วันนี้ (19 ก.ย. ) ที่ห้องพิจารณาคดี 907 ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่อัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจ และทรัพยากร และธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ (เสียชีวิต) อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี นายเอกชัย อธิคมนันทะ อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี บริษัทซัพพอร์ต ซิสเต้มส์ จำกัด โดย นายจิตตสร ปราโมช ณ อยุธยา กรรมการผู้มีอำนาจ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานกรรมการการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี และนายรังสรรค์ ปิยะวงศ์ภิญโญ (เสียชีวิต) กรรมการบริษัทในเครือข่ายของ นายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษา นายเกริกเกียรติเป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ผู้ใดรับมอบทรัพย์สินให้จัดการทรัพย์สิน กระทำผิดหน้าที่ของตนเอง โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย กระทำผิดในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สิน และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2538-2539 นายเกริกเกียรติกับพวก และนายราเกซ ร่วมกันอนุมัติสินเชื่อวงเงินเกินบัญชีให้กับบริษัท ซัพพอร์ต ซิสเต้มส์ จำกัด ที่ไม่มีการทำสัญญาใดๆ โดยอ้างว่านำเงินไปชำระหนี้แทนบริษัทในเครือข่ายของนายราเกซ ที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน บีบีซี โจทก์ร่วม และอนุมัติขยายวงเงิน และขยายเวลาชำระเงินกู้โดยไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) บีบีซี ฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2551 ลงโทษจำคุกนายเกริกเกียรติ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 20 ปี ปรับ 4,950,507,947.86 บาท นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากคดีอาญายักยอกทรัพย์บีบีซี ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อปี 2548 รวม 3 คดี และคดีอาญายักยอกทรัพย์บีบีซี ที่ศาลอาญา มีคำพิพากษาเมื่อปี 2548 และปี 2550 รวม 3 คดี และให้ปรับบริษัท ซัพพอร์ต ซิสเต้มส์ จำกัด จำเลยที่ 3 เป็นเงิน 6 ล้านบาท ให้จำเลยที่ 1 และ 3 ร่วมกันชดใช้เงินคืนให้บีบีซี 2,475,253,993.93 บาท จำคุกนายรังสรรค์ จำเลยที่ 4 เป็นเวลา 9 ปี และยกฟ้องนายเอกชัย จำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์ และจำเลยยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ 1 และ4 เสียชีวิตแล้ว จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนบริษัท ซัพพอร์ต ซิสเต้มส์ จำกัด จำเลยที่ 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่ให้ปรับตามความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 315 ประกอบ มาตรา 307 เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ให้เรียงกระทงลงโทษปรับ 6 กระทง กระทงละ 1 ล้านบาท รวม 6 ล้านบาท และให้จำเลยที่ 3 ชดใช้เงินคืนให้บีบีซี 2,475,253,993.93 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2538-2539 นายเกริกเกียรติกับพวก และนายราเกซ ร่วมกันอนุมัติสินเชื่อวงเงินเกินบัญชีให้กับบริษัท ซัพพอร์ต ซิสเต้มส์ จำกัด ที่ไม่มีการทำสัญญาใดๆ โดยอ้างว่านำเงินไปชำระหนี้แทนบริษัทในเครือข่ายของนายราเกซ ที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน บีบีซี โจทก์ร่วม และอนุมัติขยายวงเงิน และขยายเวลาชำระเงินกู้โดยไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) บีบีซี ฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2551 ลงโทษจำคุกนายเกริกเกียรติ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 20 ปี ปรับ 4,950,507,947.86 บาท นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากคดีอาญายักยอกทรัพย์บีบีซี ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อปี 2548 รวม 3 คดี และคดีอาญายักยอกทรัพย์บีบีซี ที่ศาลอาญา มีคำพิพากษาเมื่อปี 2548 และปี 2550 รวม 3 คดี และให้ปรับบริษัท ซัพพอร์ต ซิสเต้มส์ จำกัด จำเลยที่ 3 เป็นเงิน 6 ล้านบาท ให้จำเลยที่ 1 และ 3 ร่วมกันชดใช้เงินคืนให้บีบีซี 2,475,253,993.93 บาท จำคุกนายรังสรรค์ จำเลยที่ 4 เป็นเวลา 9 ปี และยกฟ้องนายเอกชัย จำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์ และจำเลยยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ 1 และ4 เสียชีวิตแล้ว จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนบริษัท ซัพพอร์ต ซิสเต้มส์ จำกัด จำเลยที่ 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่ให้ปรับตามความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 315 ประกอบ มาตรา 307 เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ให้เรียงกระทงลงโทษปรับ 6 กระทง กระทงละ 1 ล้านบาท รวม 6 ล้านบาท และให้จำเลยที่ 3 ชดใช้เงินคืนให้บีบีซี 2,475,253,993.93 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น