ดีเอสไอจ่อฟันคดีทุจริตในโครงการจัดซื้อสารเคมีตามโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโรคระบาดยางพารา จ.บึงกาฬ เสียหาย 48.7 หมื่นล้าน
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 7 ส.ค. พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดีดีเอสไอ และ พ.ต.ท.อมฤต บูรณะกิจเจริญ ผู้อำนวยการส่วนคดีพิเศษ 1 แถลงถึงกรณีทุจริตในโครงการจัดซื้อสารเคมีตามโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโรคระบาดยางพารา
พ.ต.ท.อมฤต กล่าวว่า จากการตรวจสอบสำนักงานตรวจสอบพิเศษภาค 6 (จังหวัดอุดรธานี) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่แจ้งการใช้งบประมาณเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินของ จ.บึงกาฬ ประจำปีงบประมาณ 2554 โดยการจัดซื้อสารเคมีเบโนมิล 50% wp ขนาด 500 กรัม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินโรคระบาด (ยางพารา) จำนวน 25,371 กล่อง งบประมาณ 48,700,800 บาท ของ จ.บึงกาฬ ซึ่งได้แก่ อ.ศรีวิไล, อ.พรเจริญ, อ.บึงโขลงหลง, อ.เมือง, อ.ปากคาด, อ.เซกา, อ.บุ้งคล้า และ อ.โซ่พิสัย
พบว่าระหว่างวันที่ 21-30 ก.ย. 2554 จ.บึงกาฬ ได้รายงานเหตุด่วนการเกิดภัยพิบัติโรคยางพาราใน 8 อำเภอ ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2554 จ.บึงกาฬ จึงได้ประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีโรคระบาดยางพาราเพื่อใช้งบประมาณกรณีภัยพิบัติฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งไม่มีมูลความจริง ทั้งนี้ศูนย์วิจัยยางพาราหนองคาย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการค้นคว้า วิจัย และพัฒนายางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด รวมทั้ง จ.บึงกาฬ ยืนยันว่าไม่ได้รับรายงานจากหน่วยงานใดว่าเกิดโรคระบาดยางพาราในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ โดยในช่วงปี 2554
ผอ.คดีพิเศษ 1 กล่าวต่อว่า กระบวนการจัดซื้อนั้น มีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อวันที่ 13 ต.ค.2554 คณะกรรมการกำหนดราคากลางของ จ.บึงกาฬ ได้มีการกำหนดราคากลางของสารเคมีเบโนมิล 50% wp ขนาด 500 กรัม ไว้ถึง 1,920 บาท ซึ่งราคาตามความจริงมีราคาเพียง 400-600 บาท
อย่างไรก็ตามระหว่างวันที่ 18-27 ต.ค.2554 แต่ละอำเภอได้ดำเนินการจัดซื้อสารเคมีเบโนมิล 50% wp ขนาด 500 กรัม เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน แต่จากการสุ่มตรวจผลปรากฏว่าสารเคมีที่ชาวบ้านได้รับไปนั้นไม่ปรากฏว่ามีส่วนผสมของสารเคมีเบโนมิล 50% แต่อย่างใด ดังนั้นสารเคมีดังกล่าวจึงอาจเป็นสารเคมีปลอม
พ.ต.ท.อมฤต กล่าวต่อว่า การประกาศเขตภัยพิบัติกรณีโรคระบาดยางพาราใน จ.บึงกาฬ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2554 เป็นการประกาศเขตภัยพิบัติโดยไม่มีการเกิดภัยพิบัติโรคยางพาราขึ้นจริง แต่เป็นการประกาศเพื่อใช้เป็นขั้นตอนหนึ่งของขบวนการทุจริตฉ้อโกงงบประมาณจากงบภัยพิบัติฉุกเฉิน ซึ่งกระทำการเป็นขบวนการใหญ่ ซึ่งขบวนการดังกล่าวมีข้าราชการระดับสูงใน จ.บึงกาฬ และข้าราชการในอำเภอ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีเอกชนคือห้างหุ้นส่วนจำกัดรับทรัพย์รุ่งเรืองกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนำทรัพย์เจริญเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐส่อในการสมรู้ร่วมคิด ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มข้าราชการดังกล่าว ส่งผลให้รัฐเสียหายจำนวน 48,700,800 บาท
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 7 ส.ค. พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดีดีเอสไอ และ พ.ต.ท.อมฤต บูรณะกิจเจริญ ผู้อำนวยการส่วนคดีพิเศษ 1 แถลงถึงกรณีทุจริตในโครงการจัดซื้อสารเคมีตามโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโรคระบาดยางพารา
พ.ต.ท.อมฤต กล่าวว่า จากการตรวจสอบสำนักงานตรวจสอบพิเศษภาค 6 (จังหวัดอุดรธานี) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่แจ้งการใช้งบประมาณเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินของ จ.บึงกาฬ ประจำปีงบประมาณ 2554 โดยการจัดซื้อสารเคมีเบโนมิล 50% wp ขนาด 500 กรัม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินโรคระบาด (ยางพารา) จำนวน 25,371 กล่อง งบประมาณ 48,700,800 บาท ของ จ.บึงกาฬ ซึ่งได้แก่ อ.ศรีวิไล, อ.พรเจริญ, อ.บึงโขลงหลง, อ.เมือง, อ.ปากคาด, อ.เซกา, อ.บุ้งคล้า และ อ.โซ่พิสัย
พบว่าระหว่างวันที่ 21-30 ก.ย. 2554 จ.บึงกาฬ ได้รายงานเหตุด่วนการเกิดภัยพิบัติโรคยางพาราใน 8 อำเภอ ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2554 จ.บึงกาฬ จึงได้ประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีโรคระบาดยางพาราเพื่อใช้งบประมาณกรณีภัยพิบัติฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งไม่มีมูลความจริง ทั้งนี้ศูนย์วิจัยยางพาราหนองคาย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการค้นคว้า วิจัย และพัฒนายางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด รวมทั้ง จ.บึงกาฬ ยืนยันว่าไม่ได้รับรายงานจากหน่วยงานใดว่าเกิดโรคระบาดยางพาราในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ โดยในช่วงปี 2554
ผอ.คดีพิเศษ 1 กล่าวต่อว่า กระบวนการจัดซื้อนั้น มีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อวันที่ 13 ต.ค.2554 คณะกรรมการกำหนดราคากลางของ จ.บึงกาฬ ได้มีการกำหนดราคากลางของสารเคมีเบโนมิล 50% wp ขนาด 500 กรัม ไว้ถึง 1,920 บาท ซึ่งราคาตามความจริงมีราคาเพียง 400-600 บาท
อย่างไรก็ตามระหว่างวันที่ 18-27 ต.ค.2554 แต่ละอำเภอได้ดำเนินการจัดซื้อสารเคมีเบโนมิล 50% wp ขนาด 500 กรัม เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน แต่จากการสุ่มตรวจผลปรากฏว่าสารเคมีที่ชาวบ้านได้รับไปนั้นไม่ปรากฏว่ามีส่วนผสมของสารเคมีเบโนมิล 50% แต่อย่างใด ดังนั้นสารเคมีดังกล่าวจึงอาจเป็นสารเคมีปลอม
พ.ต.ท.อมฤต กล่าวต่อว่า การประกาศเขตภัยพิบัติกรณีโรคระบาดยางพาราใน จ.บึงกาฬ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2554 เป็นการประกาศเขตภัยพิบัติโดยไม่มีการเกิดภัยพิบัติโรคยางพาราขึ้นจริง แต่เป็นการประกาศเพื่อใช้เป็นขั้นตอนหนึ่งของขบวนการทุจริตฉ้อโกงงบประมาณจากงบภัยพิบัติฉุกเฉิน ซึ่งกระทำการเป็นขบวนการใหญ่ ซึ่งขบวนการดังกล่าวมีข้าราชการระดับสูงใน จ.บึงกาฬ และข้าราชการในอำเภอ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีเอกชนคือห้างหุ้นส่วนจำกัดรับทรัพย์รุ่งเรืองกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนำทรัพย์เจริญเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐส่อในการสมรู้ร่วมคิด ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มข้าราชการดังกล่าว ส่งผลให้รัฐเสียหายจำนวน 48,700,800 บาท