พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงผลการตรวจสอบคดีทุจริตจัดซื้อยาปราบศัตรูพืชยางพาราใน จ.บึงกาฬ ซึ่งพบว่าระหว่างวันที่ 21-30 กันยายน 2555 จ.บึงกาฬ ได้รายงานเหตุด่วนการเกิดภัยพิบัติโรคยางพาราใน 8 อำเภอ และประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีโรคระบาดยางพารา เพื่อใช้งบประมาณกรณีภัยพิบัติฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ซึ่งไม่มีมูลความจริง เนื่องจากศูนย์วิจัยยางพาราหนองคาย รวมทั้งจังหวัดบึงกาฬ ยืนยันว่า ไม่ได้รับรายงานจากหน่วยงานใดว่าเกิดโรคระบาดยางพาราในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ โดยการประกาศเขตภัยพิบัติจึงเป็นการออกประกาศโดยมิชอบ เพราะไม่มีภัยพิบัติโรคยางพาราขึ้นจริง ซึ่งเชื่อว่าการประกาศเขตภัยพิบัติของจังหวัดบึงกาฬเป็นขั้นตอนหนึ่งของขบวนการทุจริตใช้งบประมาณจากงบภัยพิบัติฉุกเฉิน ซึ่งกระทำเป็นขบวนการใหญ่ โดยมีเอกชนคือห้างหุ้นส่วนจำกัดรับทรัพย์รุ่งเรือง กับห้างหุ้นส่วนจำกัดนำทรัพย์เจริญ เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐส่อสมรู้ร่วมคิด ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มข้าราชการดังกล่าว ส่งผลให้รัฐเสียหายกว่า 48 ล้านบาท ซึ่งดีเอสไอจะส่งสำนวนให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสืบสวนต่อไป
รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวด้วยว่า ดีเอสไอตรวจสอบในกระบวนการจัดซื้อ พบว่าดำเนินการไม่ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงการคลัง โดยกำหนดราคากลางจัดซื้อสารเคมีเบโนมิล ขนาด 500 กรัม แพงกว่าราคาจริงถึง 4 เท่า โดยราคาในท้องตลาดเพียง 400-600 บาท แต่คณะกรรมการกำหนดราคากลาง กำหนดราคาไว้ถึง 1,920 บาท การจัดซื้อจำนวน 25,371 กล่อง ใช้งบประมาณกว่า 48 ล้านบาท ซึ่งจากการสุ่มตรวจผลการแจกจ่ายสารเคมีให้กับชาวบ้าน พบว่าสารเคมีที่ได้รับไปไม่ปรากฏว่ามีส่วนผสมของสารเคมีเบโนมิล จึงเข้าข่ายเป็นสารเคมีปลอม
รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวด้วยว่า ดีเอสไอตรวจสอบในกระบวนการจัดซื้อ พบว่าดำเนินการไม่ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงการคลัง โดยกำหนดราคากลางจัดซื้อสารเคมีเบโนมิล ขนาด 500 กรัม แพงกว่าราคาจริงถึง 4 เท่า โดยราคาในท้องตลาดเพียง 400-600 บาท แต่คณะกรรมการกำหนดราคากลาง กำหนดราคาไว้ถึง 1,920 บาท การจัดซื้อจำนวน 25,371 กล่อง ใช้งบประมาณกว่า 48 ล้านบาท ซึ่งจากการสุ่มตรวจผลการแจกจ่ายสารเคมีให้กับชาวบ้าน พบว่าสารเคมีที่ได้รับไปไม่ปรากฏว่ามีส่วนผสมของสารเคมีเบโนมิล จึงเข้าข่ายเป็นสารเคมีปลอม