xs
xsm
sm
md
lg

สื่อนอกอ้างนักวิเคราะห์ชี้ “จำนำข้าว-ประชานิยม” พาไทยสู่ความเสี่ยง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


บลูมเบิร์ก - สื่อนอกระบุ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย เสี่ยงเผชิญปฏิกิริยาตอบโต้กลับจากเหล่าเกษตรกรผู้ผลักดันเธอก้าวสู่อำนาจ หลังปรับลดราคารับจำนำข้าว หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าโครงการนี้ฉุดสถานะทางการคลังตกอยู่ในความเสี่ยง พร้อมอ้างนักวิเคราะห์ชี้นโยบายประชานิยมต่างๆของรัฐบาลกำลังผลักประเทศคืบคลานสู่ปากเหว

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของไทยมีมติเห็นชอบลดราคารับจำนำข้าวลงร้อยละ 20 เพื่อช่วยลดภาระขาดทุนของโครงการนี้ที่รัฐบาลคาดหมายว่าเฉพาะเมื่อปีที่แล้วน่าจะอยู่ราวๆ 137,000 ล้านบาท หลังบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านการลงทุนระบุเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า โครงการอุดหนุนนี้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายงบประมาณสมดุลภายในปี 2017 ของไทย และเป็นผบลบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลไทยเสี่ยงเผชิญปฏิกิริยาตอบโต้กลับจากที่มีส่วนผลักดันให้พรรคเพื่อไทยของนา น.ส.ยิ่งลักษณ์ชนะศึกเลือกตั้งทั่วไปอย่างถล่มทลายเมื่อปี 2011 “ถ้ารัฐบาลไม่ฟังเสียงชาวนา พรรคเพื่อไทยก็จะไม่มีชาวนาคอยเป็นโล่ปกป้องพวกเขาอีก” รายงานข่าวของบลูมเบิร์กชอ้างคำพูดของนายชารินทร์ สิงห์ดี ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี “ถ้ามีการลดราคา มันก็เหมือนว่าชาวนาถูกรังแก"”

รายงานข่าวพาดหัว “Yingluck Risks Farmer Ire to Curb Fiscal Burden” ของบลูกเบิร์กระบุต่อว่า รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ส่งเสริมการซื้อรถคันแรกและรับจำนำข้าวจากชาวนาสูงกว่าอัตราตลาดภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 50 นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2 ก่อน ด้วยแรงสนับสนุนอย่างล้นเหลือจากประชาชนในพื้นที่ยากจนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อย่างไรก็ตามด้วยรายงานของมูดีส์และถูกโจมตีจากฝ่ายค้าน ก็จุดชนวนให้เธอตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบการขาดทุน และต้องปรับลดราคาในที่สุด

สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร ธนาคารเครดิตสวิส เอจี ในสิงคโปร์ ให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กว่า “ภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากโครงการนี้ คือหนึ่งในความกังวลหลักของนักลงทุนต่างชาติ แต่ยิ่งกว่าต้นทุนทางการคลัง โครงการนี้ยังบิดเบือนแรงจูงใจของผู้คน ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตหลายๆ ภาคส่วนอยู่แล้ว และโครงการนี้ก็กลายไปว่าเป็นตัวส่งเสริมให้หลายคนหันไปปลูกข้าวมากขึ้น ทั้งที่บางคนไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนั้น”

ด้าน เอ็ดเวิร์ก ทีเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของยูเอสบี เอจี ในสิงคโปร์ แสดงความคิดเห็นพาดพิงถึงนโยบายประชานิยมต่างๆ ของรัฐบาลไทยว่า ถ้ายังดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศและพึ่งพาการเจริญเติบโตที่ใช้เครดิตเป็นตัวนำ เมื่อนั้นความเสี่ยงจากภายนอกก็จะสูงขึ้นตามลำดับในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า และพอถึงจุดหนึ่งก็จะแสดงหลักฐานถึงสิ่งที่น่ากังวลสูงสุด แม้จะยังไม่ใช่ในวันนี้ก็ตาม

“หนึ่งในความกังวลที่สัมพันธ์กับโครงการรับจำนำข้าว คือ ไทยสูญเสียความโปร่งใสด้านการคลังและกัดเซาะกระบวนการลดขาดดุลงบประมาณ” นายสเตฟเฟน ไดค์ นักวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับประเทศของมูดี้ส์ ประจำสิงคโปร์กล่าว อย่างไรก็ตาม แม้มีความเสี่ยงต่อการขาดดุลอย่างมหาศาล แต่ทางบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือแห่งนี้ยังคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือของไทย “เสถียรภาพ” เหตุเพราะยังมีปัจจัยมหาภาคและภายนอกอื่นๆ สนับสนุน
กำลังโหลดความคิดเห็น