ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดการแถลงข่าวเรื่อง คำตัดสินศาลโลก : คดีตีความปราสาทพระวิหาร โดยระดมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความกระจ่าง ภายหลังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก มีคำพิพากษาเมื่อวานนี้ (11 พ.ย.) ระบุว่า สังคมยังมีความสงสัยในหลายประเด็นจากการแถลงข่าว จึงต้องมาทำหน้าที่เสาหลักของแผ่นดินในการให้ความกระจ่าง และแนะนำท่าทีที่เหมาะสมของประชาชนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ
โดย ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวว่า ศาลโลกยืนยันและไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำตัดสินเมื่อปี 2505 แต่หัวใจของคำตัดสินครั้งนี้คือ การตีความบริเวณข้างเคียงปราสาทพระวิหาร ซึ่งอยู่ในคำตัดสินเมื่อปี 2505 ให้ชัดเจนขึ้น เพราะที่ผ่านมา ต่างฝ่ายต่างตีความไม่ตรงกัน เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความเข้าใจแตกต่างกันมาโดยตลอด โดยกัมพูชาตีความว่าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของกัมพูชาทั้งหมด แต่ไทยตีความว่าเป็นแค่บางส่วน ตามที่รัฐบาลในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี เคยขีดลากไว้ ซึ่งศาลโลกเลือกที่จะตัดสินตามความเห็นของศาลเอง ไม่ฟังที่ทั้งสองประเทศยื่นฟ้องทั้งหมด โดยศาลนำเอกสารผนวก 1 เมื่อปี 2505 คือแผนที่ 1 : 200,000 มาเป็นเกณฑ์ แต่จำกัดพื้นที่ให้ใช้กับเฉพาะพื้นที่พิพาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การจะปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น เป็นสิทธิที่เราจะไม่รับก็ได้ แต่เราต้องพึ่งพาประเทศอื่นในด้านต่างๆ ด้วย ดังนั้น จึงต้องคิดกันในฐานะประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
โดย ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวว่า ศาลโลกยืนยันและไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำตัดสินเมื่อปี 2505 แต่หัวใจของคำตัดสินครั้งนี้คือ การตีความบริเวณข้างเคียงปราสาทพระวิหาร ซึ่งอยู่ในคำตัดสินเมื่อปี 2505 ให้ชัดเจนขึ้น เพราะที่ผ่านมา ต่างฝ่ายต่างตีความไม่ตรงกัน เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความเข้าใจแตกต่างกันมาโดยตลอด โดยกัมพูชาตีความว่าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของกัมพูชาทั้งหมด แต่ไทยตีความว่าเป็นแค่บางส่วน ตามที่รัฐบาลในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี เคยขีดลากไว้ ซึ่งศาลโลกเลือกที่จะตัดสินตามความเห็นของศาลเอง ไม่ฟังที่ทั้งสองประเทศยื่นฟ้องทั้งหมด โดยศาลนำเอกสารผนวก 1 เมื่อปี 2505 คือแผนที่ 1 : 200,000 มาเป็นเกณฑ์ แต่จำกัดพื้นที่ให้ใช้กับเฉพาะพื้นที่พิพาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การจะปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น เป็นสิทธิที่เราจะไม่รับก็ได้ แต่เราต้องพึ่งพาประเทศอื่นในด้านต่างๆ ด้วย ดังนั้น จึงต้องคิดกันในฐานะประเทศเพื่อนบ้านต่อไป