นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องมีผลต่อการส่งออกของประเทศแน่นอน เพราะว่ากว่าร้อยละ 70 ของจีดีพี พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งธนาคารได้สั่งกำชับให้ดูแลลูกค้า โดยเฉพาะเอสเอ็มอี โดยจะมีสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับเอสเอ็มอี เน้นช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าเอกชนต้องปรับตัว เพราะว่าไม่สามารถพึ่งเงินบาทอ่อนค่า เพื่อกระตุ้นการส่งออกได้ เพราะว่าเงินทุนจะยังคงไหลเข้าเอเชียอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.ที่ต้องการให้คณะกรรมการนโยบายทางการเงิน หรือ กนง.ลดดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อแก้เงินบาทแข็งค่านั้น เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยระดับปัจจุบัน เอกชนสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หากลดดอกเบี้ยแรงถึงร้อยละ 1 จะทำให้ผู้ออมโยกเงินฝากไปลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยง จนอาจจะเกิดปัญหาฟองสบู่ตามที่แบงก์ชาติวิตก และมีความเป็นห่วงสถาบันการเงินที่ไม่ใช้ธนาคารพาณิชย์ ที่มีการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้มีรายได้ต่ำ เพราะมีโอกาสที่ลูกค้าอาจจะมีปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ได้
ด้านนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธปท.นั้นดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่เหมาะสมแล้ว และดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ร้อยละ 2.75 เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งสมาคมธนาคารไทยมีการประสานกับ ส.อ.ท.และสภาหอการค้าไทย ให้ดูแลสมาชิกให้ปรับตัวรับความผันผวนให้ได้ ซึ่งธนาคารพร้อมดูแลอย่างเต็มที่
ขณะที่นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์แข็งค่าของเงินบาทไม่ได้เกี่ยวกับเงินทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพราะว่าส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เห็นได้จากตลาดหุ้นไทยผันผวนถึงร้อยละ 25 ในรอบ 2 เดือน แต่เงินบาทแข็งค่าร้อยละ 2-3 ซึ่งเชื่อว่าหากทางการแก้ปัญหาเงินบาทตรงจุดจะไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้
ด้านนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธปท.นั้นดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่เหมาะสมแล้ว และดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ร้อยละ 2.75 เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งสมาคมธนาคารไทยมีการประสานกับ ส.อ.ท.และสภาหอการค้าไทย ให้ดูแลสมาชิกให้ปรับตัวรับความผันผวนให้ได้ ซึ่งธนาคารพร้อมดูแลอย่างเต็มที่
ขณะที่นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์แข็งค่าของเงินบาทไม่ได้เกี่ยวกับเงินทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพราะว่าส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เห็นได้จากตลาดหุ้นไทยผันผวนถึงร้อยละ 25 ในรอบ 2 เดือน แต่เงินบาทแข็งค่าร้อยละ 2-3 ซึ่งเชื่อว่าหากทางการแก้ปัญหาเงินบาทตรงจุดจะไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้