นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "วันอาสาฬหบูชา และบุคคลควรเป็นต้นแบบด้านคุณธรรมในสายตาประชาชน" กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สิงห์บุรี สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ หนองคาย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,102 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 66.4 ทราบ และสามารถระบุได้ถูกต้องว่าวันอาสาฬหบูชาที่จะมาถึงในปีนี้ตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม 2556 ขณะที่ร้อยละ 33.6 ไม่ทราบ
ส่วนความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.2 ไม่ทราบว่าวันอาสาฬหบูชามีความสำคัญอย่างไรในพระพุทธศาสนา ณะที่ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 25.8 ทราบและสามารถระบุได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างระบุความดีที่ตั้งใจจะทำเนื่องในวันอาสาฬหบูชา อันดับแรก ร้อยละ 84.3 ระบุทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 62.4 ระบุไปทำบุญที่วัด ร้อยละ 40.4 ระบุไปเวียนเทียน ร้อยละ 35.6 ระบุสวดมนต์ ฟังธรรมเทศนา ร้อยละ 35.2 ระบุรักษาศีล ร้อยละ 28.9 ระบุนั่งสมาธิ และรองๆ ลงมาระบุดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว ปล่อยสัตว์ ทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น ปลูกต้นไม้ ทำความดีในที่สาธารณะ บริจาคสิ่งของ มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจ ให้อภัยผู้อื่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 คิดว่าคุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทยนั้นเสื่อมลง ในขณะที่ร้อยละ 17.2 คิดว่าเหมือนเดิม และมีเพียงร้อยละ 7.6 คิดว่าดีขึ้น
ขณะที่ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 ระบุ ครอบครัวควรเป็นบุคคลหรือสถาบันทางสังคมที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา ร้อยละ 63.9 ระบุผู้เผยแผ่ศาสนา เช่น พระสงฆ์ แม่ชี นักบวช เป็นต้น ร้อยละ 43.8 ระบุโรงเรียน/ที่ทำงาน ร้อยละ 43.1 ระบุผู้ใหญ่ในสังคม ร้อยละ 39.4 ระบุนักการเมือง ร้อยละ 38.7 ระบุข้าราชการ ร้อยละ 38.0 ระบุชุมชนที่พักอาศัย และร้อยละ 37.0 ระบุอื่นๆ อาทิ ผู้ที่มีอำนาจในการร่างและบังคับใช้กฎหมาย ผู้นำชุมชน ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึง "นักการเมือง" ที่ควรเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 41.7 ระบุ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันดับสอง ร้อยละ 31.6 ระบุ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และอันดับสาม ร้อยละ 18.4 ระบุ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ
สำหรับบุคคลที่เป็น "ข้าราชการ" ที่ควรเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 44.8 ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก อันดับสอง ร้อยละ 27.8 ระบุ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) อันดับสาม ร้อยละ 12.3 ระบุ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอันดับสี่ ร้อยละ 11.0 ระบุ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ตามลำดับ
นอกจากนี้ "ผู้ใหญ่ในสังคม" ที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าควรเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 41.2 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อันดับสอง ร้อยละ 23.0 ระบุ นายชวน หลีกภัย อันดับสาม ร้อยละ 15.1 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อันดับสี่ ร้อยละ 7.9 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน และอันดับห้า ร้อยละ 7.1 ได้แก่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ส่วนความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.2 ไม่ทราบว่าวันอาสาฬหบูชามีความสำคัญอย่างไรในพระพุทธศาสนา ณะที่ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 25.8 ทราบและสามารถระบุได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างระบุความดีที่ตั้งใจจะทำเนื่องในวันอาสาฬหบูชา อันดับแรก ร้อยละ 84.3 ระบุทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 62.4 ระบุไปทำบุญที่วัด ร้อยละ 40.4 ระบุไปเวียนเทียน ร้อยละ 35.6 ระบุสวดมนต์ ฟังธรรมเทศนา ร้อยละ 35.2 ระบุรักษาศีล ร้อยละ 28.9 ระบุนั่งสมาธิ และรองๆ ลงมาระบุดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว ปล่อยสัตว์ ทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น ปลูกต้นไม้ ทำความดีในที่สาธารณะ บริจาคสิ่งของ มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจ ให้อภัยผู้อื่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 คิดว่าคุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทยนั้นเสื่อมลง ในขณะที่ร้อยละ 17.2 คิดว่าเหมือนเดิม และมีเพียงร้อยละ 7.6 คิดว่าดีขึ้น
ขณะที่ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 ระบุ ครอบครัวควรเป็นบุคคลหรือสถาบันทางสังคมที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา ร้อยละ 63.9 ระบุผู้เผยแผ่ศาสนา เช่น พระสงฆ์ แม่ชี นักบวช เป็นต้น ร้อยละ 43.8 ระบุโรงเรียน/ที่ทำงาน ร้อยละ 43.1 ระบุผู้ใหญ่ในสังคม ร้อยละ 39.4 ระบุนักการเมือง ร้อยละ 38.7 ระบุข้าราชการ ร้อยละ 38.0 ระบุชุมชนที่พักอาศัย และร้อยละ 37.0 ระบุอื่นๆ อาทิ ผู้ที่มีอำนาจในการร่างและบังคับใช้กฎหมาย ผู้นำชุมชน ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึง "นักการเมือง" ที่ควรเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 41.7 ระบุ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันดับสอง ร้อยละ 31.6 ระบุ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และอันดับสาม ร้อยละ 18.4 ระบุ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ
สำหรับบุคคลที่เป็น "ข้าราชการ" ที่ควรเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 44.8 ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก อันดับสอง ร้อยละ 27.8 ระบุ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) อันดับสาม ร้อยละ 12.3 ระบุ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอันดับสี่ ร้อยละ 11.0 ระบุ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ตามลำดับ
นอกจากนี้ "ผู้ใหญ่ในสังคม" ที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าควรเป็นต้นแบบในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 41.2 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อันดับสอง ร้อยละ 23.0 ระบุ นายชวน หลีกภัย อันดับสาม ร้อยละ 15.1 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อันดับสี่ ร้อยละ 7.9 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน และอันดับห้า ร้อยละ 7.1 ได้แก่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล