“โอบามา” ประกาศสนับสนุนแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองพม่าเต็มที่ แต่ขณะเดียวกัน ก็เรียกร้อง “เต็ง เส่ง” ยุติความรุนแรงต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ด้านผู้นำแดนหม่องร้องขอความเข้าใจและการสนับสนุนสูงสุดจากอเมริกาและนานาชาติ เพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงอันยากลำบากต่อไป
ระหว่างต้อนรับการเยือนทำเนียบขาวครั้งแรกในรอบ 47 ปีของผู้นำพม่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันจันทร์ (20) โดยแสดงความชื่นชมต่อการที่พม่าหันหลังออกจากระบบเผด็จการทหารป่าเถื่อน ภายหลังการขึ้นดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง อีกทั้งแสดงให้เห็นว่า พม่ากำลังมุ่งมั่นบนเส้นทางการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ
ในช่วงของการพูดจาที่ให้สื่อมวลชนเข้าไปทำข่าว โอบามา เรียกชื่อประเทศพม่าโดยใช้คำว่า “เมียนมาร์” มากกว่า “เบอร์มา” ทั้งนี้ “เมียนมาร์” เป็นชื่อที่ประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ยุครัฐบาลทหาร แต่ฝ่ายตะวันตกพากันต่อต้านไม่ยอมใช้ อย่างไรก็ตาม ระยะหลังๆ มานี้ พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันค่อยๆ ใช้คำนี้บ่อยขึ้น
โอบามากล่าวว่า ผู้นำพม่ารับรองกับเขาว่า มีความตั้งใจปล่อยนักโทษการเมืองเพิ่ม และเดินหน้าการปฏิรูปการเมือง ซึ่งได้ช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศและยุติความบาดหมางกับฝ่ายตะวันตก ขณะที่เขาให้สัญญาว่า สหรัฐฯจะให้การสนับสนุนทางการเมืองและเศรษฐกิจแก่พม่าเพิ่มเติม
ผู้นำสหรัฐฯบอกว่า เต็ง เส่ง ได้ใช้ความพยายามอย่างแท้จริงเพื่อคลี่คลายสงครามชาติพันธุ์ที่ซับซ้อนและบ่อนทำลายความเป็นปึกแผ่นของพม่ามานาน กระนั้น ตนยังกังวลกับโชคชะตาของชาวมุสลิมโรฮิงญา
“การขับไล่และความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาต้องยุติลง” โอบามากล่าวย้ำ
ระหว่างต้อนรับการเยือนทำเนียบขาวครั้งแรกในรอบ 47 ปีของผู้นำพม่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันจันทร์ (20) โดยแสดงความชื่นชมต่อการที่พม่าหันหลังออกจากระบบเผด็จการทหารป่าเถื่อน ภายหลังการขึ้นดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง อีกทั้งแสดงให้เห็นว่า พม่ากำลังมุ่งมั่นบนเส้นทางการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ
ในช่วงของการพูดจาที่ให้สื่อมวลชนเข้าไปทำข่าว โอบามา เรียกชื่อประเทศพม่าโดยใช้คำว่า “เมียนมาร์” มากกว่า “เบอร์มา” ทั้งนี้ “เมียนมาร์” เป็นชื่อที่ประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ยุครัฐบาลทหาร แต่ฝ่ายตะวันตกพากันต่อต้านไม่ยอมใช้ อย่างไรก็ตาม ระยะหลังๆ มานี้ พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันค่อยๆ ใช้คำนี้บ่อยขึ้น
โอบามากล่าวว่า ผู้นำพม่ารับรองกับเขาว่า มีความตั้งใจปล่อยนักโทษการเมืองเพิ่ม และเดินหน้าการปฏิรูปการเมือง ซึ่งได้ช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศและยุติความบาดหมางกับฝ่ายตะวันตก ขณะที่เขาให้สัญญาว่า สหรัฐฯจะให้การสนับสนุนทางการเมืองและเศรษฐกิจแก่พม่าเพิ่มเติม
ผู้นำสหรัฐฯบอกว่า เต็ง เส่ง ได้ใช้ความพยายามอย่างแท้จริงเพื่อคลี่คลายสงครามชาติพันธุ์ที่ซับซ้อนและบ่อนทำลายความเป็นปึกแผ่นของพม่ามานาน กระนั้น ตนยังกังวลกับโชคชะตาของชาวมุสลิมโรฮิงญา
“การขับไล่และความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาต้องยุติลง” โอบามากล่าวย้ำ