สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทบทวนมติการกำหนดการออกใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะ 12 ช่อง ซึ่งมีการกำหนดประเภท และคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ยื่นขอใบอนุญาตได้ ตามมาตรา 10 ใน พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ประกอบการรายเดิม คือ ช่อง 5, ช่อง 11 และไทยพีบีเอส ซึ่งยังได้เพิ่มอีก 1 ช่อง ภายใต้บันทึกข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ที่ทำไว้กับ กสทช. ส่วน 8 ช่อง จะพิจารณาออกใบอนุญาตตามคุณสมบัติ
ทั้งนี้ สมาคมนักข่าวฯ เห็นว่า มติดังกล่าวเป็นการละเมิดเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ ที่จะต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะ แต่กลับมอบคลื่นความถี่ที่เป็นช่องบริการสาธารณะไปให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยที่ กสท. ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ใดๆ โดยสมาคมนักข่าวฯ ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ
1.ต้องทบทวนมติ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์เรื่องทีวีสาธารณะ 2.ต้องกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติให้ชัดเจน 3.กสทช. ไม่ควรรีบออกใบอนุญาตทั้ง 12 ช่อง ในครั้งเดียว แต่ให้พิจารณาจากความจำเป็นและคุณภาพ 4.การออกใบอนุญาตต้องไม่ทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อ เกิดความไม่เป็นธรรม เนื่องจากทีวีสาธารณะไม่มีค่าใช้จ่าย และหารายได้โดยไม่จำกัด ซึ่งหาก กสทช. ไม่ทบทวนมติ จะใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญต่อไป
ทั้งนี้ สมาคมนักข่าวฯ เห็นว่า มติดังกล่าวเป็นการละเมิดเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ ที่จะต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะ แต่กลับมอบคลื่นความถี่ที่เป็นช่องบริการสาธารณะไปให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยที่ กสท. ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ใดๆ โดยสมาคมนักข่าวฯ ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ
1.ต้องทบทวนมติ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์เรื่องทีวีสาธารณะ 2.ต้องกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติให้ชัดเจน 3.กสทช. ไม่ควรรีบออกใบอนุญาตทั้ง 12 ช่อง ในครั้งเดียว แต่ให้พิจารณาจากความจำเป็นและคุณภาพ 4.การออกใบอนุญาตต้องไม่ทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อ เกิดความไม่เป็นธรรม เนื่องจากทีวีสาธารณะไม่มีค่าใช้จ่าย และหารายได้โดยไม่จำกัด ซึ่งหาก กสทช. ไม่ทบทวนมติ จะใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญต่อไป