ที่ประชุมข้อตกลงการค้ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค กรณีทีพีพีและอียู-ไทย เอฟทีเอ กังวลกับท่าทีของรัฐบาลที่พยายามเร่งรัดเจรจาทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีร่วมกับสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ที่มีประเด็นเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาผูกขาดสิทธิบัตร โดยเฉพาะสิทธิบัตรยา ซึ่งที่ประชุมมองว่าอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของคนไทย
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศ.) เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรนำประเด็นทรัพย์สินทางปัญญามาเจรจาภายใต้ระบบทวิภาคี ไทยกับสหรัฐฯ และไทยกับสหภาพยุโรป เนื่องจากมีการเรียกร้องขอให้ไทยเพิ่มมาตรฐานคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เกินกว่าความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ป่วย รวมถึงการวิจัยและพัฒนาด้านยา ซึ่งเทียบไม่ได้กับประโยชน์บางส่วนจากการส่งออก จึงเสนอให้รัฐบาลยุติ หรือชะลอการเจรจา เพื่อศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน
นอกจากนี้ การเจรจาประเด็นสิ่งแวดล้อม ภายใต้ทีพีพี หรือข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่สหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ มีข้อเรียกร้องที่มีผลกระทบต่อไทยทั้งทางบวกและทางลบ เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการให้ประเทศคู่เจรจายอมรับสิทธิและพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่สหรัฐฯ เป็นภาคีสมาชิกอยู่เท่านั้น
ขณะที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ที่สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นภาคีอยู่ อาทิ อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ พิธีสารความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ดังกล่าวจะส่งผลต่อไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของความตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สหรัฐฯ ไม่ได้เข้าร่วม สร้างผลกระทบต่อสิทธิของนักลงทุนชาวสหรัฐฯ ได้รับการคุ้มครองภายใต้การตกลงทีพีพี
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศ.) เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรนำประเด็นทรัพย์สินทางปัญญามาเจรจาภายใต้ระบบทวิภาคี ไทยกับสหรัฐฯ และไทยกับสหภาพยุโรป เนื่องจากมีการเรียกร้องขอให้ไทยเพิ่มมาตรฐานคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เกินกว่าความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ป่วย รวมถึงการวิจัยและพัฒนาด้านยา ซึ่งเทียบไม่ได้กับประโยชน์บางส่วนจากการส่งออก จึงเสนอให้รัฐบาลยุติ หรือชะลอการเจรจา เพื่อศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน
นอกจากนี้ การเจรจาประเด็นสิ่งแวดล้อม ภายใต้ทีพีพี หรือข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่สหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ มีข้อเรียกร้องที่มีผลกระทบต่อไทยทั้งทางบวกและทางลบ เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการให้ประเทศคู่เจรจายอมรับสิทธิและพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่สหรัฐฯ เป็นภาคีสมาชิกอยู่เท่านั้น
ขณะที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ที่สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นภาคีอยู่ อาทิ อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ พิธีสารความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ดังกล่าวจะส่งผลต่อไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของความตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สหรัฐฯ ไม่ได้เข้าร่วม สร้างผลกระทบต่อสิทธิของนักลงทุนชาวสหรัฐฯ ได้รับการคุ้มครองภายใต้การตกลงทีพีพี