มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา พบว่าแม้การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 0.25 เปอร์เซ็นต์ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ราคาน้ำมันอยู่ในระดับทรงตัว จะเป็นปัจจัยบวก แต่ยังคงมีปัจจัยลบเข้ามากระทบหลายด้าน ทั้งการปรับเป้าการขยายตัวเลขเศรษฐกิจของสภาพัฒน์ เหลือเพียง 4.2-5.2 เปอร์เซ็นต์ การปรับตัวลดลงของดัชนีหุ้นไทย ตัวเลขการส่งออกปรับเพิ่มเพียง 2.89 เปอร์เซ็นต์ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทำให้รายได้เกษตรกรลดลง ความกังวลต่อค่าครองชีพที่ยังรู้สึกว่าราคาสินค้าแพง ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง จากเดือนเมษายน ที่ 83.7 เหลือ 82.5 เมื่อเดือนที่ผ่านมา
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวโน้มการปรับลดอันดับเครดิตไทยของมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส อาจกระทบต่อต้นทุนการระดมเงินกู้จากต่างประเทศ และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงอาจทำให้นักลงทุนสงสัยต่อการดำเนินนโยบายประชานิยม เพราะคาดว่าจะกระทบฐานะการคลัง และส่งผลต่อนักลงทุนที่จะนำเงินเข้ามาลงทุนได้
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวโน้มการปรับลดอันดับเครดิตไทยของมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส อาจกระทบต่อต้นทุนการระดมเงินกู้จากต่างประเทศ และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงอาจทำให้นักลงทุนสงสัยต่อการดำเนินนโยบายประชานิยม เพราะคาดว่าจะกระทบฐานะการคลัง และส่งผลต่อนักลงทุนที่จะนำเงินเข้ามาลงทุนได้