3 ชาติมหาอำนาจตะวันตกในวันจันทร์(16) เดินหน้ากดดันเพื่อให้สหประชาชาติออกมติอันหนักหน่วงต่อการลงโทษซีเรีย หากไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงปลดอาวุธเคมีและสนับสนุนกลุ่มกบฏที่กำลังต่อสู้โค่นล้มประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด เพิ่มเติม ความเคลื่อนไหวที่เรียกเสียงเตือนจากรัสเซีย ว่าอาจกัดเซาะความพยายามนำทั้งสองฝ่ายขึ้นสู่โต๊ะเจรจาสันติภาพเพื่อยุติสงครามกลางเมืองก็เป็นได้
ในความเคลื่อนไหวทางการทูตตามหลังสหรัฐฯและรัสเซียบรรลุข้อตกลงในการปลดอาวุธเคมีของซีเรียเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา 3 ชาติมหาอำนาจตะวันตกอันประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เห็นห้องระหว่างหารือในกรุงปารีส ว่าอัสซาด ควรต้องเผชิญผลลัพธ์ที่เลวร้ายหากว่าเขาไม่ปฏฺิบัติตามมติของสหประชาชาติในการจำกัดอาวุธเคมี
อย่างไรก็ตามการเจรจาอันเคร่งเครียดนี้จุดชนวนเสียงเตือนมาจากรัสเซียในทันที โดยระบุว่าการสำแดงอำนาจดังกล่าวของชาติตะวันตก อาจกระทบต่อความพยายามดึงฝ่ายรัฐบาลและกบฏขึ้นสู่โต๊ะเจรจาที่มีเป้าหมายยุติสงครามกลางเมือง ซึ่งเกาะกุมประเทศแห่งนี้มานานกว่า 2 ปี และมีประชาชนเสียชีวิตมากกว่า 110,000 ราย
จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯระบุว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ชาติพันธมิตร ซึ่งจ่อใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีทางอากาศต่อนายอัสซาดในช่วงต้นเดือน จะยังคงเดินหน้ากดดันฝ่ายรัฐบาลต่อไป หลังจากกล่าวโทษว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุใช้อาวุธเคมีเข่นฆ่าพลเรือนเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม
แต่ นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียกล่าวว่าวิธีการดังกล่าวจะกัดเซาะความหวังในการรื้อฟื้นโต๊ะเจรจาสันติภาพที่หยุดนิ่งมานาน "มันเป็นสิ่งสำคัญ หากฝ่ายหนึ่งยังคงข่มขู่อย่างไม่ลดละ มันก็จะเป็นการทำลายโอกาสสำหรับการนัดประชุมอีกครั้งโดยสิ้งเชิง" ลาฟรอฟบอกกับผู้สื่อข่าว
ในความเคลื่อนไหวทางการทูตตามหลังสหรัฐฯและรัสเซียบรรลุข้อตกลงในการปลดอาวุธเคมีของซีเรียเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา 3 ชาติมหาอำนาจตะวันตกอันประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เห็นห้องระหว่างหารือในกรุงปารีส ว่าอัสซาด ควรต้องเผชิญผลลัพธ์ที่เลวร้ายหากว่าเขาไม่ปฏฺิบัติตามมติของสหประชาชาติในการจำกัดอาวุธเคมี
อย่างไรก็ตามการเจรจาอันเคร่งเครียดนี้จุดชนวนเสียงเตือนมาจากรัสเซียในทันที โดยระบุว่าการสำแดงอำนาจดังกล่าวของชาติตะวันตก อาจกระทบต่อความพยายามดึงฝ่ายรัฐบาลและกบฏขึ้นสู่โต๊ะเจรจาที่มีเป้าหมายยุติสงครามกลางเมือง ซึ่งเกาะกุมประเทศแห่งนี้มานานกว่า 2 ปี และมีประชาชนเสียชีวิตมากกว่า 110,000 ราย
จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯระบุว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ชาติพันธมิตร ซึ่งจ่อใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีทางอากาศต่อนายอัสซาดในช่วงต้นเดือน จะยังคงเดินหน้ากดดันฝ่ายรัฐบาลต่อไป หลังจากกล่าวโทษว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุใช้อาวุธเคมีเข่นฆ่าพลเรือนเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม
แต่ นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียกล่าวว่าวิธีการดังกล่าวจะกัดเซาะความหวังในการรื้อฟื้นโต๊ะเจรจาสันติภาพที่หยุดนิ่งมานาน "มันเป็นสิ่งสำคัญ หากฝ่ายหนึ่งยังคงข่มขู่อย่างไม่ลดละ มันก็จะเป็นการทำลายโอกาสสำหรับการนัดประชุมอีกครั้งโดยสิ้งเชิง" ลาฟรอฟบอกกับผู้สื่อข่าว