะแล้วเสร็จภายหลังเดือนเมษายน
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ซึ่งเป็นนักการเมืองอนุรักษนิยมที่เน้นความเป็นชาตินิยมอย่างเข้มข้นนั้น ต้องการให้ญี่ปุ่นมีบทบาทมากขึ้นในปฏิบัติการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ รวมทั้งยกระดับจุดยืนทางการทหาร โดยให้เหตุผลสำคัญว่า เป็นเพราะแนวโน้มการคุกคามทางทหารจากจีนและเกาหลีเหนือ
แถมในขณะที่จีนแผ่ขยายอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ อิทธิพลของอเมริกาในเอเชียกลับแผ่วลง ญี่ปุ่นจึงต้องพยายามขยายพันธมิตรทางการทหารออกนอกขอบเขตความสัมพันธ์ “พื้นฐาน” กับสหรัฐฯ และได้ลงนามข้อตกลงกลาโหมกับหลายประเทศแล้ว ซึ่งรวมถึงอังกฤษและออสเตรเลีย
คณะกรรมการชุดนี้เสริมว่า การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของกองทัพจะสามารถทำได้ หากรัฐบาลแก้ไขการตีความรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน