นิด้าโพลชี้ ประชาชนเกินครึ่งไม่เห็นด้วยลดราคาจำนำข้าวจากตันละ 15,000 บาท เหลือ 12,000 บาท บอกเห็นใจเกษตรกร รายได้ลดลง เป็นหนี้เพิ่มขึ้น จี้แก้ทุจริตของระบบขั้นตอนจะดีกว่า ขณะที่ 44.31% ระบุประกันราคาข้าวดีกว่า เพราะลดการคอร์รัปชันได้ รัฐบาลไม่ขาดทุน ส่วน 54.17% เชื่อฐานเสียงพรรคเพื่อไทยคะแนนลดลงจากการลดราคาจำนำ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปรับลดราคารับจำนำข้าว” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2556 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,248 หน่วยตัวอย่าง จากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายข้าว (กขช.) ได้ปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า (การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี พ.ศ. 2556 ข้าวเปลือกเจ้า 100 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15) จากตันละ 15,000 บาท เป็น 12,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน ร้อยละ 1.4
จากการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.62 ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลลดราคาจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100 เปอร์เซ็นต์ จากตันละ 15,000 บาท เป็น 12,000 บาท เพราะเห็นใจเกษตรกร ทำให้มีรายได้จากการขายข้าวลดลง อีกทั้งต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น (ค่าปุ๋ย ค่าเชื้อเพลิง ค่าแรง เป็นต้น) ทำให้ชาวนาเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น ควรไปแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชันของระบบขั้นตอนจะดีกว่า ขณะที่ ร้อยละ 36.62 เห็นด้วย เพราะรัฐบาลไม่ต้องแบกค่าใช่จ่ายส่วนต่างราคาข้าว ซึ่งทำให้รัฐขายข้าวขาดทุน
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 63.38 ระบุว่า ไม่ควรลดราคาจำนำลง เพราะข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีอยู่แล้ว และมีต้นทุนในการผลิตสูง และร้อยละ 26.68 ระบุว่า ควรลดราคาการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ เหมือนกับการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าปรับก็ควรจะปรับลดให้เหมือนกัน
ด้านความคิดเห็นต่อการรับจำนำข้าว กับการประกันราคาข้าวว่านโยบายใดที่เกษตรกรจะได้ประโยชน์สูงสุด พบว่า ประชาชน ร้อยละ 44.31 ระบุว่า เป็นการประกันราคาข้าว เพราะลดการทุจริตคอร์รัปชัน มีขั้นตอนที่ตรวจสอบได้ชัดเจนและละเอียดกว่าการรับจำนำ ช่วยให้รัฐบาลไม่ขาดทุน รองลงมา ร้อยละ 29.81 ระบุ ว่าเป็นการรับจำนำข้าว เพราะเกษตรกรจะได้ราคาที่สูงกว่าการประกันข้าวและได้เงินทันทีที่ขายข้าว ทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ และร้อยละ 13.30 เห็นว่าทั้งสองนโยบายไม่ทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด เพราะทั้งสองโครงการมีช่องโหว่ในการทุจริตเหมือนกัน ผลประโยชน์จะตกอยู่ที่โรงสีหรือพ่อค้าคนกลางมากกว่า
ท้ายสุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อแนวโน้มคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยจากการที่รัฐบาลลดราคาจำนำข้าวเปลือก พบว่า ประชาชนร้อยละ 54.17 ระบุว่า ลดลง เพราะฐานคะแนนเสียงส่วนหนึ่งมาจากเกษตรกร ทำให้เกษตรกรรู้สึกผิดหวังกับนโยบายประชานิยมที่เคยได้ให้ไว้ และอาจมีผลกระทบกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการจำนำข้าว ทำให้เครดิตของพรรคเพื่อไทยลดลง ขณะที่ร้อยละ 25.72 ระบุว่า เท่าเดิม เพราะไม่เกี่ยวข้องกัน จึงไม่น่าจะมีผลแต่อย่างใด คิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจในสถานการณ์ มีเพียงร้อยละ 4.33 ระบุว่า เพิ่มขึ้น เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดทุนในโครงการจำนำข้าว
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปรับลดราคารับจำนำข้าว” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2556 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,248 หน่วยตัวอย่าง จากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายข้าว (กขช.) ได้ปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า (การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี พ.ศ. 2556 ข้าวเปลือกเจ้า 100 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15) จากตันละ 15,000 บาท เป็น 12,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน ร้อยละ 1.4
จากการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.62 ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลลดราคาจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100 เปอร์เซ็นต์ จากตันละ 15,000 บาท เป็น 12,000 บาท เพราะเห็นใจเกษตรกร ทำให้มีรายได้จากการขายข้าวลดลง อีกทั้งต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น (ค่าปุ๋ย ค่าเชื้อเพลิง ค่าแรง เป็นต้น) ทำให้ชาวนาเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น ควรไปแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชันของระบบขั้นตอนจะดีกว่า ขณะที่ ร้อยละ 36.62 เห็นด้วย เพราะรัฐบาลไม่ต้องแบกค่าใช่จ่ายส่วนต่างราคาข้าว ซึ่งทำให้รัฐขายข้าวขาดทุน
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 63.38 ระบุว่า ไม่ควรลดราคาจำนำลง เพราะข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีอยู่แล้ว และมีต้นทุนในการผลิตสูง และร้อยละ 26.68 ระบุว่า ควรลดราคาการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ เหมือนกับการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าปรับก็ควรจะปรับลดให้เหมือนกัน
ด้านความคิดเห็นต่อการรับจำนำข้าว กับการประกันราคาข้าวว่านโยบายใดที่เกษตรกรจะได้ประโยชน์สูงสุด พบว่า ประชาชน ร้อยละ 44.31 ระบุว่า เป็นการประกันราคาข้าว เพราะลดการทุจริตคอร์รัปชัน มีขั้นตอนที่ตรวจสอบได้ชัดเจนและละเอียดกว่าการรับจำนำ ช่วยให้รัฐบาลไม่ขาดทุน รองลงมา ร้อยละ 29.81 ระบุ ว่าเป็นการรับจำนำข้าว เพราะเกษตรกรจะได้ราคาที่สูงกว่าการประกันข้าวและได้เงินทันทีที่ขายข้าว ทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ และร้อยละ 13.30 เห็นว่าทั้งสองนโยบายไม่ทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด เพราะทั้งสองโครงการมีช่องโหว่ในการทุจริตเหมือนกัน ผลประโยชน์จะตกอยู่ที่โรงสีหรือพ่อค้าคนกลางมากกว่า
ท้ายสุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อแนวโน้มคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยจากการที่รัฐบาลลดราคาจำนำข้าวเปลือก พบว่า ประชาชนร้อยละ 54.17 ระบุว่า ลดลง เพราะฐานคะแนนเสียงส่วนหนึ่งมาจากเกษตรกร ทำให้เกษตรกรรู้สึกผิดหวังกับนโยบายประชานิยมที่เคยได้ให้ไว้ และอาจมีผลกระทบกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการจำนำข้าว ทำให้เครดิตของพรรคเพื่อไทยลดลง ขณะที่ร้อยละ 25.72 ระบุว่า เท่าเดิม เพราะไม่เกี่ยวข้องกัน จึงไม่น่าจะมีผลแต่อย่างใด คิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจในสถานการณ์ มีเพียงร้อยละ 4.33 ระบุว่า เพิ่มขึ้น เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดทุนในโครงการจำนำข้าว