ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำและมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing หรือ QE) เอาไว้ โดยชี้ว่าถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังต้องการการสนับสนุน ท่าทีเช่นนี้ทำให้นักวิเคราะห์ต้องพากันคาดเดาเองว่า แบงก์ชาติอเมริกันจะยุติการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบอย่างใหญ่โตมหึมาเช่นนี้กันเมื่อใดและอย่างไรแน่
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงเมื่อวันพุธ (31 ก.ค.) ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) เป็นเวลา 2 วันว่า จะยังคงมาตรการ QE ที่ประกอบด้วยการรับซื้อพันธบัตรคลังและหลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อเคหะค้ำประกันเป็นปริมาณรวมเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ต่อไป เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากมาตรการรัดเข็มขัดตัดลดงบประมาณรายจ่ายในแบบเหมารวมของรัฐบาล
คำแถลงระบุว่า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของภาคธุรกิจมีอัตราขยายตัวมากขึ้น ภาคการเคหะก็เข้มแข็งขึ้น ทว่า อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะปรับขึ้นพอประมาณ และนโยบายการคลังซึ่งตัดลดงบประมาณรายจ่ายลงทุกภาคส่วนก็กำลังสร้างความกดดันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
พวกนักเศรษฐศาสตร์พากันชี้ว่า คำแถลงของเฟดในคราวนี้ มีอยู่ 3 จุดที่เปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาผิดแผกไปจากเดิม ในลักษณะซึ่งเอียงไปทางทัศนะที่จะยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไปอีก
กล่าวคือ ประการแรก เฟดมีทัศนะเกี่ยวกับภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในแง่ดีน้อยลง โดยกำลังระบุถึงฝีก้าวของการเจริญเติบโตว่า “ค่อนข้างน้อย” (modest) หลังจากที่เคยใช้คำว่า “พอประมาณ” (moderate) มาเกือบตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้น คำแถลงครั้งนี้ชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะกำลังสูงขึ้น ซึ่งก็มีนัยว่าเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นปัจจัยลบที่เข้ามาขัดขวางการฟื้นตัวของภาคการเคหะ
ประการที่สำคัญมากก็คือ คำแถลงยอมรับว่ามีอันตรายที่อัตราเงินเฟ้ออาจจะกำลังอยู่ในระดับต่ำเกินไป โดยระบุว่า การที่เงินเฟ้อทรงตัวอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมาย 2% เป็นเวลานานๆ อาจคุกคามผลประกอบการทางเศรษฐกิจ ถึงแม้เอฟโอเอ็มซีคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถขยับขึ้นไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ในระยะกลาง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงเมื่อวันพุธ (31 ก.ค.) ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) เป็นเวลา 2 วันว่า จะยังคงมาตรการ QE ที่ประกอบด้วยการรับซื้อพันธบัตรคลังและหลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อเคหะค้ำประกันเป็นปริมาณรวมเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ต่อไป เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากมาตรการรัดเข็มขัดตัดลดงบประมาณรายจ่ายในแบบเหมารวมของรัฐบาล
คำแถลงระบุว่า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของภาคธุรกิจมีอัตราขยายตัวมากขึ้น ภาคการเคหะก็เข้มแข็งขึ้น ทว่า อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะปรับขึ้นพอประมาณ และนโยบายการคลังซึ่งตัดลดงบประมาณรายจ่ายลงทุกภาคส่วนก็กำลังสร้างความกดดันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
พวกนักเศรษฐศาสตร์พากันชี้ว่า คำแถลงของเฟดในคราวนี้ มีอยู่ 3 จุดที่เปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาผิดแผกไปจากเดิม ในลักษณะซึ่งเอียงไปทางทัศนะที่จะยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไปอีก
กล่าวคือ ประการแรก เฟดมีทัศนะเกี่ยวกับภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในแง่ดีน้อยลง โดยกำลังระบุถึงฝีก้าวของการเจริญเติบโตว่า “ค่อนข้างน้อย” (modest) หลังจากที่เคยใช้คำว่า “พอประมาณ” (moderate) มาเกือบตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้น คำแถลงครั้งนี้ชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะกำลังสูงขึ้น ซึ่งก็มีนัยว่าเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นปัจจัยลบที่เข้ามาขัดขวางการฟื้นตัวของภาคการเคหะ
ประการที่สำคัญมากก็คือ คำแถลงยอมรับว่ามีอันตรายที่อัตราเงินเฟ้ออาจจะกำลังอยู่ในระดับต่ำเกินไป โดยระบุว่า การที่เงินเฟ้อทรงตัวอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมาย 2% เป็นเวลานานๆ อาจคุกคามผลประกอบการทางเศรษฐกิจ ถึงแม้เอฟโอเอ็มซีคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถขยับขึ้นไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ในระยะกลาง