สื่อนอกระบุนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย เสี่ยงเผชิญปฏิกิริยาตอบโต้กลับจากเหล่าเกษตรกรผู้ผลักดันเธอก้าวสู่อำนาจ หลังปรับลดราคารับจำนำข้าว หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าโครงการนี้ฉุดสถานะทางการคลังตกอยู่ในความเสี่ยง พร้อมอ้างนักวิเคราะห์ชี้นโยบายประชานิยมต่างๆของรัฐบาลกำลังผลักประเทศคืบคลานสู่ปากเหว
รายงานข่าวพาดหัว "Yingluck Risks Farmer Ire to Curb Fiscal Burden" ของบลูกเบิร์กระบุต่อว่ารัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ส่งเสริมการซื้อรถคันแรกและรับจำนำข้าวจากชาวนาสูงกว่าอัตราตลาดภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 50 นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2 ก่อน ด้วยแรงสนับสนุนอย่างล้นเหลือจากประชาชนในพื้นที่ยากจนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อย่างไรก็ตามด้วยรายงานของมูดีส์และถูกโจมตีจากฝ่ายค้าน ก็จุดชนวนให้เธอตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบการขาดทุน และต้องปรับลดราคาในที่สุด
สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร ธนาคารเครดิตสวิส เอจี ในสิงคโปร์ ให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กว่า "ภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากโครงการนี้ คือหนึ่งในความกังวลหลักของนักลงทุนต่างชาติ แต่ยิ่งกว่าต้นทุนทางการคลัง โครงการนี้ยังบิดเบือนแรงจูงใจของผู้คน ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตหลายๆภาคส่วนอยู่แล้ว และโครงการนี้ก็กลายไปว่าเป็นตัวส่งเสริมให้หลายคนหันไปปลูกข้าวมากขึ้น ทั้งที่บางคนไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนั้น"
ด้าน เอ็ดเวิร์ก ทีเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของยูเอสบี เอจี ในสิงคโปร์ แสดงความคิดเห็นพาดพิงถึงนโยบายประชานิยมต่างๆของรัฐบาลไทยว่า ถ้ายังดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศและพึ่งพาการเจริญเติบโตที่ใช้เครดิตเป็นตัวนำ เมื่อนั้นความเสี่ยงจากภายนอกก็จะสูงขึ้นตามลำดับในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า และพอถึงจุดหนึ่งก็จะแสดงหลักฐานถึงสิ่งที่น่ากังวลสูงสุด แม้จะยังไม่ใช่ในวันนี้ก็ตาม
รายงานข่าวพาดหัว "Yingluck Risks Farmer Ire to Curb Fiscal Burden" ของบลูกเบิร์กระบุต่อว่ารัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ส่งเสริมการซื้อรถคันแรกและรับจำนำข้าวจากชาวนาสูงกว่าอัตราตลาดภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 50 นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2 ก่อน ด้วยแรงสนับสนุนอย่างล้นเหลือจากประชาชนในพื้นที่ยากจนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อย่างไรก็ตามด้วยรายงานของมูดีส์และถูกโจมตีจากฝ่ายค้าน ก็จุดชนวนให้เธอตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบการขาดทุน และต้องปรับลดราคาในที่สุด
สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร ธนาคารเครดิตสวิส เอจี ในสิงคโปร์ ให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กว่า "ภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากโครงการนี้ คือหนึ่งในความกังวลหลักของนักลงทุนต่างชาติ แต่ยิ่งกว่าต้นทุนทางการคลัง โครงการนี้ยังบิดเบือนแรงจูงใจของผู้คน ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตหลายๆภาคส่วนอยู่แล้ว และโครงการนี้ก็กลายไปว่าเป็นตัวส่งเสริมให้หลายคนหันไปปลูกข้าวมากขึ้น ทั้งที่บางคนไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนั้น"
ด้าน เอ็ดเวิร์ก ทีเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของยูเอสบี เอจี ในสิงคโปร์ แสดงความคิดเห็นพาดพิงถึงนโยบายประชานิยมต่างๆของรัฐบาลไทยว่า ถ้ายังดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศและพึ่งพาการเจริญเติบโตที่ใช้เครดิตเป็นตัวนำ เมื่อนั้นความเสี่ยงจากภายนอกก็จะสูงขึ้นตามลำดับในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า และพอถึงจุดหนึ่งก็จะแสดงหลักฐานถึงสิ่งที่น่ากังวลสูงสุด แม้จะยังไม่ใช่ในวันนี้ก็ตาม