กระทรวงสาธารณสุขไทย สนับสนุนองค์กรโลกต่อรองบริษัทผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อให้ไทยได้ใช้ยาราคาถูก และหากขอสิทธิบัตรได้จะให้องค์การเภสัชกรรมไทยเป็นผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ราคาพิเศษด้วย ขณะที่สถานการณ์โรคเอดส์ล่าสุดในปี 2555 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 34 ล้านคน เสียชีวิต 1.7 ล้านคน
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังปรึกษาหารือกับนายเกรจ เพอร์รี่ (Mr.Greg Perry) ผู้อำนวยการด้านการจัดการสิทธิบัตรยาขององค์การอนามัยโลก หรือองค์กร เมดดิซีน เพเทนท์ พูลส์ (Medicine patent pools) ว่า องค์กรนี้ก่อตั้งจากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยตั้งเป็นองค์กรอิสระออกมา และได้รับเงินทุนจากรัฐบาล มีจุดมุ่งหมายเพื่อดูแลเรื่องยาต้านไวรัสเอดส์/เอชไอวี โดยทำการต่อรองกับบริษัทผู้ผลิตยา เพื่อให้ได้สิทธิบัตรในการผลิตยาให้แก่กลุ่มประเทศที่มีความจำเป็นโดยสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสมตามกำลังฐานะของกลุ่มประเทศนั้นๆ โดยองค์กรดังกล่าวสนใจที่จะให้ประเทศไทยเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย เนื่องจากมีบริษัทผลิตยา 2 บริษัท ได้แก่ บริสตัล มายเยอร์ และ วีไอไอวี เฮลท์ แคร์ (ViiV Health Care) จะผลิตยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ออกมาสู่ท้องตลาดในราคาพิเศษ โดยสถานการณ์โรคเอดส์ทั่วโลกในปี 2555 นี้ มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี 34 ล้านคน เสียชีวิตไปแล้ว 1.7 ล้านคน
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า องค์กรดังกล่าวอยากให้ไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับองค์กร เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับบริษัทยา ซึ่งไทยได้ให้ความสนใจและยินดีสนับสนุน เพื่อให้มียาราคาถูกใช้ในประเทศ และหากได้รับอนุญาตเรื่องสิทธิบัตร ประเทศไทยจะขอมีส่วนร่วมขอรับสิทธิในการผลิตยาราคาพิเศษเพื่อจำหน่ายภายในประเทศในราคาที่เหมาะสมด้วย โดยองค์การเภสัชกรรมไทยมีโรงงานที่ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ได้อยู่แล้ว หากเทคโนโลยีไปด้วยกันได้ ก็อยากจะผลิตยาที่ได้รับสิทธิบัตรนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนไทยต่อไป
นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายนนี้ องค์กร เมดดิซีน เพเทนท์ พูลส์ จะมีการประชุมกับกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจฐานะปานกลาง (Middle Income) เพื่อจะให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ซึ่งเป็นตลาดยาต้านไวรัสเอดส์ ในการให้อำนาจต่อรองในเรื่องนี้อย่างไร โดยจะขอเชิญประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งไทยยินดีจะส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อหารือวิธีการต่อรองไม่ให้กลุ่มประเทศเหล่านี้เสียเปรียบ ทั้งนี้ประเทศไทยมีระบบการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยผ่าน 3 กองทุนสุขภาพอยู่แล้ว การเข้าร่วมในครั้งนี้จะทำให้ไทยมีสิทธิได้รับยาในราคาพิเศษ เพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในประเทศ และจะมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งไทยได้แสดงเจตจำนงให้องค์การเภสัชกรรมไทยเป็นคู่แข่งที่จะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผลิตยาเองด้วย ไม่ใช่ซื้อยาจากต่างประเทศเท่านั้น
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังปรึกษาหารือกับนายเกรจ เพอร์รี่ (Mr.Greg Perry) ผู้อำนวยการด้านการจัดการสิทธิบัตรยาขององค์การอนามัยโลก หรือองค์กร เมดดิซีน เพเทนท์ พูลส์ (Medicine patent pools) ว่า องค์กรนี้ก่อตั้งจากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยตั้งเป็นองค์กรอิสระออกมา และได้รับเงินทุนจากรัฐบาล มีจุดมุ่งหมายเพื่อดูแลเรื่องยาต้านไวรัสเอดส์/เอชไอวี โดยทำการต่อรองกับบริษัทผู้ผลิตยา เพื่อให้ได้สิทธิบัตรในการผลิตยาให้แก่กลุ่มประเทศที่มีความจำเป็นโดยสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสมตามกำลังฐานะของกลุ่มประเทศนั้นๆ โดยองค์กรดังกล่าวสนใจที่จะให้ประเทศไทยเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย เนื่องจากมีบริษัทผลิตยา 2 บริษัท ได้แก่ บริสตัล มายเยอร์ และ วีไอไอวี เฮลท์ แคร์ (ViiV Health Care) จะผลิตยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ออกมาสู่ท้องตลาดในราคาพิเศษ โดยสถานการณ์โรคเอดส์ทั่วโลกในปี 2555 นี้ มีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี 34 ล้านคน เสียชีวิตไปแล้ว 1.7 ล้านคน
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า องค์กรดังกล่าวอยากให้ไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับองค์กร เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับบริษัทยา ซึ่งไทยได้ให้ความสนใจและยินดีสนับสนุน เพื่อให้มียาราคาถูกใช้ในประเทศ และหากได้รับอนุญาตเรื่องสิทธิบัตร ประเทศไทยจะขอมีส่วนร่วมขอรับสิทธิในการผลิตยาราคาพิเศษเพื่อจำหน่ายภายในประเทศในราคาที่เหมาะสมด้วย โดยองค์การเภสัชกรรมไทยมีโรงงานที่ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ได้อยู่แล้ว หากเทคโนโลยีไปด้วยกันได้ ก็อยากจะผลิตยาที่ได้รับสิทธิบัตรนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนไทยต่อไป
นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายนนี้ องค์กร เมดดิซีน เพเทนท์ พูลส์ จะมีการประชุมกับกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจฐานะปานกลาง (Middle Income) เพื่อจะให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ซึ่งเป็นตลาดยาต้านไวรัสเอดส์ ในการให้อำนาจต่อรองในเรื่องนี้อย่างไร โดยจะขอเชิญประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งไทยยินดีจะส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อหารือวิธีการต่อรองไม่ให้กลุ่มประเทศเหล่านี้เสียเปรียบ ทั้งนี้ประเทศไทยมีระบบการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยผ่าน 3 กองทุนสุขภาพอยู่แล้ว การเข้าร่วมในครั้งนี้จะทำให้ไทยมีสิทธิได้รับยาในราคาพิเศษ เพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในประเทศ และจะมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งไทยได้แสดงเจตจำนงให้องค์การเภสัชกรรมไทยเป็นคู่แข่งที่จะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผลิตยาเองด้วย ไม่ใช่ซื้อยาจากต่างประเทศเท่านั้น