ญี่ปุ่นประกาศในวันพุธ (21ส.ค.) เพิ่มระดับเตือนภัยโรงไฟฟ้าปรมาณู ฟูกูชิมะ ไดอิจิ จาก “ไม่ปกติ” เป็น “ร้ายแรง” ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบระยะเวลา 2 ปีภายหลังจากคลื่นยักษ์สึนามิจุดชนวนวิกฤตนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงและทำให้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แห่งนี้กลายเป็นอัมพาตตั้งแต่นั้น ทางด้านหน่วยงานกำกับตรวจสอบระบุ “ไม่สามารถเสียเวลาได้อีกต่อไป” โดยต้องเร่งอุดถังเก็บน้ำที่มีรอยรั่วปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีออกมาถึง 300 ตัน
“สิ่งที่เรากังวลมากเกิดขึ้นแล้ว เรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถเสียเวลาได้อีกต่อไป” ชุนอิชิ ทานากะ ประธานสำนักงานกำกับตรวจสอบนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น (เอ็นอาร์เอ) บอกกับที่ประชุมในกรุงโตเกียวเมื่อวันพุธ (21) ขณะที่ เอ็นอาร์เอ ออกคำแถลงระบุว่า จากปริมาณของการรั่วไหลของน้ำปนเปื้อนรังสี และ “ข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีชั้นป้องกันความปลอดภัยใดๆ เหลืออยู่อีกแล้วในโรงงานแห่งนี้” จึงหมายความว่าจำเป็นต้องประกาศการเตือนภัยระดับ 3
ทั้งนี้ประกาศการเตือนภัยตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (ไอเนส) นี้ เป็นมาตรวัดความรุนแรงของอุบัติเหตุในด้านการแผ่รังสี โดยที่มีทั้งสิ้น 7 ระดับ การเพิ่มการเตือนภัยจากระดับ 1 ซึ่งคือ “ไม่ปกติ” เป็นระดับ 3 ที่หมายถึง “เหตุการณ์ร้ายแรง” คราวนี้ คือการแจ้งอันตรายร้ายแรงที่สุด ณ โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ที่ได้รับความเสียหายยับเยินแห่งนี้ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2011 ซึ่งคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นภายหลังแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง ได้ทำให้ระบบหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าเสียหายใช้การไม่ได้ และเป็นชนวนทำให้เตาปฏิกรณ์ 3 เตาอยู่ในภาวะหลอมละลาย
เมื่อตอนที่วิกฤตนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ อยู่ในช่วงอันรายที่สุดนั้น โรงไฟฟ้านี้ได้เคยถูกเตือนภัยระดับ 7 มาแล้ว นับเป็น 1 ใน 2 เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่มีการเตือนภัยระดับสูงสุด โดยครั้งแรกคือมหันตภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในสหภาพโซเวียตเมื่อ 25 ปีก่อน
สำนักงานกำกับตรวจสอบนิวเคลียร์ ระบุในคำแถลงว่า ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำก็คือ จะแจ้งให้ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) รับรู้เกี่ยวกับการรั่วไหลที่เกิดขึ้น รวมถึงหารือเกี่ยวกับความแม่นยำในการประเมินสถานการณ์
“สิ่งที่เรากังวลมากเกิดขึ้นแล้ว เรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถเสียเวลาได้อีกต่อไป” ชุนอิชิ ทานากะ ประธานสำนักงานกำกับตรวจสอบนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น (เอ็นอาร์เอ) บอกกับที่ประชุมในกรุงโตเกียวเมื่อวันพุธ (21) ขณะที่ เอ็นอาร์เอ ออกคำแถลงระบุว่า จากปริมาณของการรั่วไหลของน้ำปนเปื้อนรังสี และ “ข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีชั้นป้องกันความปลอดภัยใดๆ เหลืออยู่อีกแล้วในโรงงานแห่งนี้” จึงหมายความว่าจำเป็นต้องประกาศการเตือนภัยระดับ 3
ทั้งนี้ประกาศการเตือนภัยตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (ไอเนส) นี้ เป็นมาตรวัดความรุนแรงของอุบัติเหตุในด้านการแผ่รังสี โดยที่มีทั้งสิ้น 7 ระดับ การเพิ่มการเตือนภัยจากระดับ 1 ซึ่งคือ “ไม่ปกติ” เป็นระดับ 3 ที่หมายถึง “เหตุการณ์ร้ายแรง” คราวนี้ คือการแจ้งอันตรายร้ายแรงที่สุด ณ โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ที่ได้รับความเสียหายยับเยินแห่งนี้ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2011 ซึ่งคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นภายหลังแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง ได้ทำให้ระบบหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าเสียหายใช้การไม่ได้ และเป็นชนวนทำให้เตาปฏิกรณ์ 3 เตาอยู่ในภาวะหลอมละลาย
เมื่อตอนที่วิกฤตนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ อยู่ในช่วงอันรายที่สุดนั้น โรงไฟฟ้านี้ได้เคยถูกเตือนภัยระดับ 7 มาแล้ว นับเป็น 1 ใน 2 เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่มีการเตือนภัยระดับสูงสุด โดยครั้งแรกคือมหันตภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในสหภาพโซเวียตเมื่อ 25 ปีก่อน
สำนักงานกำกับตรวจสอบนิวเคลียร์ ระบุในคำแถลงว่า ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำก็คือ จะแจ้งให้ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) รับรู้เกี่ยวกับการรั่วไหลที่เกิดขึ้น รวมถึงหารือเกี่ยวกับความแม่นยำในการประเมินสถานการณ์