คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นอนุมัติในวันอังคาร (17 ธ.ค.) แผนยุทธศาสตร์ทางทหารใหม่ 2 ฉบับ ซึ่งจะใช้จ่ายงบประมาณกลาโหมมากขึ้นอีก 5% ในช่วง 5 ปีหน้า โดยจะจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ไฮเทคอย่าง โดรนตรวจการณ์ เป็นครั้งแรก ตลอดจนเพิ่มเครื่องบินขับไล่และเรือพิฆาตทันสมัย ด้วยจุดประสงค์เพื่อปกป้องหมู่เกาะที่อยู่ห่างไกล ตลอดจนเสริมสร้างบทบาทของแดนอาทิตย์อุทัยในการรักษาเสถียรภาพระหว่างประเทศ ขณะที่จีนกำลังเร่งขยายอิทธิพล และเกาหลีเหนือมีพฤติกรรมที่คาดเดาได้ยากยิ่งขึ้น
เอกสารทางด้านยุทธศาสตร์การทหารล่าสุดทั้ง 2 ฉบับ อันได้แก่ แนวทางปฏิบัติด้านการกลาโหมฉบับใหม่ และแผนการสร้างเสริมกองทัพฉบับใหม่ช่วงปี 2014-2019 นี้ ยังกำหนดให้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายการทหารที่สำคัญสูงสุดของญี่ปุ่น จากอาณาบริเวณทางด้านเหนือของประเทศซึ่งอยู่ประชิดกับรัสเซีย มาเป็นพื้นที่ด้านใต้และตะวันตก โดยเฉพาะหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งโตเกียวและปักกิ่งกำลังแย่งชิงสิทธิ์อธิปไตยกันอยู่
ยุทธศาสตร์การทหารใหม่นี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลการผลักดันของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่ต้องการเพิ่มบทบาททางการทหารของญี่ปุ่นในกิจการโลก
พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ยุทธศาสตร์และแผนกลาโหมใหม่นี้ สอดคล้องกับดุลอำนาจของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงตลอดหลายปีที่ผ่านมา กระนั้น ชาติเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น รวมถึงชาวอาทิตย์อุทัยบางส่วน กังวลว่า แนวทางเหล่านี้ อาจทำให้ญี่ปุ่นละทิ้งจุดยืนในการจำกัดบทบาทกองทัพให้เป็นเพียงกองกำลังปกป้องตนเอง ตามรัฐธรรมนูญสันติภาพภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
โคอิชิ นากาโนะ อาจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยโซเฟีย ในกรุงโตเกียว บอกว่า “ผู้คนจำนวนมากทั้งภายในและภายนอกญี่ปุ่น กำลังรู้สึกวิตกว่า บางทีอาเบะอาจจะไม่มีเรียนรู้อย่างแท้จริงถึงบทเรียนจากประวัติศาสตร์ช่วงสงครามของญี่ปุ่น และเกิดความตระหนักว่าการที่ญี่ปุ่นแสดงบทบาทเพิ่มมากขึ้นนั้น มันมีอันตรายจริงๆ ที่จะหมายถึงว่า ในระยะยาวแล้วลัทธินิยมการทหารในญี่ปุ่นจะกลับผงาดขึ้นมาอีก”
สำหรับประเด็นนี้ อาเบะยืนยันว่า ยุทธศาสตร์ใหม่จะทำให้กองทัพญี่ปุ่นสามารถแบกรับความรับผิดชอบในกิจการโลกอย่างดียิ่งขึ้นภายใต้สิ่งที่เขาเรียกว่า “ลัทธิสันตินิยมเชิงรุก”
เอกสารทางด้านยุทธศาสตร์การทหารล่าสุดทั้ง 2 ฉบับ อันได้แก่ แนวทางปฏิบัติด้านการกลาโหมฉบับใหม่ และแผนการสร้างเสริมกองทัพฉบับใหม่ช่วงปี 2014-2019 นี้ ยังกำหนดให้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายการทหารที่สำคัญสูงสุดของญี่ปุ่น จากอาณาบริเวณทางด้านเหนือของประเทศซึ่งอยู่ประชิดกับรัสเซีย มาเป็นพื้นที่ด้านใต้และตะวันตก โดยเฉพาะหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งโตเกียวและปักกิ่งกำลังแย่งชิงสิทธิ์อธิปไตยกันอยู่
ยุทธศาสตร์การทหารใหม่นี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลการผลักดันของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่ต้องการเพิ่มบทบาททางการทหารของญี่ปุ่นในกิจการโลก
พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ยุทธศาสตร์และแผนกลาโหมใหม่นี้ สอดคล้องกับดุลอำนาจของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงตลอดหลายปีที่ผ่านมา กระนั้น ชาติเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น รวมถึงชาวอาทิตย์อุทัยบางส่วน กังวลว่า แนวทางเหล่านี้ อาจทำให้ญี่ปุ่นละทิ้งจุดยืนในการจำกัดบทบาทกองทัพให้เป็นเพียงกองกำลังปกป้องตนเอง ตามรัฐธรรมนูญสันติภาพภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
โคอิชิ นากาโนะ อาจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยโซเฟีย ในกรุงโตเกียว บอกว่า “ผู้คนจำนวนมากทั้งภายในและภายนอกญี่ปุ่น กำลังรู้สึกวิตกว่า บางทีอาเบะอาจจะไม่มีเรียนรู้อย่างแท้จริงถึงบทเรียนจากประวัติศาสตร์ช่วงสงครามของญี่ปุ่น และเกิดความตระหนักว่าการที่ญี่ปุ่นแสดงบทบาทเพิ่มมากขึ้นนั้น มันมีอันตรายจริงๆ ที่จะหมายถึงว่า ในระยะยาวแล้วลัทธินิยมการทหารในญี่ปุ่นจะกลับผงาดขึ้นมาอีก”
สำหรับประเด็นนี้ อาเบะยืนยันว่า ยุทธศาสตร์ใหม่จะทำให้กองทัพญี่ปุ่นสามารถแบกรับความรับผิดชอบในกิจการโลกอย่างดียิ่งขึ้นภายใต้สิ่งที่เขาเรียกว่า “ลัทธิสันตินิยมเชิงรุก”