การถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนในเรื่องความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต กับขอบเขตอำนาจของรัฐบาลสหรัฐฯ ปะทุพุ่งพล่านขึ้นมาในวันอังคาร (11 มิ.ย.) ซึ่งต้องถือเป็นชัยชนะและเป็นที่สาสมใจของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตลูกจ้างซีไอเอที่เป็นช่างเทคนิคด้านข่าวกรองวัย 29 ปี ผู้แฉเรื่องที่อเมริกาใช้ระบบ “ปริซึม” อันลับสุดยอด เพื่อสอดแนมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์อย่างกว้างขวาง
ถึงแม้ สโนว์เดน ซึ่งขณะนี้ยังคงไม่เป็นที่ทราบกันอย่างชัดเจนว่าเขาอยู่ที่ไหนกันแน่ภายหลังปรากฏตัวครั้งสุดท้ายในฮ่องกงเมื่อ 2-3 วันก่อน ในที่สุดอาจจะถูกดำเนินคดีจากการเปิดโปงโปรแกรมล้วงข้อมูลการสื่อสารในอินเทอร์เน็ตของวอชิงตัน แต่สิ่งที่เขาหมายมั่นตั้งใจที่จะกระทำ ซึ่งก็คือ การเปิดฉากการสู้รบของสาธารณชนต่อการล่วงละเมิดเสรีภาพอย่างไร้ขอบเขตของภาครัฐนั้น ดูเหมือนบรรลุสัมฤทธิผลแล้ว
ในวันอังคาร ทั้งสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ องค์กรสิทธิพลเมือง และบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ ต่างออกมาเรียกร้องให้คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพิ่มความโปร่งใสเกี่ยวกับกระบวนการสอดแนมข้อมูลส่วนบุคคลในการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์
วุฒิสมาชิกอเมริกันทั้งจากพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันจำนวน 8 คน ได้ร่วมกันยื่นเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งมีสาระสำคัญมุ่งให้ผ่อนปรนการใช้วิธีลับๆ มากำกับตรวจสอบการดำเนินโปรแกรมนี้ ทั้งนี้เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเจ้าหน้าที่อเมริกันต้องการใช้โปรแกรมปริซึมเพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนใด ก็ใช้วิธียื่นขอคำสั่งศาลจาก “ศาลตรวจตราข่าวกรองต่างประเทศ” (FISA) โดยที่จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ ให้ภายนอกทราบ แต่ตามร่างกฎหมายใหม่นี้จะกำหนดให้คำตัดสินสำคัญๆ ของศาลนี้ก็ต้องมีกระบวนการในการลดชั้นความลับ
วุฒิสมาชิก เจฟฟ์ เมิร์คลีย์ 1 ใน 8 ผู้ยื่นเสนอ แถลงว่า อเมริกันชนมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสื่อสารส่วนตัวของพวกเขามากน้อยขนาดไหนซึ่งรัฐบาลเชื่อว่ากฎหมายอนุญาตให้ตนเองเข้าไปรับรู้ได้
การถกเถียงอย่างร้อนระอุเช่นนี้เกิดขึ้นหลังจากตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วหนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษ และวอชิงตัน โพสต์ของอเมริกา เผยแพร่ข้อมูลลับที่ได้รับจากสโนว์เดน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคข่าวกรองวัย 29 ปี เกี่ยวกับโปรแกรมลับสุดยอด "ปริซึม” ที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (เอ็นเอสเอ) ใช้เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ถึงแม้ สโนว์เดน ซึ่งขณะนี้ยังคงไม่เป็นที่ทราบกันอย่างชัดเจนว่าเขาอยู่ที่ไหนกันแน่ภายหลังปรากฏตัวครั้งสุดท้ายในฮ่องกงเมื่อ 2-3 วันก่อน ในที่สุดอาจจะถูกดำเนินคดีจากการเปิดโปงโปรแกรมล้วงข้อมูลการสื่อสารในอินเทอร์เน็ตของวอชิงตัน แต่สิ่งที่เขาหมายมั่นตั้งใจที่จะกระทำ ซึ่งก็คือ การเปิดฉากการสู้รบของสาธารณชนต่อการล่วงละเมิดเสรีภาพอย่างไร้ขอบเขตของภาครัฐนั้น ดูเหมือนบรรลุสัมฤทธิผลแล้ว
ในวันอังคาร ทั้งสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ องค์กรสิทธิพลเมือง และบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ ต่างออกมาเรียกร้องให้คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพิ่มความโปร่งใสเกี่ยวกับกระบวนการสอดแนมข้อมูลส่วนบุคคลในการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์
วุฒิสมาชิกอเมริกันทั้งจากพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันจำนวน 8 คน ได้ร่วมกันยื่นเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งมีสาระสำคัญมุ่งให้ผ่อนปรนการใช้วิธีลับๆ มากำกับตรวจสอบการดำเนินโปรแกรมนี้ ทั้งนี้เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเจ้าหน้าที่อเมริกันต้องการใช้โปรแกรมปริซึมเพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนใด ก็ใช้วิธียื่นขอคำสั่งศาลจาก “ศาลตรวจตราข่าวกรองต่างประเทศ” (FISA) โดยที่จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ ให้ภายนอกทราบ แต่ตามร่างกฎหมายใหม่นี้จะกำหนดให้คำตัดสินสำคัญๆ ของศาลนี้ก็ต้องมีกระบวนการในการลดชั้นความลับ
วุฒิสมาชิก เจฟฟ์ เมิร์คลีย์ 1 ใน 8 ผู้ยื่นเสนอ แถลงว่า อเมริกันชนมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสื่อสารส่วนตัวของพวกเขามากน้อยขนาดไหนซึ่งรัฐบาลเชื่อว่ากฎหมายอนุญาตให้ตนเองเข้าไปรับรู้ได้
การถกเถียงอย่างร้อนระอุเช่นนี้เกิดขึ้นหลังจากตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วหนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษ และวอชิงตัน โพสต์ของอเมริกา เผยแพร่ข้อมูลลับที่ได้รับจากสโนว์เดน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคข่าวกรองวัย 29 ปี เกี่ยวกับโปรแกรมลับสุดยอด "ปริซึม” ที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (เอ็นเอสเอ) ใช้เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก