xs
xsm
sm
md
lg

พณ.แนะผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าฯ ศึกษากฎระเบียบ เพิ่มศักยภาพลอจิสติกส์ไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการถ่ายลำสินค้า (Transshipment) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการค้าผ่านแดนที่เป็นการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งให้กับผู้ประกอบการและผู้ส่งออก และเป็นที่นิยมของผู้ประกอบการในการขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งผ่านประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปยังประเทศที่สาม โดยจะมีการนำเข้าสินค้าแล้วมาเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะหรือที่เรียกว่า “ถ่ายลำ” ในอาณาเขตประเทศไทยก่อนส่งสินค้านั้นออกไปยังประเทศปลายทาง ซึ่งการถ่ายลำดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และสินค้าที่ถ่ายลำ (Transshipment cargo) ดังกล่าวจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าหรือขาออก เนื่องจากจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของเส้นทางการขนส่งไม่ได้อยู่ในประเทศที่มีการถ่ายลำ
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการขนส่งสินค้าถ่ายลำของไทยถูกนำมาใช้กับหลากหลายสินค้า ซึ่งมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน มีทั้งสินค้าที่มีมาตรการหรือเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบของหน่วยงานต่างๆ เช่น สินค้าต้องกำกัด ในการนำเข้า-ส่งออกที่มีกฎหมายกำหนดว่า หากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อถกเถียงและฟ้องร้องเป็นคดีความถึงแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันของหน่วยงานต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาการถ่ายลำสินค้า ไม่สามารถขนส่งสินค้าผ่านไปยังประเทศปลายทางได้
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การดำเนินการนำสินค้าเข้ามาถ่ายลำในประเทศไทยไปยังประเทศที่สามปฏิบัติถูกต้องตามกฎระเบียบและมาตรการของหน่วยงานต่างๆ ของไทย ผู้ประกอบการไทยหรือตัวแทนรับจ้าง เกี่ยวกับกิจกรรมด้านการนำเข้า-ส่งออก การขนส่งสินค้าและขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ควรจะต้องศึกษาทำเข้าความใจก่อนว่าสินค้าที่จะนำเข้ามานั้นมีมาตรการหรือกฎหมายของภาครัฐควบคุมหรือกำกับดูแลอยู่หรือไม่ อย่างไร ซึ่งสินค้าดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ เนื่องจากขณะนี้การฟ้องร้องคดีความเรื่องการถ่ายลำสินค้าได้ข้อยุติแล้ว โดยผู้ประกอบการที่ขอถ่ายลำสินค้าจะต้องปฏิบัติตามมาตรการหรือกฎหมายของหน่วยงานที่กำกับดูแลสินค้านั้น
ทั้งนี้ สินค้าใดที่ยังคงจำเป็นหรือสมควรต้องกำหนดมาตรการนำเข้า-ส่งออกภายใต้พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ การสาธารณสุข ความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดของรัฐ ในการดำเนินการถ่ายลำสินค้าดังกล่าว กรมการค้าต่างประเทศจะนำหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสินค้าดังกล่าว เพื่อพิจารณาแนวทางการปฏิบัติสำหรับการอำนวยความสะดวกทางการค้าในกรณีดังกล่าวต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น